พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว
พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว เป็นโรงเรียนจีนฮกเกี้ยนซึ่งปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์เชิงวัฒนธรรมของชาวภูเก็ต สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2447 ตั้งอยู่ที่ถนนกระบี่ ตำบลตลาดเหนือ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต พื้นที่ของพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัวเดิมประกอบด้วยศาลเจ้าและโรงเรียนสอนภาษาจีนชั้นสูงชื่อ "ฮั่วบุ่น" ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2454 ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนภูเกตจุงหัว และในปี พ.ศ. 2491 ได้เปลี่ยนมาเป็น โรงเรียน ภูเก็ตไทยหัว จนกระทั่งปี พ.ศ. 2538 โรงเรียนภูเก็ตไทยหัวได้ย้ายไปอยู่ที่ตั้งใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 อาคารเรียนหลังนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน หลังจากนั้น มูลนิธิกุศลสงเคราะห์ จังหวัดภูเก็ต และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้ปรึกษาหารือและตกลง ที่จะปรับปรุงอาคารและพื้นที่โดยรอบเพื่อจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551[1]
พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว | |
---|---|
พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัวในปี พ.ศ. 2562 | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | พิพิธภัณฑ์ และ โรงเรียน |
สถาปัตยกรรม | สถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส |
เมือง | อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต |
ประเทศ | ประเทศไทย |
เริ่มสร้าง | พ.ศ. 2447 |
ปรับปรุง | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (วันเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์) |
ผู้สร้าง | กลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยน |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
โครงสร้าง | คอนกรีตเสริมเหล็ก |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
รางวัล |
|
เว็บไซต์ | |
thaihuamuseum | |
เปิดวันทุกวัน (ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 09.00 - 17.00 น.[2] |
พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว ได้รับการออกแบบอาคารให้มีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีน-โปรตุเกส หรือ ซีโน-โปรตุกีส ซึ่งเป็นรูปแบบทั่วไปในย่านเมืองเก่าภูเก็ต มีผังอาคารเป็นแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบสมมาตรล้อมลาน กลางอาคารที่ตรงกับช่องเปิดโล่งในหลังคา หลังคาเป็นหลังคาปั้นหยาผสมหลังคาจั่ว มุงกระเบื้องกาบกล้วยดินเผา
ภายในพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัวมีการจัดแสดงภาพถ่ายเก่าๆ ของโรงเรียน ส่วนภายในอาคารจัดแสดงสิ่งของ หนังสือ ภาพถ่ายและเรื่องราวต่างๆ ของโรงเรียนภูเก็ตไทยหัว มีห้องนิทรรศการภาพ แสดงความเป็นมาของชาวจีนที่ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่ ภูเก็ต บุคคลสำคัญของภูเก็ต ชุดแต่งกายประจำถิ่น อาหารพื้นเมือง เทศกาลงานประเพณี อาคารแบบชิโนโปรตุกีส และภาพถ่ายเก่าแก่ที่แสดงความเป็นมา ด้านเศรษฐกิจของภูเก็ตตั้งแต่ยุคเหมือง แร่ การทำสวนยางพารา และการท่องเที่ยว[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 อาคารพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว, เว็บไซด์:http://asaconservationaward.com/ .วันที่ 08/06/2562
- ↑ สถานที่ท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว เก็บถาวร 2016-12-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, website: https://thai.tourismthailand.org/ .วันที่ 08/06/2562
- ↑ พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว[ลิงก์เสีย], เว็บไซด์:https://2017.sadoodta.com/ เก็บถาวร 2019-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน .วันที่ 08/06/2562
ข้อมูลเพิ่มเติม
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์