สาลี่ไอบีเรีย

สาลี่ไอบีเรีย หรือ แพร์ไอบีเรีย (Pyrus bourgaeana) เป็นสาลี่ญาติสนิทของ แพร์ (Pyrus communis) ซึ่งเริ่มนำมาปลูกเมื่อประมาณ 2500 ปีก่อน สาลี่ไอบีเรียเป็นไม้ต้นขนาดเล็กที่มีใบเดี่ยว โดยทั่วไปสูง 3–6 เมตร แพร่กระจายพันธุ์ทั่วไปในคาบสมุทรไอบีเรียตอนใต้และโมร็อกโกตอนเหนือ[2] โดยมีพื้นที่แพร่กระจายพันธุ์ร่วมกับไม้ผลสกุลสาลี่ (Pyrus) สี่ชนิดคือ แพร์ (P. communis), สาลี่พลีมัธ (P. cordata), P. spinosa และสาลี่หอม (P. nivalis) ลักษณะต่างของสาลี่ไอบีเรียคือ ความกว้างของก้านผล ขนาดกลีบดอก ความกว้างของใบ และความยาวก้านใบ

Iberian pears
Flowering Iberian pear group in the Doñana National Park (SW Spain)
Iberian pear blossoms
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
เคลด: โรสิด
อันดับ: กุหลาบ
วงศ์: กุหลาบ
สกุล: Pyrus
Decne. (1871)
สปีชีส์: Pyrus bourgaeana
ชื่อทวินาม
Pyrus bourgaeana
Decne. (1871)
ชื่อพ้อง[1]
รายการ
    • Pyrus bourgaeana f. triloba (P.Silva & Fontes) P.Silva
    • Pyrus mamorensis Trab.


สาลี่ไอบีเรีย
กลุ่มต้นสาลี่ไอบีเรียในอุทยานแห่งชาติดอนญานา (Doñana) สเปน
ดอกสาลี่ไอบีเรีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Rosales
วงศ์: Rosaceae
สกุล: Pyrus
สปีชีส์: P.  bourgaeana
ชื่อทวินาม
Pyrus bourgaeana'
Decne. (1871)
กิ่งของสาลี่ไอบีเรียที่มีผลจำนวนมาก ในพื้นที่ห่างไกลของสเปน

ดอกไสาลี่ไอบีเรียสีขาว มักไม่มีสีชมพูแซม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2–3 เซนติเมตร และมีกลีบดอก 5 กลีบ[3] ทรงกลม น้ำหนักประมาณ 9.5 กรัม ผิวสีเขียวหรือน้ำตาล ไม่เป็นที่ดึงดูดนกที่กินผลไม้ มีกลิ่นหอมและกากใยสูง มี 2-4 เมล็ด[4][5]

ภายในคาบสมุทรไอบีเรียการกระจายพันธุ์ของสาลี่ไอบีเรีย (P. bourgaeana) แบบกระจัดกระจายไปในป่าละเมาะที่เกิดขึ้นเบาบางในบริเวณทุ่งไม้พุ่ม (shrubland) ที่ไกลจากเขตเมืองและเขตเกษตรกรรมในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน ต้นสาลี่ไอบีเรียมักจะรวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ 8-10 ต้น[6][7] สาลี่ไอบีเรียทนต่อโรคอย่างน่าทึ่ง โดยมากมักตายด้วยลมพายุมากกว่าโรคต่าง ๆ

ปฏิสัมพันธ์กับสัตว์

 
During the fall, the Eurasian badger Meles meles becomes strongly frugivorous and, in southern Spain, the main seed disperser of P. bourgaeana

สาลี่ไอบีเรียออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ผสมเกสรโดยแมลงเช่นผึ้ง แมลงวัน และด้วงปีกแข็ง แต่ละต้นให้ผลผลิตระหว่าง 200-450 ผล สุกและร่วงลงพื้นโดยธรรมชาติในช่วงเดือนกันยายน – ธันวาคม

ผลของสาลี่ไอบีเรียมักถูกกินและรบกวนจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่น แบดเจอร์ จิ้งจอกแดง มากกว่าจากแมลง เช่น หนอนผีเสื้อกลางคืนสกุล microlepidoptera สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหล่านี้มักกินผลไม้ทั้งผล และกระจายเมล็ดที่กินเข้าไปเมื่อขับถ่าย ในบางพื้นที่กระต่าย (Oryctolagus cunniculus) และนกบางชนิดกินผลของสาลี่ไอบีเรียเฉพาะส่วนเนื้อผลไม้ และเหลือพูเมล็ดทิ้งไว้ใต้ต้นไม้ หนูมักกินแทะเมล็ดที่ไม่มีพูแข็งหุ้ม[8] รวมทั้งกวางแดง (Cervus elaphus) และ หมูป่า (Sus scrofa) ซึ่งมีฟันที่บดเมล็ดในผลไม้ที่ร่วงหล่นทั้งผลจนแพร่กระจายได้ยาก

อ้างอิง

  1. "Pyrus bourgaeana Decne". Plants of the World Online. Board of Trustees of the Royal Botanic Gardens, Kew. 2017. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
  2. Aldasoro, J. J., Aedo C., and Muñoz-Garmendia F. 1996. The genus Pyrus L. (Rosaceae) in south-west Europe and North Africa. Biol. J. Linn. Soc. 121: 143-158.
  3. Zywiec M, M Delibes and JM Fedriani. 2012. Microgeographic, inter-individual, and intra-individual variation in the inflorescences of Iberian pear Pyrus bourgaeana (Rosaceae). Oecologia 169: 713-722.
  4. Fedriani, J. M., and M. Delibes. 2009a. Functional diversity in fruit-frugivore interactions: a field experiment with Mediterranean mammals. Ecography 32: 983 - 992.
  5. Aldasoro J. J. , Aedo C, Navarro C. 1998. Pome Anatomy of Rosaceae Subfam Maloideae, with Special Reference to Pyrus. Annals of the Missouri Botanical Garden 85: 518-527.
  6. Fedriani, J. M., T. Wiegand, and M. Delibes. 2010. Spatial patterns of adult trees and the mammal-generated seed rain in the Iberian pear. Ecography 33: 545-555.
  7. Żywiec M Pdoc, Muter E, Zielonka T, Delibes M, Calvo G, and JM Fedriani. 2016. Long-term effect of temperature and precipitation on radial growth in a threatened thermo-Mediterranean tree population. Trees - Structure and Function, DOI 10.1007/s00468-016-1472-8.
  8. Fedriani JM and M Delibes. 2013. Pulp feeders alter plant interactions with subsequent animal associates. Journal of Ecology 101: 1581-1588.