นกตะขาบหัวหงอก

นกตะขาบหัวหงอก
นกตะขาบหัวหงอก ที่เลี้ยงในกรงที่อุทยานแห่งชาติครูเกอร์ ประเทศแอฟริกาใต้
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Coraciiformes
วงศ์: Coraciidae
สกุล: Coracias
สปีชีส์: C.  cyanogaster
ชื่อทวินาม
Coracias cyanogaster
Cuvier, 1816
เขตการกระจายพันธุ์ในแอฟริกา
คู่นกตะขาบหัวหงอกที่ประเทศแกมเบีย

นกตะขาบหัวหงอก หรือ นกตะขาบทุ่งท้องสีน้ำเงิน (อังกฤษ: blue-bellied roller; ชื่อวิทยาศาสตร์: Coracias cyanogaster) เป็นนกในวงศ์นกตะขาบซึ่งกระจายพันธุ์ทั่วแอฟริกาในแถบละติจูดแคบ ๆ จากเซเนกัลไปจนถึงทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เป็นนกไม่อพยพตามฤดูกาลและมักอาศัยในท้องถิ่นที่มีทุ่งหญ้าสะวันนาในภูมิอากาศแบบชื้นโดยเฉพาะที่มีต้นไม้ในสกุล Isoberlinia ขึ้นหนาแน่น

อนุกรมวิธาน

นกตะขาบหัวหงอกได้รับชื่อทวินาม Coracias cyanogaster ในปี ค.ศ. 1816 โดยจอร์จ คูวิเยร์ (Georges Cuvier) นักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศสที่มีพื้นฐานมาจากภาพ "นกตะขาบทุ่งท้องสีน้ำเงิน (Le Rollier à ventre bleu)" ซึ่งฟรองซัวส์ เลอเวลลอง (François Levaillant) วาดและให้คำอธิบายไว้ในปี ค.ศ. 1806[2][3] ชื่อลักษณะเฉพาะเป็นภาษากรีกโบราณคือ kuanos แปลว่า "สีน้ำเงินเข้ม" กับ gastēr แปลว่า "ท้อง" ทั้งนี้เลอเวลลองเข้าใจผิดคิดว่าตัวอย่างดังกล่าวถูกเก็บได้จากเกาะชวา โดยความเป็นจริงแล้วนกชนิดนี้มีถิ่นที่อยู่ในแอฟริกาตะวันตก ซึ่งต่อมาได้ระบุพื้นที่เก็บตัวอย่างต้นแบบเป็นเซเนกัล[4] นกตะขาบหัวหงอกเป็นแบบโมโนไทป์ (monotypic species) คือ ไม่มีการระบุชนิดย่อย[5]

ลักษณะ

เป็นนกขนาดใหญ่ ซึ่งมีขนาดเกือบเท่านกหัวขวาน ยาว 28–30 เซนติเมตร (11–12 นิ้ว) ขนหลังสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลดำ ขนหัว คอ และอกเป็นขนสีขาวนวลหรือน้ำตาลซีด (สีครีม) ขนส่วนที่เหลือส่วนใหญ่เป็นสีน้ำเงินเข้ม[6]

ตัวเต็มวัยมีแถบหางยาว 6 เซนติเมตร (2.4 นิ้ว) ทั้งสองเพศมีความคล้ายคลึงกัน (แทบไม่มีภาวะทวิสัณฐานทางเพศ) ลูกนกและนกรุ่นเยาวชนมีสีคล้ายตัวเต็มวัยแต่สีอ่อนและมอ ๆ

นกตะขาบหัวหงอกมีความโดดเด่นในขณะบินโดยเฉพาะการโฉบพุ่งตรง (ร่อนแบบไม่กระพือปีก) จากปีกสีน้ำเงินเข้มสด หลังสีน้ำตาลเข้ม ตัดกับหัวและอกสีขาวนวล และหางที่ยาวตรง

มักร้องเสียงดังแหบเป็นจังหวะคล้าย "กา-กา-กา"

การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย

เป็นนกอาศัยทั่วไปในทุ่งโล่งเขตอบอุ่น อาจมีต้นไม้ประปราย นกตะขาบหัวหงอกมักชอบเกาะโดด ๆ นาน ๆ บนกิ่งไม้ เสา หรือสายไฟเหนือศีรษะ แบบเดียวกับนกอีเสือ เพื่อเฝ้าดูเหยื่อเช่น ตั๊กแตนและแมลงขนาดใหญ่อื่น ๆ

พฤติกรรมและนิเวศวิทยา

นกตะขาบหัวหงอกมีพฤติกรรมการบินแบบนกกระต้อยตีวิด มักบินผาดแผลงโดยมีการบิดและหมุนตัว ซึ่งเป็นที่มาชองชื่อภาษาอังกฤษของนกชนิดนี้ว่า "roller"

มักทำรังอยู่ในโพรงต้นไม้

สถานะ

มีเขตการแพร่กระจายพันธุ์ที่กว้าง และมักพบได้ทั่วไปในวงกว้าง ได้รับการประเมินว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์ในบัญชีแดงไอยูซีเอ็น

ในกรงเลี้ยง

สามารถเลี้ยงนกตะขาบหัวหงอกในกรงเลี้ยงได้ และบางครั้งพบเห็นได้ในสวนสัตว์ กรงเลี้ยงนกขนาดใหญ่ และอาคารทางการปักษีวิทยาที่คล้ายคลึงกัน

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

รายการอ้างอิง

  1. BirdLife International (2016). "Coracias cyanogaster". The IUCN Red List of Threatened Species. IUCN. 2016: e.T22682908A92967763. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-3.RLTS.T22682908A92967763.en. สืบค้นเมื่อ 13 January 2018.
  2. Cuvier, Georges (1817). Le Règne animal distribué d'après son organisation : pour servir de base a l'histoire naturelle des animaux et d'introduction a l'anatomie comparée (ภาษาFrench). Vol. Tome 1. Paris: Déterville. p. 401, Note 2.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) The volume has 1817 printed on the title page but was published in 1816. See: Dickinson, E.C.; Overstreet, L.K.; Dowsett, R.J.; Bruce, M.D. (2011). Priority! The Dating of Scientific Names in Ornithology: a Directory to the literature and its reviewers. Northampton, UK: Aves Press. p. 85. ISBN 978-0-9568611-1-5.
  3. Levaillant, François (1806). Histoire naturelle des oiseaux de paradis et des rolliers : suivie de celle des toucans et des barbus (ภาษาFrench). Vol. Tome Premier. Paris: Chez Denné le jeune, Perlet. pp. 78-79 Plate 26.{{cite book}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  4. Peters, James Lee, บ.ก. (1945). Check-List of Birds of the World. Vol. Volume 5. Cambridge, Massachusetts: Harvard University Press. p. 244. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)
  5. Gill, Frank; Donsker, David; Rasmussen, Pamela, บ.ก. (January 2021). "Rollers, ground rollers, kingfishers". IOC World Bird List Version 11.1. International Ornithologists' Union. สืบค้นเมื่อ 27 April 2021.
  6. Fry, C. Hilary; Fry, Kathie; Harris, Alan (1992). Kingfishers, Bee-eaters, and Rollers. London: Christopher Helm. pp. 300–301, Plate 39. ISBN 978-0-7136-8028-7.