สเคลอรีด

สเคลอรีด (อังกฤษ: sclereid) เป็นรูปแบบการลดรูปของเซลล์สเคลอเรนไคมา (sclerenchyma) ที่ผนังเซลล์เติบโตหนาขึ้นอย่างมาก แข็งและกลายเป็นไม้ (lignified) ซึ่งรวมตัวกันเป็นเนื้อเยื่อชั้นเล็ก ๆ ในส่วนที่พืชส่วนใหญ่ต้องการความทนทานสูง[2]

ภาพตัดขยายของ สเคลอรีด เห็นผนะงเซลล์ที่หนาตัวขึ้นอย่างมาก และแตกแขนงแบบกิ่งสาขาอย่างประณีต (prosenchymatic)[1]
ภาพขยายของเนื้อผลกล้วย เซลล์สเคลอรีดจะมีลักษณะเป็นเกือบทรงกลม (isodiametric) และเป็นแท่งรอบตัว (folked)

การปรากฏขึ้นของสเคลอรีดจำนวนมากก่อตัวเป็นแกนกลางหุ้มเมล็ดของแอปเปิ้ล และทำให้เกิดเนื้อสัมผัสทราย (gritty texture) ขอผลงสาลี่และฝรั่ง แม้ว่าสเคลอรีดในพืชจะมีรูปร่างที่หลากหลาย แต่โดยทั่วไปเซลล์สเคลอรีดจะมีลักษณะเป็นเกือบทรงกลม (isodiametric) และแตกแขนงแบบกิ่งสาขาอย่างประณีต (prosenchymatic และ forked) อาจเกิดขึ้นเป็นเซลล์เดียวหรือกลุ่มเซลล์เล็ก ๆ ภายในเนื้อเยื่อพาเรนไคมา

เซลล์สเคลอรีดสามารถแยกออกจากเซลล์ข้างเคียงได้อย่างชัดเจนทั้งขนาดและรูปลักษณะ ซึ่งเรียกว่า idioblast โดยทั่วไปจะพบสเคลอรีดในเนื้อเยื่อชั้นผิว เนื้อเยื่อพื้น และเนื้อเยื่อท่อลำเลียง[3]

คำว่า "sclereid" ได้ถูกใช้เป็นครั้งแรกโดยอเล็กซานเดอร์ เชียร์ค (Alexander Tschirch) ในปีพ.ศ. 2428[4]

ต้นกำเนิด

สเคลอรีดถูกสร้างขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงของเซลล์พาเรนไคมา หรืออาจเกิดขึ้นจาก sclereid primordia ที่มีการพัฒนาแต่ละเซลล์ในช่วงต้นของการเจริญเติบโต

โดยทั่วไปแล้วการก่อตัวของสเคลอรีด (Sclerification) เกี่ยวข้องกับการทำให้ผนังเซลล์หนาขึ้นและเพิ่มความแข็งแกร่ง ในเปลือกชั้นใน ในชั้นเนื้อเยื่อหยุดทำงานเมื่อเซลล์ในการเจริญอาจเริ่มกระบวนการก่อตัวของสเคลอรีด ในเนื้อเยื่อท่อลำเลียงสเคลอรีดจะพัฒนาจากวาสคิวลาร์แคมเบียมและคอร์กแคมเบียม[5]

ในผลไม้

สเคลอรีดในผลไม้ มีรูปแบบและการนำไปใช้แตกต่างกันไป ในผลสาลี่ (แพร์) รวมทั้งผลควินซ์ (คะริน) สเคลอรีดกระจายตัวทั่วในเนื้อผล (มีโซคาร์ปmesocarp) การก่อตัวเป็นหลุมผนังเซลล์แบบมีขอบ (bordered pit) และทำให้ความหนาของผนังเซลล์เพิ่มขึ้นอย่างมาก การก่อตัวของสเคลอรีด (sclerification) ของเนื้อสาลี่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับส่วนแกนรอบเมล็ด (เอนโดคาร์ป–endocarp) แต่ละเซลล์ที่เป็นสเคลอรีด เติบโตขึ้นคล้ายทรงกลม (isodiametric cell) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางพอ ๆ กัน ทำให้เนื้อสัมผัสของผลสาลี่มีลักษณะคล้ายเม็ดทรายกระจายอยู่ทั่ว (เรียกเซลล์หิน–stone cell)[1] ในผลควินซ์ สเคลอรีดที่มีมากกว่าทำให้มีความแข็งของเนื้อมากกว่าผลสาลี่ จึงนำมากินสดไม่ได้ นอกจากนำไปใช้ทำแยม[6] น้ำเชื่อม และเหล้า[7]

ในแอปเปิล ชั้นของสเคลอรีดเติบโดแบบยืดตัวยาว (elongated sclereid) และก่อตัวเป็นเอนโดคาร์ปที่หุ้มรอบเมล็ดไว้ หรือเรียกแกนหุ้มเมล็ด[1]

ในเมล็ด

การแข็งตัวของผิวหุ้มเมล็ด ในระหว่างผลไม้สุกมักเกิดจากการก่อตัวสเคลอรีด เมื่อผนังเซลล์ทุติยภูมิหนาขึ้นในและใต้เนื้อเยื่อชั้นผิว ที่มักพบในเมล็ดพืชตระกูลถั่ว สเคลอรีดขนาดใหญ่สร้างเซลล์ที่มีลักษณะเป็นแท่งในอีพิเดอร์มิสของเมล็ดถั่วเหลือง ถั่วลันเตาและถั่วอื่น ๆ รวมทั้งในผิวหุ้มเมล็ดของผลมะพร้าวซึ่งสเคลอรีดสร้างหลุมผนังเซลล์แบบมีขอบ ล้อมรอบจำนวนมากจนกลายเป็นกะลา[8]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Apple, Pear, Quince, Loquat, Peach, Cherry, Jujube, Olive & Avocado Fruit Photos". www2.palomar.edu.
  2. Evert, Ray F; Eichhorn, Susan E. Esau's Plant Anatomy: Meristems, Cells, and Tissues of the Plant Body: Their Structure, Function, and Development. Publisher: Wiley-Liss 2006. ISBN 978-0471738435
  3. Katherine Easu (1977). Anatomy of Seed Plants. Plant Anatomy (2nd ed.). John Wiley & Sons. p. 72. ISBN 0-471-24520-8.
  4. Tschirch, A. (1885). Beiträge zur Kenntnis des mechanischen Gewebesystems der Pflanzen. Pringsheims Jahrbücher für Wissenschaftliche Botanik XVI: 303-335.
  5. S. R. Mishra (2009). Understanding Plant Anatomy. Discovery Publishing House. p. 105. ISBN 9788183564571.
  6. "Apple, Pear, Quince, Loquat, Peach, Cherry, Jujube, Olive & Avocado Fruit Photos". www2.palomar.edu.
  7. ANNGLE. ""คะริน" ผลไม้ที่ไม่นำมารับประทานสด แต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย | ANNGLE". LINE TODAY.
  8. Katherine Easu (1977). Anatomy of Seed Plants. Plant Anatomy (2nd ed.). John Wiley & Sons. p. 72. ISBN 0-471-24520-8.