พิพิธภัณฑ์มีชีวิต

(เปลี่ยนทางจาก พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง)

พิพิธภัณฑ์มีชีวิต หรือ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง เป็นลักษณะชนิดหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ที่แสดงในบริเวณกว้าง ซึ่งพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแห่งแรกเกิดขึ้นที่สแกนดิเนเวีย ซึ่งต่อมาแนวคิดเรื่องพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งได้แพร่กระจายไปทั่วทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งรู้จักกันในหลายชื่อว่า พิพิธภัณฑ์มีชีวิต พิพิธภัณฑ์สิ่งก่อสร้าง หรือ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน

Den Gamle By (The Old Town) พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแห่งหนึ่งใน ออร์ฮูส ประเทศเดนมาร์ก

พิพิธภัณฑ์มีชีวิตเป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่บุคคลในบริเวณนั้น จะมีการแต่งกายและการแสดงในลักษณะของยุคสมัยเก่า โดยบุคคลจะประพฤติปฏิบัติตัวราวกับว่าพักอาศัยอยู่ในสมัยโบราณ โดยมีจุดประสงค์เพื่อแสดงวัฒนธรรมสมัยก่อนให้กับผู้ชมในยุคปัจจุบันได้เห็น พิพิธภัณฑ์มีชีวิตส่วนใหญ่จะมีการแสดงหลายอย่างไม่ว่า การตีเหล็ก การตีดาบ การทำเหมืองแร่ การรีดนมวัว การทอผ้า หรือการวาดรูป เป็นต้น[1]

จุดหลักของพิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่สำคัญคือ วัฒนธรรมธรรมชาติแห่งประวัติศาสตร์, ข้อมูลความรู้ และ กิจกรรมของชุมนุม

ความแตกต่าง พิพิธภัณฑ์มีชีวิต กับ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง แก้

การเรียกชื่อของพิพิธภัณฑ์สองรูปแบบนี้สามารถสลับใช้กันได้ โดยจุดหมายเหมือนกันคือ เน้นวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และประวัติศาสตร์ โดยจุดแตกต่างในแนวคิดของการตั้งชื่อคือ พิพิธภัณฑ์มีชีวิตจะเน้นการมีคนและกิจกรรมของชุมชนเป็นส่วนประกอบของระบบมากกว่า พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่จะเน้นสิ่งก่อสร้างและอาคารกว่า อย่างไรก็ตามพิพิธภัณฑ์มีชีวิตบางแห่งยังมีการเน้นส่วนประกอบโครงสร้างและอาคารเป็นส่วนสำคัญ เช่นเดียวกับพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งบางแห่ง มีการเน้นคนเช่นเดียวกัน

เป้าหมายของพิพิธภัณฑ์มีชีวิตคือเพื่อแสดงให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมและเรียนรู้วัฒนธรรม ธรรมชาติ และประวัติศาสตร์ผ่านประสาทสัมผัสทางกายภาพนอกเหนือจากการอ่านในหนังสือ แม้กระนั้นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตในอเมริกาบางครั้งจะถูกวิจารณ์โดยนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ว่าการแสดงบางอย่างบิดเบือนจากประวัติศาสตร์จริง และบางครั้งเพื่อบิดเบือนประวัติศาสตร์ในแง่ลบของชุมชนหรือพื้นบ้านบริเวณนั้น[2]

พิพิธภัณฑ์มีชีวิตของอเมริกาเหนือ แก้

ในทวีปอเมริกาเหนือ พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งจะนิยมถูกเรียกว่า พิพิธภัณฑ์มีชีวิต (living museum) โดยพิพิธภัณฑ์มีชีวิตแห่งแรกตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านกรีนฟีลด์ ในรัฐมิชิแกน ก่อตั้งโดย เฮนรี ฟอร์ด ใน ค.ศ. 1928 โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำเป็นพิพิธภัณฑ์เก็บของสำคัญของตน[3] ซึ่งต่อมาใน ค.ศ. 1934 โคโลเนียลวิลเลียมส์เบิร์กได้กลายมาเป็นต้นแบบของพิพิธภัณฑ์มีชีวิตต่อที่อื่นต่อไป พิพิธภัณฑ์มีชีวิตของอเมริกาเหนือ จะแตกต่างกับพิพิธภัณฑ์มีชีวิตของยุโรปตรงที่ มีลักษณะเฉพาะในการยังคง วัฒนธรรม ธรรมชาติ และประวัติศาสตร์ของพื้นที่ แตกต่างจากทางฝั่งยุโรปที่เน้นในการเก็บรักษารูปลักษณ์ของอาคารและสิ่งก่อสร้าง

พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย แก้

อ้างอิง แก้

  1. อริยา อรุณินท์, ผศ. (2001). "ภูมิทัศน์เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัยตลอดชีวิต (Edutainment Landscape)" (PDF). วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  2. Magelssen, Scott (1 กุมภาพันธ์ 2007). Living History Museums: Undoing History Through Performance. Lanham, MD: Scarecrow Press. ISBN 978-0-8108-5865-7.
  3. Hudson, Kenneth (28 สิงหาคม 1987). Museums of Influence. Cambridge University Press. p. 153. ISBN 0-521-30534-9.
  4. ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม, ผศ. "โครงการ การออกแบบเบื้องต้น และการศึกษาความเป็นไปได้สำหรับพิพิธภัณฑ์มีชีวิตของเมืองแม่ฮ่องสอน". เครือข่ายวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่-ภาคเหนือตอนบน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 กรกฎาคม 2012.
  5. บุริม โอทกานนท์ (2010). "พิพิธภัณฑ์มีชีวิตที่แม่ฮ่องสอน". College of Management, Mahidol University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้