หงส์

หงส์
หงส์ขาว (Cygnus olor)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Anseriformes
วงศ์: Anatidae
วงศ์ย่อย: Anserinae
เผ่า: Cygnini
สกุล: Cygnus
Bechstein, 1803
ชนิด
ดูในเนื้อหา
ชื่อพ้อง
  • Cygnanser Kretzoi, 1957
  • Olor Wagler, 1832

หงส์ (นิยมใช้แพร่หลายมากกว่า หงษ์) เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในสกุล Cygnus ในวงศ์ Anatidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเป็ดและนกเป็ดน้ำ มีลักษณะทั่วไป มีขนสีขาวทั้งตัว จะงอยปากสีเหลืองส้มและมีปุ่มสีดำที่ฐานของปาก มักรวมฝูงในบึงน้ำเพื่อกินพืชน้ำและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในทวีปเอเชียทางตอนเหนือ, ยุโรปทางตอนเหนือ, อเมริกา และออสเตรเลีย

หงส์ สามารถร่อนลงบนพื้นน้ำแข็งหรือผิวน้ำที่เยือกตัวเป็นน้ำแข็งได้ เพราะมีอุ้งตีนที่ใหญ่คล้ายใบพายซึ่งช่วยกระจายน้ำหนักได้เมื่อร่อนลง แต่จะควบคุมการร่อนได้ดีกว่าในบริเวณที่น้ำแข็งละลาย[1]

หงส์มีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่[2]

หงส์ ไม่ใช่นกประจำถิ่นของประเทศไทย แต่อาจพบมีผู้เลี้ยงประดับสวนหรือเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ เป็นนกที่แพร่ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ มีระยะการฟักไข่ประมาณ 35-37 วัน ขณะที่ฟักไข่นั้น จะมีอุปนิสัยดุมาก เพื่อปกป้องไข่ ลูกหงส์เมื่อคลอดออกมาแล้ว จะมียังมีขนขึ้นไม่เต็ม และจะไม่มีลักษณะเหมือนตัวเต็มตัว

โดยปกติแล้ว หงส์เป็นนกที่มนุษย์ไม่ใช้เป็นอาหาร แต่จะเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามได้ โดยมักเลี้ยงตามสระน้ำต่าง ๆ ตามสวนสาธารณะหรือสถานที่ต่าง ๆ เพราะหงส์ถือเป็นสัตว์ที่มนุษย์ถือว่า มีความสวยสง่างาม ท่วงท่าอ่อนช้อย โดยเฉพาะเมื่อว่ายน้ำ ช่วงคอที่ยาวระหง จะโค้งงอเป็นรูปตัว S อีกทั้งยังถือเป็นสัญลักษณ์ของความรักและความงามต่าง ๆ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีคู่เดียวไปตลอดชีวิต[3] ได้มีการใช้หงส์ในสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น นิทานปรัมปราต่าง ๆ หรือในอุปรากรสวอนเลค ที่นิยมนำมาประกอบการแสดงบัลเลต์[4] หรือในความเชื่อของชาวจีน หงส์ถือเป็นสัญลักษณ์ของเพศหญิง ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำองค์ฮองเฮา เคียงข้างกับมังกร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเพศชาย ประจำองค์ฮ่องเต้ และยังจัดว่าเป็น 1 ใน 4 สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่ปกครองโลกมนุษย์และสวรรค์ด้วย ถือเป็นสัตว์อมตะ ไม่มีวันตาย และหงส์ยังถือเป็นพาหนะของพระพรหม ซึ่งถือเป็น 1 ในตรีมูรติตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์[5] ในประเทศพม่า หงส์เป็นตำนานของการกำเนิดเมืองหงสาวดีของชาวมอญ และเป็นสัญลักษณ์ประจำราชวงศ์หงสาวดี[6]

ชื่อและชื่อในภาษาอื่น

หงส์ในภาษาไทยมีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีคำว่า หํส [5]

หงส์ในภาษาจีนมีความหมายตรงตัวว่า "ห่านฟ้า" (天鹅 พินอิน: tiān'é เทียนเอ๋อ)

ในภาษาอังกฤษหงส์เรียกว่า Swan มาจากภาษาอังกฤษโบราณคำว่า swan คล้ายกับภาษาเยอรมันคำว่า Schwan และในภาษาดัตช์คำว่า zwaan และภาษาสวีเดนคำว่า svan ซึ่งทั้งหมดมาจากรากศัพท์ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนคำว่า swen หมายถึง "เสียง" หรือ "ร้องเพลง"[7]

อ้างอิง

  1. เอเชียและออสเตรเลีย, "มองโลกอัศจรรย์ผ่านนภากาศ". สารคดีทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 7 กันยายน 2555
  2. จาก itis.gov (อังกฤษ)
  3. เปิดรังหงส์ดำ แห่ง"ลำไทรฟาร์ม" จากผู้จัดการออนไลน์
  4. Kant, Marion (2007). The Cambridge companion to ballet. Cambridge University Press. pp. 164.
  5. 5.0 5.1 ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2539. 972 หน้า. หน้า 861. ISBN 974-8122-79-4
  6. "All of history's a stage". เนชั่นมัลติมีเดีย. 6 October 2007. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.
  7. "swan". etymonline.com. สืบค้นเมื่อ 19 December 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Cygnus ที่วิกิสปีชีส์