ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประวัติศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มี
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: ถูกแทน ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 1:
ไม่ให้หา'''ประวัติศาสตร์ '''
ไม่ให้หา'''ประวัติศาสตร์ ''' ({{lang-en|history}}; รากศัพท์[[ภาษากรีก]] ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียก[[นักประวัติศาสตร์]] ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น<ref name="evans1">{{cite web |url= http://www.history.ac.uk/ihr/Focus/Whatishistory/evans10.html|title= The Two Faces of E.H. Carr |accessdate=10 November 2008 |author= Professor Richard J. Evans |year= 2001 |work= History in Focus, Issue 2: What is History? |publisher= University of London}}</ref><ref>{{cite web |url= http://www.history.ac.uk/ihr/Focus/Whatishistory/munslow6.html |title= What History Is |accessdate=10 November 2008 |author= Professor Alun Munslow |year= 2001 |work= History in Focus, Issue 2: What is History? |publisher= University of London}}</ref> และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบัน<ref name="evans1"/><ref name=Tosh1>{{cite book |title=The Pursuit of History|last=Tosh|first=John | publication-date=2006|publisher=Pearson Education Limited |isbn=1-4058-2351-8 | edition=4th|page=52}}</ref><ref>{{cite book |title= Knowing Teaching and Learning History, National and International Perspectives |editor= Peter N. Stearns|editor2=Peters Seixas|editor3=Sam Wineburg |chapter= Introduction |year= 2000 |publisher= New York University Press |location= New York & London |isbn= 0-8147-8141-1|page=6}}</ref><ref>{{cite book |title= Knowing Teaching and Learning History, National and International Perspectives |last= Nash l|first= Gary B. |editor= Peter N. Stearns|editor2=Peters Seixas|editor3=Sam Wineburg |chapter= The "Convergence" Paradigm in Studying Early American History in Schools |year= 2000 |publisher= New York University Press |location= New York & London |isbn= 0-8147-8141-1|pages=102–115}}</ref> เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาใน[[วัฒนธรรม]]ใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับ[[กษัตริย์อาเธอร์]]) มักจัดเป็นวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์<ref>{{cite book |title= Knowing Teaching and Learning History, National and International Perspectives |last= Seixas |first= Peter |editor= Peter N. Stearns|editor2=Peters Seixas|editor3=Sam Wineburg |chapter= Schweigen! die Kinder! |year= 2000 |publisher= New York University Press |location= New York & London |isbn= 0-8147-8141-1|page=24}}</ref><ref name="Low1">{{cite book |title= Knowing Teaching and Learning History, National and International Perspectives |last= Lowenthal |first= David |editor= Peter N. Stearns|editor2=Peters Seixas|editor3=Sam Wineburg |chapter= Dilemmas and Delights of Learning History |year= 2000 |publisher= New York University Press |location= New York & London |isbn= 0-8147-8141-1|page=63}}</ref> เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า [[ยุคก่อนประวัติศาสตร์]]
 
ไม่ต้องรู้
ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล [[เฮโรโดตัส]] ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับ[[ธูซิดดิดีส]] นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับ[[อุดมศึกษา]]
 
== การบัญญัติศัพท์ ==
คำว่า "ประวัติศาสตร์" ใน[[ภาษาไทย]]เกิดจากการ[[สมาส]]คำ[[ภาษาบาลี]] "ประวัติ" (ปวตฺติ) ซึ่งหมายถึง เรื่องราวความเป็นไป และคำ[[ภาษาสันสกฤต]] "ศาสตร์" (ศาสฺตฺร) ซึ่งแปลว่า ความรู้
 
[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] บัญญัติคำว่า "ประวัติศาสตร์" เพื่อเทียบเคียงกับคำว่า "history" และเพื่อให้มีความหมายครอบคลุมมากกว่าคำว่า "[[พงศาวดาร]]" (chronicle) ที่ใช้กันมาแต่เดิม<ref>ปฐม ตาคะนานันท์ สืบค้นได้ข้อมูลว่ารามจิตติหรือรัชกาลที่ 6 ทรงใช้คำว่า “ประวัติศาสตร์” ในงานพระราชนิพนธ์ เรื่อง '''“ผลแห่งวิธีศึกษาของเยอรมัน แสดงความเห็นโดยอัตโนมัติ”''' พิมพ์ลงในวิทยาจารย์ เล่ม 16 ตอน 1 (พ.ศ. 2458-2549) หน้า 104 ซึ่ง[[พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร]]ทรงกล่าวในงานพระนิพนธ์ เรื่อง '''“หัวข้อประวัติศาสตร์ ภาค 1 โบราณประวัติ”''' พิมพ์ใน พ.ศ. 2460 ว่างานพระราชนิพนธ์ของรามจิตติหรือรัชกาลที่ 6 ปรากฏการใช้คำว่า “ประวัติศาสตร์” เป็นครั้งแรก แต่หนังสือที่ใช้คำว่า “ประวัติศาสตร์” เป็นเล่มแรกของสยามน่าจะเป็นงานพระนิพนธ์เรื่องนี้ของกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจของปฐมพบว่าในวิทยานิพนธ์ปีการศึกษา 2538 เรื่อง '''“พัฒนาการของประวัติศาสตร์ชาติในประเทศไทย พ.ศ. 2411-2487”''' ของ ราม วัชรประดิษฐ์ ที่เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลับอ้างไว้ว่ารัชกาลที่ 6 ทรงบัญญัติคำว่าประวัติศาสตร์ขึ้นมาใช้ให้มีกับความหมายตรงกับคำว่า History โดยรามให้เหตุผลว่าศึกษาวิเคราะห์จากพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6 เรื่อง '''“เที่ยวเมืองพระร่วง”''' ที่พระราชนิพนธ์ใน พ.ศ. 2451 แต่ปฐมตรวจดูในพระราชนิพนธ์เรื่องนี้แล้ว ไม่ปรากฏว่ามีคำว่า “ประวัติศาสตร์” อยู่ในที่ใด ๆ เลย ดู ปฐม ตาคะนานันท์. (2551). '''คณะสงฆ์สร้างชาติสมัยรัชกาลที่ 5.''' (กรุงเทพฯ: มติชน). หน้า 143-145 เชิงอรรถที่ 95. (หนังสือเล่มนี้ ปรับปรุงมาจากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทที่เสนอต่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง "สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสกับการสถาปนาอุดมการณ์แห่งรัฐของสยาม" ของผู้เขียนคนเดียวกัน) </ref>
 
สำหรับคำว่า ''history'' มีที่มาจากคำว่า ''historia'' ในภาษา[[กรีก]] ซึ่งมีความหมายว่าการไต่สวนหรือค้นคว้า
 
== ความหมาย ==
ไม่มีจริง{{วิทยาศาสตร์สังคม}}
"ประวัติศาสตร์" เป็นคำที่มีความหมายหลากหลาย แต่ความหมายที่สำคัญที่ใช้โดยทั่วไปคือ 1) เหตุการณ์ในอดีตทั้งหมดของมนุษย์ หรืออดีตทั้งหมดของมนุษย์ตั้งแต่มีมนุษย์เกิดขึ้นมาในโลกจนถึงวินาทีที่พึ่งผ่านมา 2) หมายถึงเรื่องราวของบางเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีตที่เรารู้หรือเข้าใจ นั่นคือสิ่งที่นักประวัติศาสตร์สร้างขึ้นมาเกี่ยวกับอดีตที่ผ่านพ้นไป{{อ้างอิง}}
 
นักปรัชญาประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงให้คำอธิบายถึงคำว่า "ประวัติศาสตร์" ไว้ เช่น
 
[[อาร์. จี. คอลลิงวูด]] (R. G. Collingwood) อธิบายว่าประวัติศาสตร์คือวิธีการวิจัยหรือการไต่สวน โดยมีจุดมุ่งหมายจะศึกษาเกี่ยวกับพฤติการณ์ของมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในอดีต
 
[[อี. เอช. คาร์]] (E. H. Carr) อธิบายว่าประวัติศาสตร์นั้นก็คือกระบวนการอันต่อเนื่องของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักประวัติศาสตร์กับข้อมูลของเขา ประวัติศาสตร์คือบทสนทนาอันไม่มีที่สิ้นสุดระหว่างปัจจุบันกับอดีต<ref>ดู คาร์, อี.เอช. (2531). '''ประวัติสาสตร์คืออะไร.''' แปลโดย ชาติชาย พณานานนท์. (พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์). หน้า 22.</ref> (a continuous process of interaction between the present and the past.)
 
ส่วน [[ธงชัย วินิจจะกูล|ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล]] นักประวัติศาสตร์ อธิบายคำว่าประวัติศาสตร์ดังนี้ "การเข้าใจอดีตนั้นคือประวัติศาสตร์ ... เราต้องเข้าใจว่าความรู้เกี่ยวกับอดีตนั้นสร้างใหม่ได้เรื่อย ๆ เพราะทัศนะมุมมองของสมัยที่เขียนประวัติศาสตร์นั้นเปลี่ยนอยู่เสมอ ..."{{อ้างอิง}}
 
วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง กระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้และคำตอบที่เชื่อว่าสะท้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตได้ถูกต้องมากที่สุด ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าข้อเท็จจริงที่ถูกต้องคืออะไร ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการศึกษา และการใช้เหตุผลในการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานและนำไปใช้อย่างถูกต้อง ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สะท้อนข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากนิทาน นิยาย หรือเรื่องบอกเล่าที่เลื่อนลอย
 
[[ไฟล์:Portrait of Friedrich Nietzsche.jpg|thumb|200px|นิตเช นักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้ตีความว่า''ข้อเท็จจริงคือคำอธิบายที่เกิดจากการตีความของเราเอง'']]
 
ปัญหาเชิงปรัชญาประการหนึ่งเกี่ยวกับการแสวงหาคำตอบหรือคำอธิบายทางประวัติศาสตร์ที่ถกเถียงกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16-17 คือ '''การหาความจริงทางประวัติศาสตร์เป็นการหาความจริงแบบไหน?''' และ'''สามารถพิสูจน์/เปรียบเทียบกับการหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร?''' ทั้งนี้ เพราะเชื่อกันว่าการหาความรู้/ความจริงแบบวิทยาศาสตร์เป็นการหาความรู้/ความจริงที่ถูกต้อง มาในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำถามที่ถกเถียงกันมากก็คือ '''ประวัติศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์หรือศิลปะ?''' และนักประวัติศาสตร์หลายคนพยายามเสนอ (defense) โดยทำให้ประวัติศาสตร์มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ มีการนำวิธีการ "วิพากษ์" หลักฐานทางประวัติศาสตร์มาใช้ นักประวัติศาสตร์ในยุคนั้นพยายามทำให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 200 ถึงปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเห็นว่าความเป็น "วัตถุวิสัย" ของประวัติศาสตร์ลดลง เช่นเดียวกันกับที่ยอมรับว่าวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ความรู้ที่สมบูรณ์<ref>ดู ฉลอง สุนทราวาณิชย์. (2544). '''เอกสารคำสอนวิชา 2204 606 ปัญหาเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีทางประวัติศาสตร์.''' (กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย). หน้า 13, 22-23</ref>
 
การศึกษาประวัติศาสตร์เริ่มจากการตั้งคำถามพื้นฐานหลัก 5 คำถาม คือ "เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในอดีต" (What), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่" (When), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน" (Where), "ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น" (Why), และ "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร" (How) วิธีการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่
* การตั้งเรื่องที่ต้องการสืบค้น
* การรวบรวมหลักฐาน
* การวิเคราะห์ ตีความ ประเมินหลักฐาน
* การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักฐาน
* การนำเสนอข้อเท็จจริง<ref>วงเดือน นาราสัจจ์. (2550). '''ประวัติศาสตร์ : วิธีการและพัฒนาการ.''' (พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). หน้า 9-11. และดูประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความจริง (truth) กับข้อเท็จจริง (fact) ได้ที่ [http://www.human.ru.ac.th/ebook/new59/ สมิทธ์ ถนอมศาสนะ. (2560). ระหว่าง "ความจริง" และ "ข้อเท็จจริง": การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางญาณวิทยาในประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก. ใน ประภาส พาวินันท์ (บก.), '''รายงานสืบเนื่องการประชุมเสนอผลงานทางวิชาการและผลงานสร้างสรรค์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 11.''' หน้า 63-90. กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.]</ref>
 
นอกจากนี้ [[รอบิน จี. คอลลิงวูด]] (R. G. Collingwood) นักปรัชญาประวัติศาสตร์คนสำคัญชาวอังกฤษใน[[คริสต์ศตวรรษที่ 20]] ผู้เป็นเจ้าของผลงานเรื่อง ''Idea of History'' ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธิการศึกษาประวัติศาสตร์ ดังนี้
* วิธีการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างจากการศึกษาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
* นักประวัติศาสตร์ต้องระมัดระวังในการยืนยันความถูกต้องของหลักฐาน
* การนำเสนอในลักษณะ "ตัด-แปะประวัติศาสตร์" ไม่ถูกต้องและเป็นวิธีการที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ควรนำเสนอโดยการประมวลความคิดให้เป็นข้อสรุป
* วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นแบบวิทยาศาสตร์คือการตั้งคำถาม
 
[[ไฟล์:B.Croce.jpg|thumb|185px|right|เบเนเดทโต โครเช่ (Benedetto Croce) นักปราชญ์ชาวอิตาลีต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้กล่าวว่า ''ประวัติศาสตร์ทั้งหมดคือประวัติศาสตร์ร่วมสมัย<ref>Paul Newall. (2005). '''Philosophy of History.''' Retrieved September 23, 2010, from http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:gK7B43rBFmcJ:www.galilean-library.org/site/index.php%3F/page/index.html/_/essays/introducingphilosophy/18-philosophy-of-history-r35+all+history+is+contemporary+history&cd=3&hl=th&ct=clnk&gl=th</ref>]]
 
ประโยชน์ของการศึกษาประวัติศาสตร์จะช่วยให้มนุษย์เกิดสำนึกในการค้นคว้าและสืบค้นข้อมูลที่เชื่อมโยงอดีตและปัจจุบัน อันสร้างความภูมิใจและกระตุ้นความรู้สึกนิยมในชาติหรือเผ่าพันธุ์ ตลอดจนตระหนักถึงคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษสั่งสมไว้, ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดการเรียนรู้จากอดีตเพื่อเป็นบทเรียนสำหรับปัจจุบัน องค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาประวัติศาสตร์จะทำให้เข้าใจถึงปัญหา สาเหตุของปัญหา และผลกระทบจากปัญหา, การศึกษาประวัติศาสตร์ก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินนโยบายให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งปัจจุบันและอนาคต, วิธีการทางประวัติศาสตร์ทำให้ผู้ศึกษาสั่งสมประสบการณ์และทักษะในการวิเคราะห์ ไต่สวน และแก้ปัญหา ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการศึกษาศาสตร์แขนงอื่น ๆ คุณสมบัตินี้นับเป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนาคุณภาพประชากรในสังคมที่เจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการสูง
 
สำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์นั้นจะต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ ประกอบด้วย
* มีความเป็นกลาง (Objectiveness or Objectivity)
* มีความคิดที่เป็นประวัติศาสตร์ (Historical thinking)
* มีความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy)
* มีความเป็นระเบียบในการจัดเก็บและบันทึกข้อมูล (Love of order)
* มีลำดับการทำงานที่เป็นตรรกะ (Logic)
* มีความซื่อสัตย์ในการแสวงหาข้อเท็จจริง (Honesty)
* มีความระมัดระวังในการใช้หลักฐาน (Self-awareness)
* มีจินตนาการ (Historical imagination) <ref>วงเดือน นาราสัจจ์. (2550). '''ประวัติศาสตร์ : วิธีการและพัฒนาการ.''' (พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). หน้า 16-17.</ref>
 
== ประวัติศาสตร์นิพนธ์ ==
{{บทความหลัก|ประวัติศาสตร์นิพนธ์}}ความหมายของคำว่าประวัติศาสตร์นิพนธ์สามารถพูดถึงได้ในหลายแง่มุม ในความหมายแรก ประวัติศาสตร์นิพนธ์สามารถสื่อถึงการสร้างประวัติศาสตร์ว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร โดยกล่าวถึงเรื่องราวของการพัฒนา[[วิธีการทางประวัติศาสตร์|วิธีการ]]และการปฏิบัติในวงการศึกษาประวัติศาสตร์ (เช่น การเคลื่อนไหวทางประวัติศาสตร์จากการเล่าชีวประวัติซึ่งเป็นประวัติระยะสั้นให้เป็นการวิเคราะห์แก่นสาระประวัติศาสตร์ในภาพรวม) ในความหมายที่สอง ประวัติศาสตร์นิพนธ์สามารถสื่อถึงสิ่งที่เป็นประวัติศาสตร์ได้ผลิตอะไรบ้าง ซึ่งพูดถึงการเขียนประวัติศาสตร์ในสิ่งนั้น ๆ (เช่น ประวัติศาสตร์นิพนธ์เกี่ยวกับยุคกลางในช่วงทศวรรษ 1960 หมายถึงงานทางด้านประวัติศาสตร์ที่เขียนเรื่องยุคกลางในช่วงทศวรรษ 1960) หรือในความหมายที่สาม ประวัติศาสตร์นิพนธ์สามารถสื่อถึงสาเหตุของการเกิดประวัติศาสตร์ซึ่งกล่าวถึง[[ปรัชญาประวัติศาสตร์]] โดยเชื่อมโยงไปยังการวิเคราะห์[[เมทา|ระดับอภิมาน]]เกี่ยวกับอดีตที่เกี่ยวพันกับสองความหมายแรกของประวัติศาสตร์นิพนธ์อย่างการเล่าเรื่อง การตีความ โลกทัศน์ การใช้หลักฐาน หรือวิธีการในการนำเสนอต่อนักประวัติศาสตร์ผู้อื่น ซึ่งประเด็นหลักที่นักประวัติศาสตร์เชี่ยวชาญหลายท่านได้โต้เถียง คือ เรื่องการสอนประวัติศาสตร์ในฐานะระหว่างเรื่องราวที่ปะติดปะต่อเป็นเรื่องเดียวกับเรื่องราวหลายเรื่องที่พยายามช่วงชิงพื้นที่ทางสังคม<ref>Ernst Breisach, ''Historiography: Ancient, medieval, and modern'' (University of Chicago Press, 2007).</ref><ref>Georg G. Iggers, ''Historiography in the twentieth century: From scientific objectivity to the postmodern challenge'' (2005).</ref>
 
== วิธีการทางประวัติศาสตร์ ==
{{ข้อมูลเพิ่มเติม|วิธีการทางประวัติศาสตร์}}วิธีการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยเทคนิคและแบบแผนที่[[นักประวัติศาสตร์]]ใช้[[หลักฐานชั้นปฐมภูมิ]]และหลักฐานอื่นในการวิจัยและ[[ประวัติศาสตร์นิพนธ์|เขียนประวัติศาสตร์]]ขึ้น
 
[[เฮอรอโดทัส|เฮอรอโดทัสแห่งฮาลิคาร์นัสเซิส]] (484 ปีก่อน ค.ศ.–ประมาณ 425 ปีก่อน ค.ศ.)<ref name=":0">{{Cite book|last=Lamberg-Karlovsky, C. C., 1937-|url=https://www.worldcat.org/oclc/32844843|title=Ancient civilizations : the Near East and Mesoamerica|date=1995|publisher=Waveland Press|others=Sabloff, Jeremy A.|isbn=0-88133-834-6|edition=2nd|location=Prospect Heights, Ill.|oclc=32844843}}</ref> ได้ถูกยกย่องโดยทั่วกันว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่อยู่ร่วมสมัยกับเขาอย่าง [[ทิวซิดิดีส]] (ประมาณ 460 ปีก่อน ค.ศ.–ประมาณ 400 ปีก่อน ค.ศ.) ได้ถูกให้ชื่อว่าเป็นผู้ที่เข้าถึงประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่พัฒนาได้ดีในผลงานของเขาที่ชื่อ the ''[[History of the Peloponnesian War]]'' ซึ่งทิวซิดิดีสไม่เหมือนกับเฮอรอโดทัสที่มองว่าประวัติศาสตร์เป็นผลิตผลของทางเลือกและการกระทำของมนุษย์ทั้งหลาย และมองไปที่[[เหตุและผล]] มากกว่าที่จะมองว่าเป็นผลลัพธ์จากการแทรกแซงของเทพเจ้า (แม้ว่าเฮอรอโดทัสจะไม่ได้ริเริ่มแนวคิดนี้เองทั้งหมดก็ตาม)<ref name=":0" /> สำหรับวิธีการทางประวัติศาสตร์ของเขา ทิวซิดิดีสได้เน้นถึงลำดับเหตุการณ์ที่มีจุดยืนที่ความเป็นกลางในนามและมองว่าโลกมนุษย์เป็นผลลัพธ์จากการกระทำของมนุษย์ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกหลายท่านก็มองว่าประวัติศาสตร์มีความเป็นวัฏจักรด้วยเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น[[การวนซ้ำทางประวัติศาสตร์|วนเวียน]]เป็นปกติ<ref>{{Cite book|last=Lamberg-Karlovsky, C. C., 1937-|url=https://www.worldcat.org/oclc/32844843|title=Ancient civilizations : the Near East and Mesoamerica|date=1995|publisher=Waveland Press|others=Sabloff, Jeremy A.|isbn=0-88133-834-6|edition=2nd|location=Prospect Heights, Ill.|oclc=32844843}}</ref>
 
ธรรมเนียมทางประวัติศาสตร์และการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนมีเกิดขึ้นในสมัย[[จีน]]ยุคโบราณและยุคกลาง รากฐานของประวัติศาสตร์นิพนธ์ชำนาญใน[[เอเชียตะวันออก]]ได้สถาปนาขึ้นโดยนักประวัติศาสตร์ราชสำนักในสมัย[[ราชวงศ์ฮั่น]]ที่เป็นรู้จักในนาม [[ซือหม่า เชียน]] (145–90 ปีก่อน ค.ศ.) ผู้เขียน[[บันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่]] (สื่อจี้) ซึ่งด้วยคุณภาพการเขียนของเขา ซือหม่า เชียน เป็นที่รู้จักหลังจากที่เขาตายไปแล้วว่าเป็นบิดาแห่ง[[ประวัติศาสตร์นิพนธ์จีน]] นักประวัติศาสตร์จีนหลายท่านในยุคราชวงศ์ต่อ ๆ มาได้ใช้สื่อจี้เป็นรูปแบบทางการของ[[ตำราประวัติศาสตร์]] เช่นเดียวกันงานเขียนเชิงชีวประวัติ{{อ้างอิง}}
 
[[นักบุญออกัสติน]]มีอิทธิพลในความคิดของ[[คริสต์ศาสนา|คริสตจักร]]และ[[ความคิดแบบตะวันตก|ตะวันตก]] ณ ตอนแรกเริ่มของยุคกลาง โดยในยุคกลางและ[[ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ]]นั้น ประวัติศาสตร์ได้ถูกศึกษาผ่านมุมมองของความ[[ศักดิ์สิทธิ์]]หรือศาสนา แต่ราวช่วง ค.ศ. 1800 นักปรัชญาและนักประวัติศาสตร์ชาวเยอรมัน [[เกออร์ค วิลเฮ็ล์ม ฟรีดริช เฮเกิล|เกออร์ค วิลเฮ็ลม์ ฟรีดริช เฮเกิล]]ได้นำแนวคิด[[ปรัชญา]]และการเข้าถึงที่มีความเป็นฆราวาสมากขึ้นในการศึกษาประวัติศาสตร์<ref>Graham, Gordon (1997). "Chapter 1". ''The Shape of the Past''. University of Oxford.</ref>
 
ในบทนำของหนังสือ ''[[Muqaddimah]]'' (ค.ศ. 1377) นักประวัติศาสตร์และนักสังคมศาสตร์ยุคแรกเริ่มชาวอาหรับ [[อิบน์ ค็อลดูน]] ได้เตือนถึงข้อผิดพลาด 7 จุดที่เขาคิดว่านักประวัติศาสตร์มักชอบทำ ในการวิจารณ์นี้ เขาได้เข้าถึงอดีตในฐานะความประหลาดและต้องการการตีความ โดยต้นฉบับของอิบน์ ค็อลดูนได้อ้างว่าความแตกต่างทางวัฒนธรรมในต่างยุคสมัยต้องอยู่ในการประเมินจากวัตถุทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแยกหลักการว่าหลักการใดเป็นไปได้ในการประเมิน และสุดท้าย เพื่อรู้สึกถึงความต้องการในประสบการณ์ในการเข้าถึงอดีตอย่างมีตรรกะมากขึ้น ซึ่งอิบน์ ค็อลดูน ได้วิพากษ์วิจารณ์บ่อยครั้งกับ[[ความงมงาย]]ที่นิ่งเฉยและการยอมรับข้อมูลทางประวัติศาสตร์โดยไม่พินิจพิเคราะห์ จึงทำให้เกิดผลลัพธ์ คือ เขาได้เสนอ[[วิธีการทางวิทยาศาสตร์]]ในการศึกษาประวัติศาสตร์ และได้กล่าวถึงอยู่บ่อยครั้งว่าสิ่งนี้คือ วิทยาศาสตร์แบบใหม่<ref>{{Cite book|last=Ibn Khaldūn, 1332-1406.|url=https://www.worldcat.org/oclc/307867|title=The Muqaddimah : an introduction to history|others=Rosenthal, Franz, 1914-2003,, Thomas Leiper Kane Collection (Library of Congress. Hebraic Section)|isbn=0-691-01754-9|location=New York|oclc=307867}}</ref> โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ของเขาได้วางรากฐานให้กับการศึกษาบทบาทของ[[รัฐ]] [[การสื่อสาร]] [[โฆษณาชวนเชื่อ]] และ[[อคติเชิงระบบ]]ในทางประวัติศาสตร์ จากทั้งหมดนี้ ทำให้เขาได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งประวัติศาสตร์นิพนธ์<ref>{{Cite book|last=Ahmed, Salahuddin.|url=https://www.worldcat.org/oclc/37559819|title=The dictionary of Muslim names|date=1999|publisher=New York University Press|isbn=0-8147-0674-6|location=New York|oclc=37559819}}</ref><ref>{{Cite book|last=ʻInān, Muḥammad ʻAbd Allāh, 1896-|url=https://www.worldcat.org/oclc/880967682|title=Ibn Khaldūn : his life and works|date=2007|publisher=The Other Press|isbn=978-983-9541-53-3|location=Kuala Lumpur|oclc=880967682}}</ref> หรือ บิดาแห่งปรัชญาประวัติศาสตร์<ref>Dr. S.W. Akhtar (1997). "The Islamic Concept of Knowledge", ''Al-Tawhid: A Quarterly Journal of Islamic Thought & Culture'' '''12''' (3).</ref>
 
ในทางฝั่งโลกตะวันตก นักประวัติศาสตร์ได้พัฒนาวิธีการประวัติศาสตร์นิพนธ์แบบสมัยใหม่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฝรั่งเศสและเยอรมนี ซึ่งใน ค.ศ. 1851 [[เฮอร์เบิร์ต สเปนเซอร์]]ได้สรุปวิธีการเหล่านั้นได้ดังนี้<blockquote>จากชั้นของสิ่งสั่งสมในประวัติศาสตร์ของพวกเราที่ต่อเนื่องขึ้นมา พวกเขา [นักประวัติศาสตร์] ได้นำชิ้นส่วนที่มีสีอย่างขยันขันแข็ง ได้รีบคว้าสรรพสิ่งที่น่าค้นหาและเริงร่า และหัวร่อเหมือนดั่งเด็กน้อยที่อยู่กับสิ่งของอันแวววาวที่ได้มา ในขณะที่สายโลหิตแห่งภูมิปัญญาที่แตกแขนงสายธารท่ามกลางเศษซากอันไร้ค่าที่ถูกมองข้ามอย่างสมบูรณ์ เศษขยะชิ้นมโหฬารนั้นได้สั่งสมอย่างบ้าคลั่งซึ่งแท้จริงแล้วเป็นแร่อันล้ำค่า ควรค่าแก่การขุดออกมาและจากความจริงทองคำนี้ มันอาจจะถูกเอาออกมาแล้วก็ได้ แต่เพียงยังมิได้ศึกษาและมิได้ค้นคว้ามัน<ref>อ้างอิงใน Robert Carneiro, ''The Muse of History and the Science of Culture'', New York: Kluwer Publishers, 2000, p 160.</ref></blockquote>โดยคำว่า แร่อันล้ำค่า สเปนเซอร์ได้หมายถึงทฤษฎีเชิงวิทยาศาสตร์ของประวัติศาสตร์ ในขณะที่ [[เฮนรี โธมัส บักเกิล]] ได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับความฝันของประวัติศาสตร์ว่าวันหนึ่งจะเป็นวิทยาศาสตร์ว่า<blockquote>สืบเนื่องจากธรรมชาติ เหตุการณ์ส่วนใหญ่ที่ปรากฏขึ้นอย่างผิดปกติและไม่แน่ไม่นอนได้ถูกอธิบายและได้ถูกแสดงให้เห็นว่ามีความเกี่ยวพันกับกฎที่ตายตัวและเป็นสากล สิ่งนี้ได้ถูกเกิดขึ้นแล้วเนื่องจากผู้คนที่กระทำและเหนือสิ่งใดทั้งปวง คือ ผู้คนที่ถูกกระทำ ความคิดที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยย่อท้อเหล่านั้นได้ศึกษาเหตุการณ์ด้วยมุมมองของการค้นคว้าความปกติของสิ่งเหล่านั้น และถ้าเหตุการณ์ของมนุษย์ถูกกระทำในลักษณะเดียวกันนี้แล้ว เราจะมีความสามารถในการคาดหวังผลที่คล้ายทำนองเดิม<ref>อ้างใน ''Muse of History'', p 158-159.</ref></blockquote>ในทางตรงข้ามกับความฝันของบักเกิล นักประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 19 ที่มีอิทธิพลในวิธีการมากที่สุดคนหนึ่งอย่าง[[เลโอโพลด์ ฟอน รังเคอ]]ในเยอรมนี เขาได้จำกัดคำว่า ประวัติศาสตร์ ถึงอะไรที่เกิดขึ้นมาแล้วโดยแท้จริง และด้วยสิ่งนี้เองทำให้สาขาวิชาเริ่มมีห่างไกลจากวิทยาศาสตร์ สำหรับรังเคอเอง ข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ควรถูกเก็บอย่างระมัดระวัง ตรวจสอบอย่างปราศจากอคติ และนำมารวมกันด้วยอย่างเข้มงวดยวดยิ่ง แต่กระบวนการเหล่านี้เป็นแค่สิ่งที่จำเป็นและสารตั้งต้นของวิทยาศาสตร์ หัวใจของวิทยาศาสตร์ คือ การค้นคว้าระเบียบและความปกติในข้อมูลที่ถูกตรวจสอบและสร้างความเป็นสากลหรือกฎที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้นขึ้น<ref>''Muse of History'', p 147.</ref><blockquote>สำหรับนักประวัติศาสตร์อย่าง รังเคอ และผู้คนอีกหลากหลายที่นำความคิดของเขา ไม่ ประวัติศาสตร์ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ฉนั้นถ้าหากนักประวัติศาสตร์ได้บอกว่า จากที่เขาได้ทำให้เกิดสิ่งหนึ่ง มันไม่สามารถถูกพิจารณาให้เป็นวิทยาศาสตร์ได้ เราต้องยึดถือเขาตามที่เขาบอกไว้ แม้ว่าเขาจะบอกว่าเขายึดหลักวิทยาศาสตร์หรือไม่ สุดท้ายเขาก็ไม่ได้ยึดหลักวิทยาศาสตร์อยู่ดี นักประวัติศาสตร์แบบจารีตจึงไม่ใช่ทั้งนักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ ดั่งที่กระทำกันมาเป็นธรรมเนียม จึงไม่ใช่วิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น<ref>''Muse of History'', p 150.</ref></blockquote>ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักประวัติศาสตร์ในวงการวิชาการได้ลดความสนใจในเรื่องราวชาตินิยมอันยิ่งใหญ่ที่มักจะสรรเสริญชาติหรือ[[มหาบุรุษ]] เปลี่ยนไปสนใจยังการวิเคราะห์ที่ซับซ้อนและปราศจากอคติมากขึ้นในเรื่องแรงขับเคลื่อนทางสังคมและภูมิปัญญา กระแสหลักในวิธีการทางประวัติศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ 20 มีแนวโน้มที่จะจัดประวัติศาสตร์เปลี่ยนให้ไปอยู่กับ[[สังคมศาสตร์]]มากกว่าจะเป็นศิลปศาสตร์ ซึ่งแต่เดิมแล้วเคยเป็นอย่างนั้นมาก่อน โดยผู้สนับสนุนหลักให้ประวัติศาสตร์ในฐานะของสังคมศาสตร์เป็นนักวิชาการที่มาจากหลากหลายแขนงซึ่งประกอบด้วย [[แฟร์น็อง โบรเดล]], [[อี เอช คารร์]], [[ฟรีทซ ฟิชเชอร์]], [[เอมมานูเอล เลอ รอย ลาดูรี]], [[ฮันส์-อุลริช เวเลอร์]], [[บรูซ ทริกเกอร์]], [[มาร์ก บล็อก]], [[คาร์ล ดรีทริช บราเคอร์]], [[ปีเตอร์ เกย์]], [[โรเบิร์ต โฟเกล]], [[ลูเซียง แฟบวร์]], และ[[ลอเรนซ์ สโตน]] ผู้สนับสนุนที่มองให้ประวัติศาสตร์เป็นสังคมศาสตร์ได้ถูกกล่าวถึงในเรื่องการเข้าถึงแบบสหวิทยาการอย่าง โบรเดลได้นำประวัติศาสตร์มาควบรวมกับภูมิศาสตร์ บราเคอร์กับประวัติศาสตร์ด้วยรัฐศาสตร์ โฟเกลกับประวัติศาสตร์ด้วยเศรษฐศาสตร์ เกย์กับประวัติศาสตร์ด้วยจิตวิทยา ทริกเกอร์กับประวัติศาสตร์ด้วยมานุษยวิทยา ขณะที่เวเลอร์, บล็อก, ฟิชเชอร์, สโตน, แฟบวร์, และ เลอ รอย ลาดูรี มีการควบรวมที่แตกต่างและหลากหลายระหว่างประวัติศาสตร์ด้วยทั้งสังคมวิทยา ภูมิศาสตร์ มานุษยวิทยา และเศรษฐศาสตร์ แม้กระนั้น การเข้าถึงแบบสหวิทยาการเหล่านี้ก็ยังล้มเหลวที่จะสร้างทฤษฎีของประวัติศาสตร์ ซึ่งยังห่างไกลจากทฤษฎีประวัติศาสตร์หนึ่งเดียวที่มาจากปากกาของนักประวัติศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ<ref>Max Ostrovski, ''The Hyperbole of the World Order'', Lanham: Rowman & Littlefield, 2006.</ref> อย่างไรก็ตามที ทฤษฎีอื่นของประวัติศาสตร์ที่พวกเรามีถูกเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญจากสาขาอื่น (ยกตัวอย่างเช่น ทฤษฎีประวัติศาสตร์ของมาร์กซ) ในช่วงระยะหลังนี้ สาขา[[ประวัติศาสตร์ดิจิตอล]]ได้เริ่มต้นระบุวิธีทางที่จะใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการแสดงคำถามใหม่ต่อข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์และสร้างการศึกษาเชิงวิชาการเกี่ยวกับดิจิตอล
 
ในทางตรงกันข้ามกับการบอกว่าประวัติศาสตร์เป็นสังคมศาสตร์ นักประวัติศาสตร์อย่าง[[ฮิวจ์ เทรเวอร์-โรเปอร์]], [[จอห์น ลูคักส์]], [[โดนัลด์ เครตัน]], [[เกิร์ทรูด ฮิมเมลฟาร์บ]], และ[[เจอร์ราด ริทเตอร์]] ได้โต้เถียงว่าจุดสำคัญในงานของนักประวัติศาสตร์ คือ พลังของการ[[จินตนาการ]] และดังนั้นจึงคัดค้านว่าประวัติศาสตร์ควรถูกเข้าใจว่าเป็นศิลปะ นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่อยู่ใน[[สำนักแอแน็ล]]ได้เสนอประวัติศาสตร์เชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลดิบในการติดตามชีวิตของปัจเจกตัวอย่าง และเป็นสิ่งสำคัญในการสถาปนา[[ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม]] (cf. ''[[histoire des mentalités]]'') นักประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาอย่าง [[เฮอเบิร์ต บัทเทอร์ฟิลด์]], [[แอ็นสท์ โนลต์]], และ[[จอร์จ มอส]] ได้โต้เถียงในเรื่องความสำคัญของแนวคิดในประวัติศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากยุคสิทธิพลเมือง สนใจในผู้คนที่ถูกหลงลืมโดยทางการอย่าง ชนกลุ่มน้อย, เชื้อชาติ, และกลุ่มทางเศรษฐกิจสังคม ส่วนประเภทของ[[ประวัติศาสตร์สังคม]]อื่นที่เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ ''[[Alltagsgeschichte]]'' (ประวัติศาสตร์ของชีวิตในทุก ๆ วัน) นักวิชาการอย่าง [[มาร์ติน บร็อซาท]], [[เอียน เคอร์ชอว์]], และ[[เด็ทเลฟ พ็อยแคร์ท]] ได้ค้นหาเพื่อศึกษาว่าชีวิตในทุก ๆ วันของคนธรรมดาเป็นอย่างไรในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสมัย[[นาซี]]
 
[[นักประวัติศาสตร์มาร์กซิสต์]]อย่าง [[อีริก ฮอบส์บอวม์]], [[อี พี ทอมป์สัน]], [[โรดนีย์ ฮิลตัน]], [[ฌอร์ฌ เลอแฟฟวร์]], [[ยูจีน จีโนเวสซี]], [[ไอแซค ดอยช์เชอร์]], [[ซี แอล อาร์ เจมส์]], [[ทีโมธี เมสัน]], [[เฮอเบิร์ต แอปเธเคอร์]], [[อาร์โน เจ เมเยอร์]], และ [[คริสโตเฟอร์ ฮิลล์]] ได้ค้นคว้าเพื่อยืนยันทฤษฎีของ[[คาร์ล มาร์กซ]] โดยการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์จากมุมมองแบบมาร์กซิสต์ ซึ่งผลตอบรับจากการตีความประวัติศาสตร์แบบมาร์กซิสต์นี้ นักประวัติศาสตร์อย่าง [[ฟรองซัว ฟูเรต์]], [[ริชาร์ต ไปปส์]], [[เจ ซี ดี คลาร์ก]], [[โรล็อง มูนเย]], [[เฮนรี แอชบี เทอเนอร์]], และ [[โรเบิร์ต คอนเควสต์]] ได้เสนอการตีความประวัติศาสตร์แบบต่อต้านมาร์กซิสม์ นักประวัติศาสตร์[[สตรีนิยม]]อย่าง [[โจน วัลแลค สก็อตต์]], [[คลาวเดีย คูนส์]], [[นาตาลี ซีมอน เดวีส์]], [[ชีเลีย โรว์บอธแธม]], [[กีเซลา บ็อค]], [[เกอร์ดา เลอร์เนอร์]], [[เอลิซาเบ็ธ ฟอกซ์-จีโนวีเซ]], และ[[ลินน์ ฮันต์]] ได้โต้ในเรื่องความสำคัญในการศึกษาประสบการณ์ของผู้หญิงในอดีต โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ นักคิด[[แนวคิดหลังยุคนวนิยม|หลังยุคนวนิยม]]ได้พยายามท้าทายการยืนยันได้และความต้องการในการศึกษาประวัติศาสตร์อยู่บนพื้นฐานว่า ประวัติศาสตร์ทั้งหมดอยู่บนฐานของการตีความส่วนบุคคลในแหล่งข้อมูลนั้น ซึ่งในปี 1997 หนังสือ ''In Defence of History'' ของ[[รีชาร์ต เจ อีวานส์]]ได้พยายามแก้ต่างถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ และได้มีการแก้ต่างจากการวิจารณ์แนวยุคหลังสมัยใหม่ในหนังสืออย่าง ''The Killing of History'' ที่ออกจำหน่ายเมื่อ 1997 ของ[[คีธ วินด์ชคัตเทิล]] อีกด้วย
 
ในวันนี้ นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ได้เริ่มต้นกระบวนการวิจัยของพวกเขาในหอจดหมายเหตุ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ดิจิตอลหรือเป็นกายภาพก็ตาม พวกเขามักจะเสนอข้อโต้เถียงและใช้งานวิจัยของพวกเขามาสนับสนุน [[จอห์น เอช อาร์โนลด์]]ได้เสนอว่า ประวัติศาสตร์ คือ การโต้เถียง ซึ่งสร้างความเป็นไปได้ในการสร้างความเปลี่ยนแปลง<ref>{{Cite book|last=Arnold, John, 1969-|url=https://www.worldcat.org/oclc/53971494|title=History : a very short introduction|isbn=978-0-19-154018-9|location=Oxford|oclc=53971494}}</ref> บริษัทสารสนเทศดิจิตอลอย่าง [[กูเกิล]] ได้จุดประกายความขัดแย้งขึ้นเหนือบทบาทของการตรวจพิจารณาทางอินเทอร์เน็ตในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ<ref>King, Michelle T. (2016). "Working With/In the Archives". ''Research Methods for History'' (2nd ed.). Edinburgh: Edinburgh University Press.</ref>
 
=== ทฤษฎีแบบมาร์กซ ===
{{บทความหลัก|ทฤษฎีประวัติศาสตร์ของมาร์กซ}}
[[ทฤษฎีมาร์กซิสต์]]ในเรื่อง[[วัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์]]ได้ให้ทฤษฎีว่า สังคมถูกเกิดขึ้นมาโดยรากฐานมาจาก''เงื่อนไขเชิงวัตถุ'' ณ เวลาใด ๆ หรือในอีกความหมายหนึ่ง เงื่อนไขเชิงวัตถุ คือ ความสัมพันธ์ที่ผู้คนมีต่อผู้อื่นในการเติมเต็มความต้องการพื้นฐาน เช่น การให้อาหาร, การสวมใส่เสื้อผ้า, การอยู่อาศัยของเขาและครอบครัวของเขา<ref>{{Cite web|title=The German Ideology|url=https://www.marxists.org/archive/marx/works/1845/german-ideology/|access-date=2021-01-11|website=www.marxists.org}}</ref> โดยทั้งหมดทั้งมวล [[มาร์กซ]]และ[[ฟรีดริช เอ็งเงิลส์|เอ็งเงิลส์]]ได้อ้างว่าพวกเขาสามารถระบุได้ว่ามีอีกห้าระดับที่ยังเหนือไปกว่านี้ในการพัฒนาเงื่อนไขเชิงวัตถุใน[[ยุโรปตะวันตก]]<ref>มาร์กซไม่ได้อ้างถึงการผลิตกุญแจสำคัญของประวัติศาสตร์ วัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ไม่ใช่ทฤษฎีทางปรัชญาประวัติศาสตร์ของ marche generale (ทางเดินสากล) ที่กำหนดโดยโชคชะตาของทุก ๆ คน ซึ่งเป็นอะไรก็ตามที่เป็นพฤติการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่มันสามารถหาแนวทางด้วยตัวมันเองได้ (Marx, Karl: Letter to editor of the Russian paper ''Otetchestvennye Zapiskym'', 1877) แนวคิดของเขาซึ่งเขาได้อธิบายว่าอยู่บนฐานของการศึกษาที่เป็นรูปธรรมของเงื่อนไขที่เกิดขึ้นจริงเกี่ยวข้องในยุโรป</ref> นักประวัติศาสตร์นิพนธ์มาร์กซิสต์แต่เดิมแล้วเป็นสายมาร์กซิสต์แบบดั้งเดิม แต่เมื่อการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1991 มิกเฮล ครอม บอกว่า การศึกษาเหล่านี้ได้ถูกลดรูปเป็นเพียงการศึกษาชายขอบเท่านั้น<ref>Mikhail M. Krom, "From the Center to the Margin: the Fate of Marxism in Contemporary Russian Historiography," ''Storia della Storiografia'' (2012) Issue 62, pp. 121–130</ref>
 
=== ความขาดตกบกพร่องศักยภาพในการผลิตประวัติศาสตร์ ===
นักประวัติศาสตร์หลายท่านเชื่อว่า การผลิตประวัติศาสตร์ถูกแผงด้วยอคติเพราะว่าเหตุการณ์และข้อเท็จจริงที่รับรู้ในประวัติศาสตร์สามารถตีความได้อย่างหลากหลาย [[คอนสแตนติน ฟาโซลต์]] แนะนำว่า ประวัติศาสตร์ถูกเชื่อมโยงกับการเมืองจากการปฏิบัติที่สร้างความเงียบของตัวมันเอง<ref name=":1">{{Cite book|last=Fasolt, Constantin, 1951-|url=https://www.worldcat.org/oclc/52349012|title=The limits of history|date=2004|publisher=University of Chicago Press|isbn=0-226-23910-1|location=Chicago|oclc=52349012}}</ref> ซึ่งกล่าวเสริมอีกว่า มุมมองที่สองที่เป็นสามัญในการเชื่อมโยงระหว่างประวัติศาสตร์และการเมืองวางอยู่บนการสำรวจพื้นฐานที่ว่านักประวัติศาสตร์มักจะถูกได้รับอิทธิพลโดยการเมือง<ref name=":1" /> ด้วยจาก[[มิเชล-ร็อล์ฟ ทรุยโยต์]] กระบวนการทางประวัติศาสตร์มีรากมาจากหอจดหมายเหตุ ดังนั้นความสงบ หรือประวัติศาสตร์ส่วนที่ถูกหลงลืม จะเป็นส่วนที่เจตนาของกลยุทธ์เชิงเรื่องเล่าที่ชี้นำว่าพื้นที่ของประวัติศาสตร์ถูกจดจำได้ว่าอย่างไร<ref name=":2">Trouillot, Michel-Rolph (1995). "The Three Faces of Sans Souci: The Glories and the Silences in the Haitian Revolution". ''Silencing the Past: Power and the Production of History''. Boston: Beacon Press. pp. 31–69. ASIN B00N6PB6DG</ref> การปกปิดทางประวัติศาสตร์สามารถเกิดขึ้นได้หลายทางและสามารถมีผลกระทบสำคัญต่อการบันทึกประวัติศาสตร์ ข้อมูลสารสนเทศทั้งยังสามารถถูกเอาออกอย่างตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม นักประวัติศาสตร์ได้วางจำกัดความคำต่าง ๆ ที่อธิบายถึงการกระทำที่พยายามปกปิดสารสนเทศเชิงประวัติศาสตร์ อย่าง การทำให้เงียบสงบ<ref name=":2" />, ความทรงจำทางเลือก<ref name=":3">{{Cite book|last=Lerner, Gerda, 1920-2013.|url=https://www.worldcat.org/oclc/35559081|title=Why history matters : life and thought|date=1997|publisher=Oxford University Press|isbn=0-19-504644-7|location=New York|oclc=35559081}}</ref>, และการลบเลือนความทรงจำ<ref name=":4">{{Cite journal|last=Cronon|first=William|date=March 1992|title=A Place for Stories: Nature, History, and Narrative|url=https://academic.oup.com/jah/article-lookup/doi/10.2307/2079346|journal=The Journal of American History|volume=78|issue=4|pages=1347|doi=10.2307/2079346}}</ref> [[เกอร์ดา เลอร์เนอร์]] นักประวัติศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่สนใจอย่างมากในผลงานของเขาที่เกี่ยวข้องกับการปกปิดทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงและการกระทำของพวกเขา ได้อธิบายว่าการปกปิดเหล่านี้เกิดผลสะเทือนทางลบกับชนกลุ่มน้อย<ref name=":3" />
 
นักประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อม [[วิลเลียม โครนอน]] ได้เสนอสามแนวทางเพื่อปะทะกับอคติและทำให้มั่นใจว่าจะได้เรื่องเล่าที่มีการยืนยันและมีความถูกต้อง ประกอบด้วย เรื่องเล่าเหล่านั้นจะต้องไม่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่แล้ว, เรื่องเล่าเหล่านั้นต้องทำให้เกิดความสมเหตุสมผลเชิงนิเวศ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประวัติศาสตร์สิ่งแวดล้อม), และงานที่ถูกเผยแพร่ออกมาแล้วนั้นจะต้องได้รับการทบทวนจากชุมชนวิชาการและนักประวัติศาสตร์คนอื่น ๆ เพื่อให้มั่นใจว่ามีความชอบแล้ว<ref name=":4" />
 
== พื้นที่การศึกษา ==
{{ต้องการอ้างอิง-ส่วน}}
=== ยุคสมัย ===
การศึกษาประวัติศาสตร์มักให้ความสนใจเหตุการณ์และพัฒนาการที่เกิดขึ้นในระยะเวลาหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ นักประวัติศาสตร์ตั้งชื่อเวลาแก่ยุคสมัยเหล่านี้เพื่อให้นักประวัติศาสตร์ใช้ "จัดระเบียบความคิดและหลักการที่จำแนกประเภท" ชื่อที่ตั้งแก่ยุคสมัยมีได้หลากหลายตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เช่นเดียวกับวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดยุคสมัยหนึ่ง ๆ เวลาที่มักใช้กันคือ [[ศตวรรษ]]และ[[ทศวรรษ]] และเวลาที่อธิบายก็ขึ้นอยู่กับระบบการนับเวลาที่ใช้ ยุคสมัยส่วนใหญ่ถูกสร้างย้อนหลัง ฉะนั้นจึงสะท้อนการตัดสินคุณค่าของอดีต วิธีที่ยุคสมัยถูกสร้างขึ้นและชื่อที่ตั้งแก่ยุคสมัยสามารถสะท้อนมุมมองและการศึกษายุคสมัยนั้น ๆ ได้
 
=== ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ===
ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์หนึ่ง ๆ สามารถเป็นพื้นฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์ได้ อาทิ ทวีป ประเทศหรือนคร การทำความเข้าใจว่าทำไมเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เกิดขึ้นนั้นมีความสำคัญ นักประวัติศาสตร์มักทำความเข้าใจด้วยการศึกษาภูมิศาสตร์ รูปแบบลมฟ้าอากาศ การประปา และภูมิทัศน์ของสถานที่หนึ่ง ๆ ล้วนกระทบต่อชีวิตของประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น ในการอธิบายว่าเหตุใดชาวอียิปต์โบราณจึงพัฒนาอารยธรรมได้สำเร็จ การศึกษาภูมิศาสตร์อียิปต์มีความสำคัญ อารยธรรมอียิปต์ถูกสร้างขึ้นริมฝั่งแม่น้ำไนล์ ซึ่งเอ่อท่วมทุกปี และมีตะกอนทับถมริมฝั่งแม่น้ำ ดินที่อุดมสมบูรณ์ช่วยให้เกษตรกรปลูกพืชผลพอเลี้ยงประชากรในนคร ซึ่งหมายความว่า ทุกคนไม่จำเป็นต้องทำการเกษตร ฉะนั้นบางคนจึงสามารถทำงานอย่างอื่นซึ่งช่วยยยยยย
 
=== ภูมิภาค ===
* [[ประวัติศาสตร์แอฟริกา]] เริ่มต้นด้วยการถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกของมนุษย์สมัยใหม่บนทวีป มาถึงปัจจุบันซึ่งมีรัฐชาติที่มีความหลากหลายและกำลังพัฒนาทางการเมือง
* [[ประวัติศาสตร์อเมริกา]] เป็นประวัติศาสตร์ร่วมทั้งทวีปอเมริกาเหนือและใต้ รวมทั้งอเมริกากลางและแคริบเบียน แบ่งเป็น
** [[ประวัติศาสตร์อเมริกาเหนือ]]
** [[ประวัติศาสตร์อเมริกากลาง]]
** [[ประวัติศาสตร์แคริบเบียน]]
** [[ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้]]
* [[ประวัติศาสตร์แอนตาร์กติกา]] เริ่มตั้งแต่ทฤษฎีทวีปใหญ่ของตะวันตกช่วงแรก ที่เรียกว่า ''Terra Australis'' ซึ่งเชื่อกันว่ามีอยู่ทางใต้ของโลก
* [[ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย]] เริ่มต้นจากเอกสารพยานประกอบการค้าของมากัสซาร์กับชาวออสเตรเลียพื้นเมืองบนชายฝั่งทางเหนือของออสเตรเลีย
* [[ประวัติศาสตร์นิวซีแลนด์]] สืบย้อนไปได้อย่างน้อย 700 ปีเมื่อชาวโพลีนีเซียค้นพบและเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ซึ่งต่อมาได้พัฒนาวัฒนธรรมเมารี
* [[ประวัติศาสตร์หมู่เกาะแปซิฟิก]] ครอบคลุมประวัติศาสตร์ของหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก
* [[ประวัติศาสตร์ยูเรเซีย]] เป็นประวัติศาสตร์ร่วมของภูมิภาคชายฝั่งหลายแห่ง ได้แก่ ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยุโรป เชื่อมกันด้วยแผ่นดินภายในที่เป็นทุ่งหญ้าสเต็ปป์ของยูเรเซีย คือ เอเชียกลางและยุโรปตะวันออก
** [[ประวัติศาสตร์ยุโรป]] อธิบายตั้งแต่มนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในทวีปยุโรปจนถึงปัจจุบัน
** [[ประวัติศาสตร์เอเชีย]] แบ่งเป็น
*** ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออก เป็นการศึกษาอดีตที่ผ่านมาจาก "รุ่น" สู่ "รุ่น"
*** [[ประวัติศาสตร์ตะวันออกกลาง]] เริ่มต้นจากอารยธรรมแรกสุดในภูมิภาค เมื่อ 30000 ปีก่อนคริสตกาลใน[[เมโสโปเตเมีย]]
*** [[ประวัติศาสตร์เอเชียใต้]] เป็นการศึกษาในภูมิภาคใต้เทือกเขาหิมาลัย
*** [[ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] มีลักษณะของปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐในภูมิภาคกับต่างชาติ
 
== การเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย ==
{{ต้องการอ้างอิง-ส่วน}}
{{มุมมองสากล}}
เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงสถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนเป็น[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]ใน [[พ.ศ. 2459]] มีการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ขึ้นเป็นวิชาความรู้พื้นฐานสำหรับนิสิตในคณะต่าง ๆ (นโยบายนี้ยังปรากฏในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ([[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]ในปัจจุบัน) ซึ่งเปิดสอนใน [[พ.ศ. 2477]] ด้วย) ต่อมา ในปลายปี [[พ.ศ. 2466]] เมื่อ[[สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก|สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนสงขลานครินทร์]]ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมมหาวิทยาลัย ทรงดำเนินการปรับปรุงคณะแพทยศาสตร์และคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ทรงจัดหลักสูตรสำหรับวิชาประวัติศาสตร์ด้วยพระองค์เอง โดยทูลเชิญและเชิญผู้ที่มีความรู้เฉพาะทางมาปาฐกถา เช่น [[สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]ทรงบรรยาย[[ประวัติศาสตร์ไทย]] และ[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร|พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ]]ทรงบรรยายอิทธิพลของวัฒนธรรม[[อินเดีย]]ต่อวัฒนธรรม[[ไทย]] เป็นต้น
 
หลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] มหาวิทยาลัยในประเทศไทยจึงเปิดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาเอกในระดับ[[ปริญญาตรี]]และ[[ปริญญาโท]] โดยก่อน [[พ.ศ. 2516]] มีสถาบันอุดมศึกษาเพียง 2 แห่งที่เปิดสอนวิชาประวัติศาสตร์ในระดับปริญญาโท คือ [[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] และวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ([[มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ]]ในปัจจุบัน)
 
[[ไฟล์:MahaChulalongkorn Building.jpg|thumb|250px|อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]
 
ปัจจุบันสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาของรัฐที่ทำการสอนวิชาประวัติศาสตร์ ได้แก่
* ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
* ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
* หมวดวิชาประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
* ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
* วิชาโทประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
* ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
* ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
* ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
* สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
* ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
* ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
* ภาควิชาประวัติศาสตร์และศิลปะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
* สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
* ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
* สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
 
ส่วนสถานศึกษาของเอกชน ได้แก่
* สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
 
อนึ่ง นอกจากมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชนที่จัดให้มีการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ทั้งในระดับ[[ปริญญาตรี]]จนถึง[[ปริญญาเอก]]แล้ว หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบโดยตรงในงานด้านประวัติศาสตร์ของชาติคือ[[สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์]] [[กรมศิลปากร]] [[กระทรวงวัฒนธรรม]] และยังมีหน่วยงานเอกชนที่สนับสนุนการศึกษาด้านนี้ด้วย แต่การดำเนินงานไม่เป็นที่กว้างขวางและแพร่หลายนักในสังคม เช่น
* [[มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์]]
* มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
* ศิลปวัฒนธรรมในเครือ[[มติชน]]
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{สถานีย่อย|ประวัติศาสตร์}}
{{sisterlinks|History|wikt=history|d=Q309}}
 
=== หนังสือและบทความ ===
* [http://www.openbase.in.th/files/tbpj074.pdf ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และสุชาติ สวัสดิ์ศรี (บก.). ปรัชญาประวัติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2527.] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20201116075218/http://www.openbase.in.th/files/tbpj074.pdf |date=2020-11-16 }}
* [https://drive.google.com/file/d/1P34yTsu5JGJ4T0dQNvncn1hk0c3iSkli/view ทวีศักดิ์ เผือกสม (บก.). ''หนังสือประมวลบทความในการประชุมทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชน Wie es eigentlich gewesen ist โครงการวิธีวิทยาในการศึกษาประวัติศาสตร์''. มปท: มปพ, 2563.]
 
=== เว็บไซต์ ===
*[http://www.history.com History Channel] {{en icon}}
*[http://www.fordham.edu/halsall/ Fordham] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20090416220919/http://www.fordham.edu/halsall/ |date=2009-04-16 }} {{en icon}}
*[http://vlib.iue.it/history/index.html World Wide Web Virtual Library] {{en icon}}
*[http://www.bbc.co.uk/history BBC] {{en icon}}
 
{{ประวัติศาสตร์}}
{{วิทยาศาสตร์สังคม}}
{{Authority control}}