ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยูเนสโก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
→‎ดูเพิ่ม: หกฟ้ด้สะๆยะรนเี
บรรทัด 18:
 
[[ไฟล์:UNESCO flag.png|thumb|ธงของยูเนสโก]]
 
'''องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ''' ({{lang-en|United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization}}) หรือ '''ยูเนสโก''' (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 และต่อมาเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) หลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] ประเทศสมาชิกก่อตั้ง 20 ประเทศ ได้ร่วมมือกันให้สัตยาบันธรรมนูญองค์การ ซึ่งเริ่มด้วยข้อความที่ว่า
{{คำพูด|สงครามเริ่มต้นที่จิตใจของมนุษย์ฉันใด ความหวงแหนสันติภาพก็ต้องสร้างขึ้นในจิตใจของมนุษย์ด้วยฉันนั้น (since wars begin in the minds of men, it is in the minds of men that the defences of peace must be constructed)}}
นอกจากนี้ ธรรมนูญยูเนสโกยังบ่งชี้ไว้ด้วยว่า สันติภาพที่เกิดจากการตกลงทางการเมือง ทางเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่แท้จริงและยืนนาน จากประเทศชาติต่าง ๆ ในโลก สันติภาพจะต้องวางรากฐานอยู่บนความร่วมมือทางภูมิปัญญา และจิตสำนึกของมนุษยชาติ. ดังนั้นองค์การยูเนสโกจึงมุ่งเน้นการส่งเสริมสันติภาพ ด้วยการส่งเสริมความร่วมมือของนานาชาติ ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม เพื่อให้ทั่วโลกเคารพในความยุติธรรม กฎหมาย สิทธิ และเสรีภาพ ที่มนุษย์พึงมี โดยไม่ถือเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา ตาม[[กฎบัตรสหประชาชาติ]]. ยูเนสโกมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่[[ปารีส|กรุงปารีส]] [[ประเทศฝรั่งเศส]]
 
ปัจจุบัน ยูเนสโกมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 195 ประเทศ<ref>[http://portal.unesco.org/en/ev.php-URL_ID=11170&URL_DO=DO_TOPIC&URL_SECTION=201.html Member States] {{en}}, UNESCO</ref> ประเทศไทยเข้าเป็นรัฐสมาชิกขององค์การยูเนสโกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2492 (ลำดับที่ 49)
 
โดยปกติ ยูเนสโกจะใช้[[ภาษาอังกฤษ]]และ[[ภาษาฝรั่งเศส]]เป็นภาษาทางการ แต่ในระหว่างการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโกและการประชุมคณะกรรมการบริหารของยูเนสโก จะใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องถึง 6 ภาษา คือ [[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]] [[ภาษาฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]] [[ภาษารัสเซีย|รัสเชีย]] [[ภาษาอาหรับ|อาหรับ]] [[ภาษาสเปน|สเปน]] และ[[ภาษาจีน|จีน]]
 
การดำเนินงานของยูเนสโกนั้นจะปรากฏในรูปของการประชุมสมัยสามัญ ซึ่งมีทุก ๆ 2 ปี โดยคณะกรรมการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม จำนวน 58 คน ที่เลือกมาจากผู้แทนของประเทศสมาชิก กรรมการจะอยู่ในวาระ 4 ปี โดยจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการใหม่ครึ่งหนึ่งทุก 2 ปี ผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สูงสุดขององค์การ จะอยู่ในวาระ 6 ปี
 
ยูเนสโกได้จัดให้มีสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานย่อยประจำพื้นที่ เพื่อให้ยูเนสโกประสานงานกับประเทศต่าง ๆ ได้อย่างใกล้ชิด แต่ละประเทศสมาชิกจะจัดให้มีสำนักผู้แทนถาวรประจำยูเนสโก และสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโกของประเทศนั้น ๆ เพื่อดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายงานของยูเนสโกโดยเฉพาะ
 
== ประเทศไทยกับยูเนสโก ==
ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การยูเนสโกเมื่อวันที่ [[1 มกราคม]] [[พ.ศ. 2492]] นับเป็นประเทศสมาชิกลำดับที่ 49 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้ง '''คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ''' (National Commission for UNESCO) เพื่อให้เป็นไปตามกฎบัตรของยูเนสโก โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน, ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรองประธาน, และ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ฝ่ายการต่างประเทศ) เป็นเลขาธิการ
 
ต่อมาเมื่อวันที่ [[26 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2492]] ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อประสานงานกับยูเนสโก คือ '''สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ''' ตั้งอยู่ที่ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานในระดับชาติของกิจกรรมที่อยู่ในขอบข่ายงานของยูเนสโก มี 6 ด้านได้แก่ การศึกษา วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วัฒนธรรม การสื่อสารและสารสนเทศ ส่วนด้านสุดท้ายเป็นหัวข้อพิเศษ ซึ่งในทางปฏิบัติจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติงานเฉพาะด้าน ตามภารกิจและความชำนาญ
 
ในปี [[พ.ศ. 2504]] คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้องค์การยูเนสโกจัดตั้ง '''สำนักงานส่วนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก''' ขึ้นที่ประเทศไทย โดยปัจจุบันอยู่ที่ “อาคาร ๑๐๐ ปี หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (Mom Luang Pin Malakul Centenary Building)” อยู่ใกล้กับ สสวท. และท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
 
ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2525]] ได้มีการจัดตั้ง '''สำนักงานคณะผู้แทนถาวรไทย''' ประจำ ณ สำนักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุง[[ปารีส]] โดยมีเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส เป็นผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก ส่วน[[กระทรวงศึกษาธิการ]]ได้จัดส่งนักวิชาการศึกษามาประจำที่สำนักงาน เพื่อทำหน้าที่รองผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก แต่ในปี [[พ.ศ. 2540]] ประเทศไทยได้ประสบภาวะเศรษฐกิจ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้เสนอปิดสำนักงานเป็นการชั่วคราว และรองผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก ได้เดินทางกลับมาปฏิบัติหน้าที่ที่กรุงเทพฯ โดยมีสำนักงานชั่วคราวที่กองการสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ และสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ได้มอบหมายให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลงานของยูเนสโกแทน
ในฐานะประเทศสมาชิก ประเทศไทยได้ชำระเงินอุดหนุนองค์การเป็นประจำ โดยมีสัดส่วน ร้อยละ 0.335 โดยการตั้งงบประมาณไว้ที่กระทรวงศึกษาธิการ ในปีงบประมาณปี [[พ.ศ. 2545]] ประเทศไทยได้ชำระค่าสมาชิกให้กับยูเนสโก เป็นจำนวน 35.18 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีเงินอุดหนุนสำนักงานส่วนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ที่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ เงินอุดหนุนศูนย์ ICCROM ที่ประเทศอิตาลี และเงินอุดหนุนกองทุนมรดกโลก อีก 905,000 บาท
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
* [http://www.moe.go.th/weberd/Unes.htm องค์การยูเนสโก] สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ
{{จบอ้างอิง}}
 
== ดูเพิ่ม ==
* [[มรดกโลก]]
* [[มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม]]
* [[ความทรงจำแห่งโลก]]
* [[ภูมิทัศน์วัฒนธรรม]]
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|UNESCO}}
* [http://www.unesco.org/ UNESCO] เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
* [http://www.unesco.org/bangkok UNESCO Bangkok] เว็บไซต์สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ
* [http://www.thainatcom.org/ สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ] Thai National Commission for UNESCO
 
 
{{องค์การสหประชาชาติ}}
{{มรดกโลกไทย}}
{{รายชื่อแหล่งมรดกโลก}}
{{ชาวไทยยูเนสโก}}
 
[[หมวดหมู่:กลุ่มพัฒนาแห่งสหประชาชาติ]]