พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2020

เนื้อหาวิกิข่าว

พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 (อังกฤษ: 2020 Summer Olympics opening ceremony) จัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ณ กรีฑาสถานแห่งชาติญี่ปุ่น กรุงโตเกียว[1][2] ตามข้อบังคับของกฎบัตรโอลิมปิก การดำเนินการจะผสมกันทั้งรูปแบบทางการและพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติ รวมถึงการกล่าวต้อนรับ การเชิญธง และขบวนพาเหรดของนักกีฬา พร้อมการแสดงทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของประเทศเจ้าภาพ โดยส่วนหนึ่งเป็นการแสดงภายในสนามกีฬา และบางส่วนมีการถ่ายทำแบบเสมือนจริงพร้อมถ่ายทอดทางไกล

พิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2020
การแสดงพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2020
วันที่23 กรกฎาคม 2021; 2 ปีก่อน (2021-07-23)
เวลา20:00 - 23:30 JST (UTC+9)
ที่ตั้งโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
ถ่ายทำโดยโอบีเอส ในนามสมาพันธ์การกระจายเสียงและแพร่ภาพเฉพาะกิจแห่งญี่ปุ่น

ราคาตั๋วสำหรับพิธีเปิดคาดว่าจะอยู่ในช่วงระหว่าง 12,000 ถึง 300,000 เยน ก่อนที่จะมีการประกาศห้ามผู้เข้าชมในสนาม ตามมาตรการทางสาธารณสุข อันสืบเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19[3][4]

พิธีการ แก้

 
สมเด็จพระจักรพรรดิ และแขกผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมพิธี

ในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธาน พร้อมด้วยโทมัส บัค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ในการนี้ สมเด็จพระจักรพรรดิในฐานะพระประมุขแห่งรัฐตามกฎบัตรโอลิมปิก ทรงมีพระราชดำรัสเปิดการแข่งขัน นับเป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นพระองค์ที่สามที่ทรงเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ พระบรมอัยกาธิราช (โอลิมปิกฤดูร้อน 1964, โอลิมปิกฤดูหนาว 1972) และสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ พระบรมชนกนาถ (โอลิมปิกฤดูหนาว 1998) นอกจากนี้ สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ ยังทรงเป็นองค์พระบรมราชูปถัมภกกิตติมศักดิ์ในการแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020[5] อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระจักรพรรดินีมาซาโกะ รวมถึงสมาชิกราชวงศ์ญี่ปุ่นพระองค์อื่น ๆ มิได้ตามเสด็จในพิธีเปิดด้วย[6]

นอกจากนี้ ยังมีบุคคลสำคัญอื่นที่เข้าร่วมพิธี อาทิ แอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส เจ้าภาพ โอลิมปิกฤดูร้อน 2024, จิล ไบเดิน สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งสหรัฐ เจ้าภาพ โอลิมปิกฤดูร้อน 2028, แกรนด์ดยุกอ็องรีแห่งลักเซมเบิร์ก, เจ้าชายอาลแบร์ที่ 2 องค์อธิปัตย์แห่งโมนาโก, พัน กี-มุน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ, เตโวโดรส อัดฮาโนม ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก และ พิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย เป็นต้น

นาโอมิ โอซากะ นักกีฬาเทนนิส เป็นผู้จุดไฟในกระถางคบเพลิง[7] ซึ่งออกแบบโดยโอกิ ซาโต ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวาเซดะ เช่นเดียวกับโยชิโนริ ซาไก ผู้จุดไฟในกระถางคบเพลิงเมื่อปี 1964[8]

ลำดับพิธีเปิด แก้

 
การแสดงบินโชว์โดยบลูอิมพัลส์
 
พิธีเปิดที่กรีฑาสถานแห่งชาติญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2021

เดิมพิธีเปิดมีระยะเวลาสามชั่วโมงครึ่ง โดยเริ่มต้นในเวลา 20 นาฬิกาตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่น[9] การแสดงในพิธีเปิดมีหลายช่วง โดยบางช่วงมีการบันทึกวิดีโอไว้ก่อนแล้ว[10] การแสดงในแต่ละส่วนภายใต้ธีม "ก้าวไปข้างหน้า" (Moving Forward) มีรูปแบบการนำเสนอที่แตกต่างกันออกไป[11] โดยชื่อการแสดงเป็นชื่อที่ตั้งโดยฝ่ายจัดงาน[12][13][14][15][16][17][18][19][20]

โหมโรง: สถานที่เริ่มต้นเรื่องราว (Where the Stories Begin) แก้

ในวันที่จะมีพิธีเปิด มีการแสดงบินโชว์ของบลูอิมพัลส์ซึ่งเป็นฝูงบินของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น เครื่องบินพ่นไอเป็นรูปวงแหวนโอลิมปิกเหนือน่านฟ้าโตเกียวเพื่อเป็นฉลองครบรอบ 57 ปีของการจัดโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งแรกที่โตเกียวในปี 1964[21][22]

ห่างกันแต่ไม่เดียวดาย (Apart but not Alone) แก้

มีการแสดงวิดีโอรีแคปก่อนที่โตเกียมเกมส์จะมาถึง โดยเริ่มต้นจากภาพตอนที่ประกาศผลเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนในการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 125 เมื่อปี 2013 ต่อด้วยการทำงานหนักและการฝึกซ้อมของนักกีฬา จากนั้นเป็นภาพจากโอลิมปิกฤดูร้อน 2016และการคัดเลือกนักกีฬา ปิดท้ายเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในปี 2020 ซึ่งทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และนักกีฬาต้องทำการฝึกซ้อมจากที่บ้านผ่านการประชุมวิดีโอ

การแสดงชุดแรกของพิธีการ แสดงออกถึง "ศิลปะดิจิทัลและเทคโนโลยีการฉายภาพโปรเจ็กชันอย่างลึกซึ้งของญี่ปุ่น"[23] มีการฉายภาพดิจิทัลกราฟฟิกบนพื้นของกลางสนาม ซึ่งมีนางพยาบาลและอาริสะ สึบาตะ นักมวยผู้ชนะการแข่งขันระดับประเทศหลังได้เริ่มเล่นเพียงสองปี[24] แต่ไม่สามารถลงแข่งขันกรีฑาได้เนื่องจากการคัดเลือกถูกยกเลิก[25] กำลังวิ่งบนลู่วิ่ง[26] มีนักแสดงสมทบเข้ามาปั่นจักรยาน ดึงยืดตัว วิ่งอยู่กับที่ และเต้น และมีการฉายภาพลูกบอลแสงไฟด้วย[25] สิ่งนี้สื่อถึง "ชะตาชีวิตของนักกีฬาที่ต้องฝึกซ้อมในช่วงสถานการณ์อันยากลำบากเพื่อแข่งขันในรายการนี้"[23]

ต่อมามีนักเต้นสวมชุดสีขาวพร้อมริบบินสีแดง สื่อถึง "การพรรณาการทำงานหนักทั้งกายและใจ"[27]

การต้อนรับจากเจ้าภาพ (A Welcome from the Host) แก้

การแสดงในลำดับถัดมาเป็นการร้องเพลงชาติญี่ปุ่น[23] ของมีเชียที่สวมชุดที่ "แสดงออกถึงการให้เกียรติกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศและเป็นสัญลักษณ์ของการรณรงค์เพื่อความเท่าเทียมของคนกลุ่มนี้" ชุดนี้ออกแบบโดยโทโมะ โคอิซูมิ[28] หลังจากที่เพลงชาติจบลง[27] มีพิธีการที่แสดงความอาลัยแก่บุคคลที่เสียชีวิตจากการระบาดทั่วของโควิด-19, แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮกุเมื่อปี 2011[23] และการสังหารหมู่ที่มิวนิกในปี 1972 หลังจากที่แสดงความไว้อาลัยแล้ว[11] นักแสดง มิราอิ โมริยามะ ได้ปรากฏตัวในชุดสีขาวเพื่อแสดงการเต้นบูโตที่กลางสนาม พร้อมกับการบรรเลงดนตรีที่ฟังดูเศร้าหมอง ก่อนที่ความเงียบจะเข้าครอบงำช่วงเวลาสำคัญช่วงหนึ่งของพิธีการ[29]

มรดกที่สืบทอดกันมา (A Lasting Legacy) แก้

มีการเปิดตัวสัญลักษณ์ห้าห่วงของกีฬาโอลิมปิกซึ่งทำขึ้นมาจากไม้ที่ปลูกในปี 1964 ซึ่งเป็นปีที่จัดโอลิมปิกฤดูร้อนที่โตเกียวครั้งก่อนหน้า หลังจากนั้นได้มีการแสดงเต้นแท็ปโดยนักแสดงที่สวมผ้าคลุมฮันเต็ง ซึ่งตามธรรมเนียมแล้ว ผ้าคลุมจะสวมใส่โดยช่างฝีมือและช่างไม้ในยุคเอโดะในช่วงเทศกาลฤดูร้อนของญี่ปุ่น[28][23] การแสดงนี้ถูกเรียกว่าเป็นการจำลองหมู่บ้านโอลิมปิก[27] หรือมัตสึริ สัญลักษณ์ห้าห่วงถูกนำแสดง รายล้อมไปด้วยโคมไฟกระดาษญี่ปุ่น[30]

ต่อมาได้มีการฉายวิดีโอที่มีการบันทึกไว้ก่อนแล้ว วิดีโอแสดงถึงมุฮัมมัด ยูนูสที่ได้รับรางวัลโอลิมปิกลอเรลที่บังกลาเทศ ทั้งนี้ ยูนูสไม่สามารถเดินทางไปร่วมพิธีเปิดที่ญี่ปุ่นได้เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางของบังกลาเทศ[31][32]

อยู่พร้อมหน้ากัน (Here Together) แก้

ขบวนพาเหรดแห่งชาติ แก้

 
ขบวนพาเหรดแห่งชาติของเอริเทรียในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020

ขบวนพาเหรดแห่งชาติซึ่งประกอบด้วยนักกีฬาตัวแทนของแต่ละประเทศเดินเข้าสู่สนาม[23] กรีซจะเป็นชาติแรกที่เดินเข้าสู่สนามตามธรรมเนียมโอลิมปิก ตามด้วยนักกีฬาจากประเทศที่เหลือ เรียงตามอักษรญี่ปุ่น (คานะ) แบบโกจูอง นับเป็นครั้งแรกที่เรียงลำดับด้วยระบบนี้เนื่องจากโอลิมปิกที่ญี่ปุ่นครั้งก่อนหน้าเรียงลำดับประเทศตามอักษรภาษาอังกฤษ[33] เจ้าภาพอย่างญี่ปุ่นจะเดินเข้าสู่สนามเป็นลำดับสุดท้ายตามธรรมเนียมโอลิมปิก

ทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัยเดินเข้าสู่สนามเป็นลำดับที่สองต่อจากกรีซ นี่เป็นครั้งแรกของพิธีเปิดที่ประเทศที่จะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งถัดไปอย่างสหรัฐ (2028) และฝรั่งเศส (2024) จะเดินเข้าสู่สนามเป็นลำดับรองสุดท้ายก่อนญี่ปุ่น[23] แทนที่จะเป็นลำดับที่ 7 และ 154 ตามลำดับอักษรญี่ปุ่น[34] ชื่อของประเทศจะถูกประกาศเป็นภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาทางการของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นภาษาของประเทศเจ้าภาพ

ป้ายที่แสดงชื่อประเทศเขียนด้วยอักษรภาษาญี่ปุ่นและอักษรภาษาอังกฤษ ซึ่งอยู่คนละด้านของป้าย ป้ายมีกรอบคำพูดล้อมรอบชื่อประเทศเพื่อแสดงถึงภาพในมังงะ[28] ในขณะที่ผู้ถือป้ายสวมชุดที่เป็นโทนมังงะ[24]

นักกีฬาที่เดินเข้าสู่สนามของแต่ละประเทศมีจำนวนน้อยกว่าปกติเมื่อเทียบกับโอลิมปิกครั้งที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐและออสเตรเลียมีนักกีฬาเดินเข้าสู่สนามเพียง 200 และ 63 คน จากเดิม 613 และ 472 คนตามลำดับ[35]

อาร์เจนตินา,[36] กานา[24] และอีกหลายชาติ ร้องเพลงชาติตอนเดินเข้าสู่สนาม บัญชีทวิตเตอร์ของโตเกียวเกมส์ลงรูปนักกีฬาชาวเอริเทรียคนหนึ่งนอนลงกับพื้น[37] ในขณะที่นักกีฬาคนอื่นต่างก้มมองดูโทรศัพท์ของตน[11] นักกีฬาจากรัสเซีย ซึ่งมีปัญหาในการตรวจสอบการใช้สารกระตุ้น ไม่สามารถใช้ชื่อประเทศและธงชาติรัสเซียได้ จึงใช้ชื่อและธงสัญลักษณ์คณะกรรมการโอลิมปิกรัสเซีย (ROC) แทน[38] ญี่ปุ่นสลับสีเครื่องแต่งกายจากที่พวกเขาเคยใส่ตอนพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 1964[39] ในขณะที่ฝรั่งเศส เดินเข้าสู่สนามโดยแบ่งเป็นสามแถวตามสีชุด เพื่อแสดงถึงธงไตรรงค์[40] พีตา เตาฟาโตฟัว ผู้เชิญธงชาติของตองงา และริโอ ริอิ ผู้เชิญธงชาติของวานูอาตู เดินเข้าสู่สนามโดยทาน้ำมันและถอดเสื้อ[35] นักกีฬาบางคนที่เป็นตัวแทนของคีร์กีซสถานและทาจิกิสถานและผู้เชิญธงชาติของปากีสถานเดินเข้าสู่สนามโดยไม่สวมหน้ากาก[41] มุฮัมมัด มาโซ นักกีฬาตัวแทนจากซีเรียได้กลับมาพบกับพี่ชายของเขา อะลา ซึ่งเป็นตัวแทนของทีมนักกีฬาผู้ลี้ภัย[42]

นี่เป็นครั้งแรกที่มีผู้เชิญธงชาติของแต่ละประเทศถึงสองคน แบ่งเป็นชายและหญิงเพศละหนึ่งคน เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศ[43]

ระหว่างที่นักกีฬาเดินเข้าสู่สนาม มีคำเตือนในสนามให้นักกีฬารักษาระยะห่างระหว่างกัน นับตั้งแต่ทางเข้าไปจนถึงห้องสุขา[24]

ระหว่างพาเหรดนั้น เจ้าภาพได้มีการนำดนตรีจากวิดีโอเกมญี่ปุ่นเปิดประกอบ ดังนี้[28][44][45][46][47]

คติพจน์ใหม่และการกล่าวคำปฏิญาณ แก้

ขบวนพาเหรดแห่งชาติสิ้นสุดลงพร้อมมีข้อความคติพจน์ "เร็วขึ้น สูงขึ้น แข็งแรงขึ้นด้วยกัน" (Faster, Higher, Stronger - Together) ฉายลงบนพื้นสนามระหว่างกลุ่มนักกีฬาที่ถูกแบ่งเป็นสี่ส่วนหลังจากที่พวกเขาเดินเข้ามา[23] ต่อมามีการแสดงข้อความของคริสตี คอเวนทรีเพื่อแนะนำคำปฏิญาณโอลิมปิกรูปแบบใหม่ ซึ่งมีจุดหมายเพื่อส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวและบทบาทของนักกีฬา ผู้ตัดสิน และผู้ฝึกสอนในฐานะผู้แทนประเทศ[48] คำปฏิญาณถูกกล่าวขึ้นโดยนักกีฬาตัวแทนจากโตเกียวทั้งหมด 6 คนว่า[49]

ข้าพเจ้าขอปฏิญาณตนว่าจะเข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกด้วยความเคารพและปฏิบัติตามกฎกติกา มีน้ำใจนักกีฬา ความเป็นหนึ่งเดียว และความเท่าเทียมกัน ข้าพเจ้าจะเล่นกีฬาด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ไม่มีการใช้สารกระตุ้น ไม่มีการฉ้อโกง และไม่มีการเลือกข้าง ข้าพเจ้าจะปฏิบัติตามเพื่อเกียรติยศของทีม ด้วยความเคารพในหลักการพื้นฐานของกีฬาโอลิมปิกและความต้องการให้โลกนั้นดีขึ้นด้วยการแข่งขันกีฬา

เพลงชาติ แก้

สนาม แก้

 
กรีฑาสถานแห่งชาติญี่ปุ่น

สนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่เป็นสนามกีฬาหลักในพิธีเปิด การรื้อถอนสนามกีฬาแห่งชาติเสร็จสมบูรณ์ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 การก่อสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่เริ่มขึ้นที่เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559 สนามกีฬาถูกส่งมอบไปยัง IOC เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เพื่อเตรียมการ หากโรคระบาดไม่เกิดขึ้น ความจุของสนามกีฬาระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกจะอยู่ที่ 60,102 ที่นั่ง รวมทั้งพื้นที่สำหรับสื่อมวลชนและที่นั่งผู้บริหาร[50]

เพลิง แก้

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ผู้จัดการแข่งขันกล่าวว่าแม้ว่ากระถางคบเพลิงโอลิมปิกจะถูกจุดและดับอย่างเป็นทางการที่สนามกีฬา แต่ในช่วงเวลานอกพิธีการดังกล่าว เพลิงจะถูกย้ายไปยังกระถางคบเพลิงที่แยกต่างหาก (เช่นเดียวกับโอลิมปิกปี 2010 และ 2016) ที่ริมแม่น้ำโตเกียว และย้ายเพลิงกลับมายังกรีฑาสถานแห่งชาติเพื่อทำพิธีปิด ผู้จัดงานอ้าง "ความยุ่งยากทางกายภาพ" ที่ไม่ระบุรายละเอียดในการรักษาคบเพลิงที่สนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่[51]

อ้างอิง แก้

  1. "Olympic Competition Schedule". 19 August 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2020. สืบค้นเมื่อ 1 December 2020.
  2. Panja, Tariq; Rich, Motoko (30 March 2020). "Summer Olympics in Tokyo to Start on July 23, 2021". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 1 December 2020.
  3. "Tokyo 2020 Olympics opening ceremony ticket price ceiling set at ¥288,000". The Japan Times. 15 May 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-09. สืบค้นเมื่อ 1 December 2020.
  4. "Japanese rush to buy Tokyo Olympic tickets on first day". USA TODAY. สืบค้นเมื่อ 1 December 2020.
  5. [1]
  6. Emperor to declare opening of Tokyo Games at ceremony
  7. "Naomi Osaka lights the cauldron". The New York Times. The New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 July 2021.
  8. Cascone, Sarah (23 July 2021). "A Look at the Artists and Artworks Behind the Extravagant Opening Ceremony of Tokyo's Olympic Games". Artnet. สืบค้นเมื่อ 24 July 2021.
  9. Mather, Victor (2021-07-23). "Here's what to expect during the opening ceremony". The New York Times. ISSN 1553-8095. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  10. Savage, Nic (17 July 2021). "Mystery surrounds performers for Olympic Games Opening Ceremony". News.com.Au. สืบค้นเมื่อ 19 July 2021.
  11. 11.0 11.1 11.2 "Naomi Osaka lights the cauldron". The New York Times. 2021-07-23. ISSN 1553-8095. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-30. สืบค้นเมื่อ 2021-07-30.
  12. "1. WHERE THE STORIES BEGIN". Tokyo 2020 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-25. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
  13. "2. APART BUT NOT ALONE". Tokyo 2020 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
  14. "3. A WELCOME FROM THE HOST". Tokyo 2020 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-25. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
  15. "4. A LASTING LEGACY". Tokyo 2020 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-25. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
  16. "5-2. HERE TOGETHER". Tokyo 2020 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-25. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
  17. "6. PEACE THROUGH SPORT". Tokyo 2020 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-31. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
  18. "7. LET THE GAMES BEGIN". Tokyo 2020 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
  19. "8. TIME TO SHINE". Tokyo 2020 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-31. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
  20. "9. HOPE LIGHTS OUR WAY". Tokyo 2020 (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-30. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
  21. Takenaka, Kiyoshi (2 July 2021). "True heroes in Tokyo will be medical workers, says pilot from 1964 Games". Reuters. สืบค้นเมื่อ 14 July 2021.
  22. NEWS, KYODO (23 July 2021). "IN PHOTOS: Japanese ASDF's Blue Impulse aerobatic team flies over Tokyo". Kyodo News. สืบค้นเมื่อ 24 July 2021.
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 23.5 23.6 23.7 Steen, Emma (2021-07-24). "In photos: 8 best moments from the Tokyo Olympics opening ceremony". Time Out. ISSN 0049-3910. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  24. 24.0 24.1 24.2 24.3 Gregory, Sean; Park, Alice; Chen, Aria (2021-07-23). "What You Didn't See on TV at the Tokyo Olympics Opening Ceremony". Time. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  25. 25.0 25.1 Chaney, Jen (2021-07-23). "Welcome to the 'What Are We Doing Here?' Olympics". Vulture. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  26. Lane, Barnaby (2021-07-23). "The Japanese boxer who opened the Tokyo Olympics was denied a chance to actually compete in the games because her qualifier was cancelled". Insider Inc. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  27. 27.0 27.1 27.2 Wong, Wilson (2021-07-23). "Tokyo Olympics opening ceremony features Naomi Osaka, blue humans and Tongan flag-bearer". NBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  28. 28.0 28.1 28.2 28.3 Steen, Emma (2021-07-24). "Explained: the Japanese symbolism you missed at the Tokyo Olympics opening ceremony". Time Out. ISSN 0049-3910. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  29. Belam, Martin (23 July 2021). "Eleven outstanding moments from the Olympic opening ceremony | Martin Belam". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 24 July 2021.
  30. Wharton, David (2021-07-23). "Tokyo opening ceremony clings to traditions on a backdrop of humility". Los Angeles Times. ISSN 2165-1736. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-28. สืบค้นเมื่อ 2021-07-30.
  31. "Bangladesh's Nobel laureate to become the second recipient of Olympic Laurel". 21 July 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-01. สืบค้นเมื่อ 2021-08-11.
  32. "Olympic Laurel Muhammad Yunus will not attend Tokyo 2020 Opening Ceremony".
  33. "Japanese language to determine order of Olympic parade of athletes". Mainichi Japan. 30 October 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-01. สืบค้นเมื่อ 2021-08-11.
  34. "U.S., France, Japan to march last in 2020 Parade of Nations". The Japan Times. 4 December 2019. สืบค้นเมื่อ 21 December 2019.
  35. 35.0 35.1 Ramsay, George (2021-07-23). "Catch up: Here's what happened at the Tokyo 2020 Opening Ceremony". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  36. Preti, Conz (2021-07-23). "The Argentine athletes brought the party to the Olympic opening ceremony". Insider Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  37. Davis, Scott (2021-07-23). "An Eritrean Olympian laid down on the ground during the marathon Olympic parade of nations". Insider Inc. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  38. Panja, Tariq (2021-07-26). "Russia Is Banned, Yet It's Everywhere at the Games". The New York Times. ISSN 1553-8095. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-30. สืบค้นเมื่อ 2021-07-30.
  39. Ajello, Erin (2021-07-24). "14 details you might've missed during the Tokyo 2020 opening ceremony". Insider Inc. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  40. Rabimov, Stephan (2021-07-23). "Olympics 2021: The Most Stylish Uniforms From The Tokyo Games". Forbes. ISSN 0015-6914. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  41. "Mask-shy Kyrgyzstan, Tajikistan rain on COVID-compliant opening parade". Reuters. 2021-07-23. สืบค้นเมื่อ 2021-07-25.
  42. "Syrian athlete brothers separated by war hug at Tokyo Olympics Opening Ceremony". Arab News. 25 July 2021.
  43. Grohmann, Karolos (4 March 2020). "IOC to allow male/female flagbearers at Tokyo Games". Reuters.
  44. "ドラクエ、FF、モンハン日本生まれのゲーム音楽で選手入場/使用曲一覧 – 東京オリンピック2020 : 日刊スポーツ". Nikkan Sports. 23 July 2021. สืบค้นเมื่อ 23 July 2021.
  45. McWhertor, Michael (2021-07-23). "The Olympic opening ceremony was full of video game music". Polygon. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  46. Park, Gene (July 23, 2021). "The music for the Tokyo Olympics Opening Ceremonies? It comes from video games". Washington Post. สืบค้นเมื่อ July 27, 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  47. Baker, Danica (24 July 2021). "Here's all the video game music played at the Tokyo Olympics opening ceremony". The Brag. สืบค้นเมื่อ 27 July 2021.
  48. Palmer, Dan (23 July 2021). "Tokyo 2020 Olympic Games: Opening Ceremony". Inside the Games. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
  49. Tapp, Tom (15 July 2021). "Olympic Oath Changed To Highlight Inclusion, Non-Discrimination And Equality For Tokyo Games' Opening Ceremony". Deadline. สืบค้นเมื่อ 31 July 2021.
  50. "技術提案等審査委員会". www.jpnsport.go.jp.
  51. Rowbottom, Mike (18 December 2018). "Tokyo 2020 confirms it will use Olympic flame cauldrons in stadium and on the waterfront". insidethegames.biz.