เสม็ดแดง

เสม็ดแดง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Myrtales
วงศ์: Myrtaceae
สกุล: Syzygium
สปีชีส์: S.  antisepticum
ชื่อทวินาม
Syzygium antisepticum
ชื่อพ้อง[1]
  • Acmena grata (Wight) Walp.
  • Calyptranthes aromatica Blume nom. illeg.
  • Caryophyllus antisepticus Blume
  • Eugenia antiseptica (Blume) Kuntze
  • Eugenia collinsae Craib
  • Eugenia cuprea Koord. & Valeton nom. illeg.
  • Eugenia glaucicalyx Merr.
  • Eugenia grata Wight
  • Jambosa aromatica Miq.
  • Myrtus quadrangularis Buch.-Ham. ex Duthie
  • Syzygium glaucicalyx (Merr.) Merr.
  • Syzygium gratum (Wight) S.N.Mitra
  • Syzygium ovatifolium Merr. & L.M.Perry

เสม็ดแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Syzygium antisepticum ชื่อพ้อง: Syzygium gratum)[2] หรือ เสม็ดชุน เหม็ดชุน ผักเสม็ด ผักเม็ก ไคร้เม็ด เม็ก เม็ดชุน เสม็ด เสม็ดเขา ยีมือแล เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ ขนาดกลางมีความสูงโดยทั่วไป 7 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบอ่อนสีแดง เปลือกสีน้ำตาลแดง แตกสะเก็ดแผ่นบางๆ โคนต้นที่มีอายุมากมักเป็นพูพอน ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ใบรูปหอกแกมรูปไข่สีเขียว ใบด้านบนเป็นมัน ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ดอกสีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนงตามซอกใบและปลายกิ่ง ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน ผลสีขาวทรงกลมขนาดเล็ก มีเนื้อเมล็ดเดี่ยว ออกผลเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

เป็นพืชที่สามารถพบในป่าดิบแล้งโดยเฉพาะบริเวณชายฝั่ง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ได้แก่ หมู่เกาะสุมาตรา ชวา และเกาะบอร์เนียว

การใช้ประโยชน์

ต้นอายุน้อยใช้ปลูกในสวนสมุนไพร ลำต้นที่มีอายุมากใช้ประดับสวน มีผิวที่สวยโดดเด่น ให้ร่มเงาในบ้าน แข็งแรงและดูแลง่าย สามารถเพาะพันธุ์จากเมล็ด

ยอดอ่อน ลวก หรือกินกับผักกับน้ำพริก มีรสเปรี้ยวอมฝาด ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสด กับน้ำพริก ขนมจีนหรือข้าวยำ[3] ใช้ใบสดตำพอกแก้เคล็ดขัดยอกฟกบวม

อ้างอิง

  1. "The Plant List: A Working List of All Plant Species". สืบค้นเมื่อ 18 January 2015.
  2. http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_28_6.htm
  3. อรทัย เนียมสุวรรณ นฤมล เล้งนนท์ กรกนก ยิ่งเจริญ พัชรินทร์ สิงห์ดำ. 2555. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของพืชกินได้จากป่าชายเลนและป่าชายหาดบริเวณเขาสทิงพระ จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 40 (3): 981 - 991