พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

พิพิธภัณฑ์ที่นำเสนอภาพรวมการเป็นมหาวิทยาลัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงนิทรรศการถาวร เกี่ยวกับภาพรวมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในด้านต่าง ๆ ทั้งผลงานอันเกิดจากการวิจัย และองค์ความรู้ที่มหาวิทยาลัยได้ผลิตขึ้น ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัย พัฒนาการทางด้านกายภาพ ความเป็นอยู่ของนิสิต ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับสังคมไทย[1]

พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย
Chulalongkorn University Museum
พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทพิพิธภัณฑ์ภายในมหาวิทยาลัย
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมสมัยใหม่
เมืองเขตปทุมวัน, กรุงเทพมหานคร
ประเทศประเทศไทย
พิกัด13°44′23″N 100°31′57″E / 13.739672°N 100.532390°E / 13.739672; 100.532390
ผู้สร้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ห้องจัดแสดงชั้น 4 : อุทยานจามจุรี

อาคารแห่งนี้ เดิมเป็นอาคารเรียนของภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่อว่า อาคารเคมี 3 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น[2] ได้รับการปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อเฉลิมฉลองวาระ 100 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะมีขึ้นในปี พ.ศ. 2560 ตัวอาคารได้รับการปรับปรุงให้มีความทันสมัย ลดความปิดทึบของตัวอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเดิม โดยใช้กระจกกับโครงสร้างเหล็ก และปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อกับผู้ชมทุกกลุ่ม (Universal Design)[3]

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557 ในวาระ 97 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[4]

จัดแสดง แก้

พื้นที่ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกแบ่งออกเป็น 4 ชั้น แต่ละชั้นจะมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ทำให้พื้นที่ในการจัดแสดงนิทรรศการถูกแบ่งให้กระจายไปตามชั้นทั้ง 4 ดังต่อไปนี้[3]

  • ชั้นที่ 1 - เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน ที่เปิดให้นิสิต บุคลากรภายในและหน่วยงานต่าง ๆ ใช้จัดแสดงงานศิลปะ และงานด้านศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ[3]
     
    ห้องศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย
  • ชั้นที่ 2 - เป็นที่ตั้งของห้องจัดแสดงชื่อว่า "ศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย" นำเสนอหน้าที่หลักของการเป็นมหาวิทยาลัยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ปฏิบัติมาตลอด 100 ปี คือการผลิตองค์ความรู้และผลงานจากองค์ความรู้เหล่านั้น โดยจัดแสดงบนแผ่นแก้วเรียงรายตามปีนับตั้งแต่สถาปนามหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2460 ทางเดินแผ่นแก้วจะนำผู้ชมเข้าไปภายในห้องที่จำลองร่มไม้จามจุรี ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ภายในห้องนำเสนอผลงานและความสำเร็จทางวิชาการต่าง ๆ ด้วยสื่อผสมอัตโนมัติที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วม (Interactive Exhibition)[3]
  • ชั้นที่ 3 - เป็นที่ตั้งของห้องจัดแสดงชื่อว่า "อุทยานจามจุรี" เป็นห้องที่จัดแสดงพัฒนาการทางกายภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในช่วงระยะเวลา 90 ปี ภายในห้องจะมีข้อมูลพร้อมภาพประกอบอธิบายให้ผู้ชมเข้าใจ มีแบบจำลองแผนผังมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่ผู้ชมสามารถเปิด-ปิด ไฟอาคารในแต่ยุคของมหาวิทยาลัย และมีห้องชมวีดีทัศน์เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างและลักษณะทางสถาปัตยกรรมของอาคารภายในมหาวิทยาลัยด้วย
  • ชั้นที่ 4 - เป็นห้องจัดแสดงที่มีชื่อว่า "100 เรื่องจามจุรี 100 ปี จุฬาฯ" เป็นห้องที่ใช้สื่อผสมอัตโนมัติที่ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมได้ (Interactive Exhibition) เพื่อจัดแสดงความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของมหาวิทยาลัยกับสังคมไทย ที่สอดประสานกันอย่างแนบแน่น เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับยุครัฐนิยม การถือกำเนิดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อนำชาติพ้นจากภัยจักรวรรดินิยม นิสิตจุฬาฯ กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และภายในห้องจัดแสดงนี้ยังมีส่วนจัดแสดงผลผลิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งกล่าวถึงประวัติและชีวิตในจุฬาฯ ของนิสิตเก่าผู้เป็นบุคคลสำคัญ[5] เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศาสตราจารย์ ดร.สตางค์ มงคลสุข พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา เป็นต้น[3]
 
ห้องจัดแสดงในชั้นที่ 4: นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับการเมือง แสดงความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตนิสิตกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย นับตั้งแต่สงครามมหาเอเชียบูรพาจนถึงสงครามเย็น

ภาพภายในอาคาร แก้

ห้องจัดแสดงในอาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยถูกออกแบบให้อธิบายข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ได้อย่างเข้าใจง่าย มีสื่อผสมที่ตอบสนองการเคลื่อนไหวของผู้เข้าชม เป็นต้นว่าในส่วนจัดแสดงเกี่ยวกับหอพักนิสิต ผู้เข้าชมสามารถสั่นระฆังในห้องเพื่อจำลองการปลุกนิสิตหอพัก จากนั้นสื่อผสมต่าง ๆ จะเล่นขึ้นทันทีที่ได้รับข้อมูลเสียงจากระฆัง หรือโต๊ะฉายเอกสารสำคัญของมหาวิทยาลัยที่สามารถเปลี่ยนหน้าได้โดยการโบกมือ

อ้างอิง แก้

  1. "อาคารพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย." พิพิธภัณฑ์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Accessed April 10, 2017. http://www.chula.ac.th/th/archive/museum/3577 เก็บถาวร 2017-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  2. "ข้อมูลอาคาร พิพิธภัณฑ์จุฬา | สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย." ข้อมูลอาคาร พิพิธภัณฑ์จุฬา | สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Accessed April 10, 2017. http://www.prm.chula.ac.th/cen081.html.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม. "พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัย." สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. January 01, 1970. Accessed April 10, 2017. http://culturalartcu.blogspot.com/2013/05/blog-post_9046.html.
  4. "สมเด็จพระเทพฯ” ทรงร่วมงานวันครบรอบ 97 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย." สำนักข่าวเจ้าพระยา. March 26, 2014. Accessed April 10, 2017. http://www.chaoprayanews.com/2014/03/26/สมเด็จพระเทพฯ-ทรงร่วมง/.
  5. Chulauniversity. YouTube. March 25, 2017. Accessed April 11, 2017. https://www.youtube.com/watch?v=jrwRm67TMy4&t=17s.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้