หงส์

หงส์
หงส์ขาว (Cygnus olor)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Anseriformes
วงศ์: Anatidae
วงศ์ย่อย: Anserinae
เผ่า: Cygnini
สกุล: Cygnus
Bechstein, 1803
ชนิด
ดูในเนื้อหา
ชื่อพ้อง
  • Cygnanser Kretzoi, 1957
  • Olor Wagler, 1832

หงส์ (นิยมใช้แพร่หลายมากกว่า หงษ์) เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในสกุล Cygnus ในวงศ์ Anatidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเป็ดและนกเป็ดน้ำ มีลักษณะทั่วไป มีขนสีขาวทั้งตัว จะงอยปากสีเหลืองส้มและมีปุ่มสีดำที่ฐานของปาก มักรวมฝูงในบึงน้ำเพื่อกินพืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในทวีปเอเชียทางตอนเหนือ, ยุโรปทางตอนเหนือ, อเมริกา และออสเตรเลีย

หงส์ สามารถร่อนลงบนพื้นน้ำแข็งหรือผิวน้ำที่เยือกตัวเป็นน้ำแข็งได้ เพราะมีอุ้งตีนที่ใหญ่คล้ายใบพายซึ่งช่วยกระจายน้ำหนักได้เมื่อร่อนลง แต่จะควบคุมการร่อนได้ดีกว่าในบริเวณที่น้ำแข็งละลาย[1]

หงส์มีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่[2]

หงส์ เป็นนกที่แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ มีระยะการฟักไข่ประมาณ 35-37 วัน ขณะที่ฟักไข่นั้น จะมีอุปนิสัยดุมาก เพื่อปกป้องไข่ ลูกหงส์เมื่อคลอดออกมาแล้ว จะมียังมีขนขึ้นไม่เต็ม และจะไม่มีลักษณะเหมือนตัวเต็มตัว

โดยปกติแล้ว หงส์ไม่ใช่นกประจำถิ่นของประเทศไทย เป็นนกที่มนุษย์ไม่ใช้เป็นอาหาร แต่จะเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามได้ โดยมักเลี้ยงตามสระน้ำต่าง ๆ ตามสวนสาธารณะหรือสถานที่ต่าง ๆ เพราะหงส์ถือเป็นสัตว์ที่มนุษย์ถือว่า มีความสวยสง่างาม ท่วงท่าอ่อนช้อย โดยเฉพาะเมื่อว่ายน้ำ ช่วงคอที่ยาวระหง จะโค้งงอเป็นรูปตัว S อีกทั้งยังถือเป็นสัญลักษณ์ของความรักและความงามต่าง ๆ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีคู่เดียวไปตลอดชีวิต[3] ได้มีการใช้หงส์ในสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น นิทานปรัมปราต่าง ๆ หรือในอุปรากรสวอนเลค ที่นิยมนำมาประกอบการแสดงบัลเลต์[4] หรือในความเชื่อของชาวจีน หงส์ถือเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำองค์ฮองเฮา เคียงข้างกับมังกร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเพศชาย ประจำองค์ฮ่องเต้ และยังจัดว่าเป็น 1 ใน 4 สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่ปกครองโลกมนุษย์และสวรรค์ด้วย ถือเป็นสัตว์อมตะ ไม่มีวันตาย และหงส์ยังถือเป็นพาหนะของพระพรหม ซึ่งถือเป็น 1 ในตรีมูรติตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์[5] ในประเทศพม่า หงส์เป็นตำนานของการกำเนิดเมืองหงสาวดีของชาวมอญ และเป็นสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์หงสาวดี[6]

ชื่อและชื่อในภาษาอื่น

หงส์ในภาษาไทยมีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีคำว่า หํส [5] และ หงฺส ในภาษาสันสกฤต ซึ่งมีความหมายครอบคลุมถึงนกน้ำจำพวกห่าน หงส์[7] และแม้กระทั่งนกฟลามิงโก[8][9] และคำว่า "หงฺส" (หัง-สะ หรือ Haṃsa) ยังมีความเกี่ยวข้องกับคำในภาษาละตินคือ "(h)anser", ภาษากรีก "χήν", ภาษาสเปน "ganso", ภาษาอังกฤษ "goose"[10]

หงส์ในภาษาจีนมีความหมายตรงตัวว่า "ห่านฟ้า" (天鹅 พินอิน: tiān'é เทียนเอ๋อ)

ในภาษาอังกฤษหงส์เรียกว่า Swan มาจากภาษาอังกฤษโบราณคำว่า swan คล้ายกับภาษาเยอรมันคำว่า Schwan และในภาษาดัตช์คำว่า zwaan และภาษาสวีเดนคำว่า svan ซึ่งทั้งหมดมาจากรากศัพท์ภาษาโปรโตเจอร์แมนิก (ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน) คำว่า swen หมายถึง "เสียง" หรือ "ร้องเพลง"[11]

ถิ่นอาศัยและการอพยพ

 
หงส์กู่อพยพจากไอซ์แลนด์, กรีนแลนด์, สแกนดิเนเวีย และรัสเซียตอนเหนือ ไปยังยุโรป, เอเชียกลาง, จีน และญี่ปุ่น

หงส์มักพบในเขตอบอุ่นมากกว่าในเขตร้อน ฝูงของหงส์ที่กำลังบินมักเรียกกันว่าเบวี (bevy) หรือเวดจ์ (wedge)[12] มีหงส์ 4 หรือ 5 สายพันธุ์ที่พบในซีกโลกเหนือ มีหนึ่งสายพันธุ์พบในออสเตรเลีย มีหนึ่งสายพันธุ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วเคยพบในนิวซีแลนด์และหมู่เกาะแชทัม และมีอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่พบในอเมริกาใต้ หงส์ไม่พบในเขตร้อนอย่างเอเชีย, อเมริกากลาง, อเมริกาใต้ตอนเหนือ และแอฟริกาทั้งหมด หงส์ขาวได้แพร่กระจายเข้าไปในฐานะชนิดพันธุ์ต่างถิ่นของอเมริกาเหนือ, ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์[13]

หงส์บางสายพันธุ์เป็นนกอพยพในบางช่วงอายุหรือตลอดชีวิต หงส์ขาวเป็นนกอพยพชั่วคราว ปกติจะอาศัยบริเวณยุโรปตะวันตกและจะอพยพไปยังยุโรปตะวันออกและเอเชีย หงส์กู่และหงส์ทุนดราเป็นนกอพยพถาวร และหงส์แตรอพยพเกือบตลอดชีวิต[13] แม้จะมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าหงส์คอดำอพยพตลอดอายุขัย แต่จากการศึกษา ยังไม่แน่ชัดว่าหงส์สายพันธุ์อพยพแบบใดกันแน่[14]

พฤติกรรม

 
หงส์ขาวที่กำลังเกี้ยวพาราสีบนแม่น้ำดานูบ

หงส์หาอาหารทั้งบนบกและบนน้ำ พวกมันกินพืชเป็นส่วนใหญ่ แต่บางครั้งก็กินสัตว์น้ำในปริมาณน้อย หงส์หาอาหารในน้ำด้วยการคว่ำตัวหรือกดไปมา อาหารของพวกมันจะประกอบไปด้วยรากไม้ หัวพืช กิ่งไม้ และใบไม้ของพืชใต้น้ำ[13]

อนุกรมวิธานและวิวัฒนาการ

หลักฐานแสดงให้เห็นว่าสกุลหงส์ (Cygnus) มีวิวัฒนาการในยุโรปหรือยูเรเซียตะวันตกในสมัยไมโอซีน และแพร่กระจายไปทั่วซีกโลกเหนือจนถึงสมัยไพลโอซีน ยังไม่พบหลักฐานการกระจายพันธุ์ไปทางใต้ในสมัยใด แต่หลักฐานทางสันฐานวิทยาเห็นได้ชัดว่าหงส์ขาวเป็นญาติใกล้ชิดกับหงส์ดำซีกโลกใต้มากที่สุด จากชีวภูมิศาสตร์และลักษณะที่ปรากฏของสกุลย่อย Olor สันนิษฐานอาจมีวิวัฒนาการที่เชื่อมโยงกันกับหงส์ที่สูญพันธุ์บางชนิดในช่วงยุคน้ำแข็งสุดท้าย

สายวิวัฒนาการ

Cygnus
(Sthenelides)

C. melancoryphus (Black-necked swan)



(Chenopis)

C. atratus (Latham, 1790) (Black swan)



(Olor)

C. olor (Gmelin, 1789) (Mute swan)


(Cygnus)

C. buccinator Richardson, 1832 (Trumpeter swan)



C. cygnus (Linnaeus, 1758) (Whooper swan)



C. columbianus (Ord, 1815) (Tundra swan)[15]






สกุลย่อย ภาพ ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ ลักษณะ แหล่งกระจายพันธุ์
สกุลย่อย Sthenelides   Cygnus melancoryphus หงส์ขาวคอดำ ขนตัวขาว

ขนคอและหัวดำ รอบตาสีขาว

โหนกบนจะงอยปากสีส้มแดง ขนาดใหญ่เป็นก้อน

อเมริกาใต้
สกุลย่อย Chenopis   Cygnus atratus หงส์ดำ ขนสีดำล้วน หรือมีขนขาวแซมปลายปีก

จะงอยปากสีส้มแดง ปลายมีแถบสีชมพูอ่อนคาด

ไม่มีโหนกบนจะงอยปาก

ออสเตรเลีย
สกุลย่อย Olor   Cygnus olor หงส์ขาว หรือ หงส์ใบ้ ขนสีขาวล้วน

จะงอยปากสีส้ม

มีโหนกบนจะงอยปาก

ขอบจะงอยปากที่ติดกับขนขาวมีสีดำ ขอบตาดำ

ยุโรป ถึงรัสเซียตอนใต้ จีนและรัสเซียภาคพื้นทะเล
สกุลย่อย Cygnus   Cygnus cygnus หงส์กู่ ขนสีขาวล้วน

จะงอยปากสีส้ม ขอบส้ม

ไม่มีโหนกบนจะงอยปาก

ปลายจะงอยปากสีดำ

ผสมพันธุ์ในไอซ์แลนด์ ยุโรปและเอเชียแถบกึ่งขั้วโลก

อพยพไปยังยุโรปและเอเชียในช่วงฤดูหนาว

  Cygnus buccinator หงส์แตร ขนสีขาวล้วน

จะงอยปากสีดำ ขอบตาดำ

ไม่มีโหนกบนจะงอยปาก

อเมริกาเหนือ
  Cygnus columbianus หงส์ทุนดรา อเมริกาเหนือยูเรเซีย

อ้างอิง

  1. เอเชียและออสเตรเลีย, "มองโลกอัศจรรย์ผ่านนภากาศ". สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 7 กันยายน 2555
  2. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  3. เปิดรังหงส์ดำ แห่ง"ลำไทรฟาร์ม" จากผู้จัดการออนไลน์
  4. Kant, Marion (2007). The Cambridge companion to ballet. Cambridge University Press. pp. 164.
  5. 5.0 5.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2539. 972 หน้า. หน้า 861. ISBN 974-8122-79-4
  6. "All of history's a stage". เนชั่นมัลติมีเดีย. 6 October 2007. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.
  7. Lindsay Jones (2005), Encyclopedia of religion, Volume 13, Macmillan Reference, ISBN 978-0028657332, page 8894, Quote: "In Hindu iconography the swan personifies Brahman-Atman, the transcendent yet immanent ground of being, the Self."
  8. Monier Monier-Williams, Monier Williams Sanskrit Dictionary, हंस, Hamsa, University of Cologne, Germany, ISBN 978-8120615090, page 1286
  9. Denise Cush (2007), Encyclopedia of Hinduism, Routledge, ISBN 978-0415556231, page 697
  10. J. Pokorny, Indogermanisches etymologisches Wörterbuch. *ĝhan-s-
  11. "swan". etymonline.com. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.
  12. Lipton, James (1991). An Exaltation of Larks (ภาษาอังกฤษ). Viking. ISBN 978-0-670-30044-0.
  13. 13.0 13.1 13.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Ducks
  14. Schlatter, Roberto; Navarro, Rene A.; Corti, Paulo (2002). "Effects of El Nino Southern Oscillation on Numbers of Black-Necked Swans at Rio Cruces Sanctuary, Chile". Waterbirds. 25 (Special Publication 1): 114–122. JSTOR 1522341.
  15. Boyd, John H. "Anserini species tree" (PDF). สืบค้นเมื่อ 22 January 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Cygnus ที่วิกิสปีชีส์