พิทาวาสแตติน (Pitavastatin; โดยทั่วไปอยู่ในรูปแบบเกลือแคลเซียม) เป็นยาในกลุ่มยาลดไขมันในกระแสเลือดกลุ่มสแตติน[1][2] ซึ่งวางขายในตลาดประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้ชื่อการค้า ลิวาโล (Livalo)  ซึ่งพิทาวาสแตตินนี้มีกลไกการออกฤทธิ์เช่นเดียวกันกับยากลุ่มสแตตินชนิดอื่นๆ คือ ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ HMG-CoA reductase ซึ่งเป็นเอนไซม์ตัวเร่งปฏิกิริยาตัวแรกในขั้นตอนของกระบวนการการสร้างคอเลสเตอรอล[2][3] นอกจากนี้พิทาวาสแตตินยังถูกใช้เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยป้องกันไม่ให้เกิดการแตกหรือฉีกขาดของคราบไขมันที่เกาะอยู่บนผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดกั้นตามเส้นเลือด และทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ในที่สุด

พิทาวาสแตติน
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าLivalo
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa610018
ข้อมูลทะเบียนยา
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: D
  • US: X (มีอันตราย)
ช่องทางการรับยาการรับประทาน
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล60%
การจับกับโปรตีน96%
การเปลี่ยนแปลงยาCYP2C9 เล็กน้อย
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ11 ชั่วโมง
การขับออกอุจจาระ
ตัวบ่งชี้
  • (3R,5S,6E) -7-[2-cyclopropyl-4- (4-fluorophenyl) quinolin-3-yl]-3,5-dihydroxyhept-6-enoic acid
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
ChemSpider
UNII
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.171.153
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC25H24FNO4
มวลต่อโมล421.461 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • O=C (O) C[C@H](O) C[C@H](O)/C=C/c1c (c3ccccc3nc1C2CC2) c4ccc (F) cc4
  • InChI=1S/C25H24FNO4/c26-17-9-7-15 (8-10-17) 24-20-3-1-2-4-22 (20) 27-25 (16-5-6-16) 21 (24) 12-11-18 (28) 13-19 (29) 14-23 (30) 31/h1-4,7-12,16,18-19,28-29H,5-6,13-14H2, (H,30,31)/b12-11+/t18-,19-/m1/s1 checkY
  • Key:VGYFMXBACGZSIL-MCBHFWOFSA-N checkY
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

พิทาวาสแตตินมีจำหน่ายครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 จากนั้นมีการขยายฐานการตลาดออกไปในประเทศเกาหลีใต้และอินเดียในเวลาต่อมาไม่นานนัก[4] โดยคาดว่ายาชนิดนี้อาจจะได้รับการรับรองให้มีการใช้ในประเทศต่างๆนอกเหนือจากประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน[5] สำหรับในสหรัฐอเมริกานั้น พิทาวาสแตตินได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (Food and Drug Administration; FDA) ในปี ค.ศ. 2009[3][6] โดยมีบริษัท โควะ ฟาร์มาซิวติคอลส์ (Kowa Pharmaceuticals) เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การผลิตและจัดจำหน่ายยาพิทาวาสแตตินในสหรัฐอเมริกา[6]

ข้อบ่งใช้ แก้

เช่นเดียวกันกับยากลุ่มสแตตินชนิดอื่นๆ พิทาวาสแตตินมีข้อบ่งใช้สำหรับภาวะที่มีระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดสูง (hypercholesterolaemia) และใช้เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ (cardiovascular disease)[2][3]

ในปี ค.ศ. 2009 การศึกษาทางคลินิกที่มีชื่อว่า "LIVES" ซึ่งทำการศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับพิทาวาสแตตินมากถึง 20,000 คน เพื่อประเมินถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาดังกล่าวหลังจากการวางตลาด โดยติดตามเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 104 สัปดาห์ พบว่า พิทาวาสแตตินมีผลเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูง (High density lipoprotein cholesterol; HDL-C) และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride; TG) ในกระแสเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีระดับ HDL-C ต่ำกว่า 400 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งจะมีระดับ HDL-C เพิ่มขึ้นได้มากถึง 24.6% จากค่า HDL-C พื้นฐานเดิมของผู้ป่วย และมีการลดลงของ TG เฉลี่ย 19.9% จากค่า TG พื้นฐานเดิมของผู้ป่วย นอกจากนี้แล้ว ยังพบว่าพิทาวาสแตตินมีความสัมพันธ์กับการลดลงของระดับคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำ (Low density lipoprotein cholesterol; LDL-C) ในกระแสเลือดลงได้มากถึง 29.1% จากค่า LDL-C พื้นฐานเดิมของผู้ป่วย หลังจากระยะเวลา 4 สัปดาห์นับจากเริ่มการรักษา[7][8] โดยระดับ HDL-C ที่เพิ่มขึ้นนี้สามารถพบการเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยที่เปลี่ยนจากสแตตินชนิดอื่นมาเป็นพิทาวาสแตติน[8] สอดคล้องกับการศึกษาเชิงสังเกตที่มีชื่อว่า CIRCLE observational study ซึ่งทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยากลุ่มสแตตินชนิดต่างๆ ทำการศึกษาในผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นจำนวน 743 คน ในช่วง ค.ศ. 2001-2008 โดยติดตามผู้ป่วยที่ได้รับยาพิทาวาสแตตินเป็นระยะเวลา 70 เดือน พบว่ายาดังกล่าวสามารถเพิ่มระดับ HDL-C ได้มากกว่าอะโทวาสแตติน และเป็นยากลุ่มสแตตินเพียงชนิดเดียวที่สามารถเพิ่มระดับ HDL-C ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาสแตติน ส่วนผลการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั้นพบว่าพิทาวาสแตตินมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบกับยากลุ่มสแตตินชนิดอื่นๆ[9][10] 

ส่วนผลของพิทาวาสแตตินต่อระดับน้ำตาลในเลือดนั้นอาจส่งผลดีต่อการควบคุมระดับในเลือดของผู้ป่วย ดังนั้นพิทาวาสแตตินจึงดูเหมือนว่ามีความเหมาะสมที่จะใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคทางเมทาบอลิค อย่างเช่น โรคเบาหวาน ร่วมกับมีระดับ LDL-C ที่สูงแต่มีระดับ HDL-C ในเลือดต่ำ โดยผลการวิเคราะห์แบบกลุ่มย่อยของการศึกษา  "LIVES" ที่ได้กล่าวไปดังข้างต้นพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้พิทาวาสแตตินเป็นระยะเวลาต่อเนื่องมีการลดลงของระดับ HbA1C และมีการเพิ่มขึ้นของ eGFR อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรังร่วมด้วย[8]

อาการไม่พึงประสงค์ แก้

อาการไม่พึงประสงค์ทั่วไปที่มีความสัมพันธ์กับการใช้ยากลุ่มสแตติน เช่น ปวดศีรษะ, คลื่นไส้, อาเจียน, ผลการตรวจเอนไซม์ตับผิดปกติ และเกิดตะคริวได้ เช่นเดียวกันกับพิทาวาสแตตินที่เกิดอาการข้างเคียงเหล่านี้ได้เช่นกัน[2] และเนื่องจากพิทาวาสแตตินนั้นละลายในน้ำได้ดีซึ่งแตกต่างไปจากยาในกลุ่มสแตตินชนิดอื่นซึ่งส่วนใหญ่มักละลายในไขมันได้ดี ทำให้ดูเหมือนพิทาวาสแตตินว่าจะมีอาการข้างเคียงต่อกล้ามเนื้อน้อยกว่ายาชนิดอื่นๆในกลุ่มเดียวกัน[11] มีการศึกษาทางคลินิกที่ผ่านมาค้นพบว่าโคเอนไซม์คิวเท็น (coenzyme Q10) ในผู้ที่ใช้พิทาวาสแตตินนั้นไม่ได้ลดลงมากเท่ากับผู้ที่ใช้ยาอื่นในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งการลดลงของโคเอนไซม์คิวเท็นดังข้างต้นนั้นมักมีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการข้างเคียงทางกล้ามเนื้อในกลุ่มผู้ที่ใช้ยาสแตตินในระยะยาว [5][12]

 
ลำดับการค้นพบยากลุ่มสแตติน

ในทางตรงกันข้าม พิทาวาสแตตินนั้นดูเหมือนว่าจะมีส่วนช่วยในการปรับสมดุลของระดับน้ำตาลในกระแสเลือดให้ดีขึ้นได้ ซึ่งแตกต่างจากยาสแตตินชนิดอื่นๆ[8]

นอกจากนี้แล้ว ยังพบรายงานการเกิดภาวะกรดยูริกในกระแสเลือดสูง (Hyperuricemia) ในผู้ที่ใช้พิทาวาสแตตินอีกด้วย[13]

การเปลี่ยนแปลงยาในร่างกาย และการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา แก้

ยากลุ่มสแตตินโดยส่วนใหญ่นั้นมักถูกเปลี่ยนแปลงในร่างกายโดยกลุ่มเอนไซม์ Cytochrome P450 ที่ตับ โดยแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดของยา และเนื่องด้วยยาชนิดอื่นส่วนใหญ่ก็มักเกิดถูกเปลี่ยนแปลงโดยกลุ่มเอนไซม์ดังกล่าวในร่างกายเช่นกัน ดังนั้นจึงทำให้ยากลุ่มสแตตินนี้สามารถเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับยาชนิดอื่นๆได้มาก รวมไปถึงการเกิดอันตรกิริยากับอาหารบางชนิด เช่น grapefruit juice แต่พิทาวาสแตตินมีข้อแตกต่างไปจากยาสแตตินชนิดอื่น คือ ยาดังกล่าวเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเอนไซม์ CYP2C9 เป็นหลัก ขณะที่สแตตินชนิดอื่นนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ CYP3A4 เป็นหลัก (เอนไซม์ CYP3A4 ที่ตับนั้นทำหน้าที่ในการเปลี่ยนแปลงยาหลายชนิด ซึ่งมากกว่า 80% ของยาที่มีในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายโดยเอนไซม์นี้) ทำให้พิทาวาสแตตินมีโอกาสที่จะเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาได้น้อยกว่ายาอื่นในกลุ่มเดียวกัน ดังนั้นพิทาวาสแตตินอาจมีความสำคัญในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคหลายชนิด ซึ่งต้องรับประทานยาหลายชนิดตามไปด้วย (การรับประทานยาหลายชนิดร่วมกัน ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยามากขึ้น)[2][5]

ประวัติการค้นพบ แก้

พิทาวาสแตติน (หรือที่รู้จักกันก่อนหน้านี้ในชื่อ ไอทาวาสแตติน (itavastatin), ไอทาบาวาสแตติน (itabavastin), นิสวาสแตติน (nisvastatin), เอ็นเค-104 (NK-104) หรือ เอ็นเคเอส-104 (NKS-104) ถูกค้นพบในประเทศญี่ปุ่นโดยบริษัท นิสสัน เคมิคอล อินดัสทรีส์ (Nissan Chemical Industries) และต่อมาถูกพัฒนาโดยบริษัทยาในโตเกียวที่มีชื่อว่า โควะ ฟาร์มาซูติคอลส์ (Kowa Pharmaceuticals)[5] พิทาวาสแตตินได้รับการรับรองให้ใช้ในสหรัฐอเมริกาโดยองค์การและยาเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 2009 ภายใต้ชื่อการค้า ลิวาโล (Livalo)[3][6] และได้รับการรับรองจาก องค์การควบคุมยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (Medicines and Healthcare products Regulatory Agency: MHRA) ของสหราชอาณาจักรในวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 2010[14][15]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Kajinami, K; Takekoshi, N; Saito, Y (2003).
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Lacy FC, Armstrong LL, Goldman PM, Lance LL, editors. Drug Information Handbook with international trade name index. 18th edition, New Tork, Lexi-Comp®, 2014, p. 585-588, ISBN 978-1-59195-255-8
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Dariche Nehdi (July 12, 2012). "The Seventh Statin—Pitavastatin, Part 1: Clinical Studies". Cultu rEbene. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015.
  4. "Zydus Cadila launches pitavastatin in India". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-26. สืบค้นเมื่อ 2015-12-09.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Mukhtar, R. Y. A.; Reid, J.; Reckless, J. P. D. (2005).
  6. 6.0 6.1 6.2 U.S. Food and Drug Administration (April 4, 2013). "FDA Approves New Cholesterol-Lowering Drug". สืบค้นเมื่อ December 10, 2015.
  7. "Effects of pitavastatin (LIVALO Tablet) on high density lipoprotein cholesterol (HDL-C) in hypercholesterolemia". J Atheroscler Thromb. 16: 654–61. Oct 2009. doi:10.5551/jat.1719. PMID 19907105.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Teramoto, T. (2011). "Pitavastatin: clinical effects from the LIVES Study". Atheroscler Suppl. 12 (3): 285–288.
  9. Maruyama, T.; Takada, M.; Nishibori, Y.; Fujita, K.; Miki, K.; Masuda, S.; Horimatsu, T.; Hasuike, T. (2011). "Comparison of preventive effect on cardiovascular events with different statins. -The CIRCLE study-". Circ J. 75 (8): 1951–9. doi:10.1038/sj.clpt.6100396. PMID 21673458.
  10. "Pitavastatin in cardiometabolic disease: therapeutic profile". Cardiovasc Diabetol. 12 Suppl 1: S2. May 30, 2013. doi:10.1186/1475-2840-12-S1-S2. PMID 23819752.
  11. ScienceDaily (11 May 2013). "Alternative Cholesterol-Lowering Drug for Patients Who Can't Tolerate Statins". ScienceDaily.
  12. Kawashiri, MA; Nohara, A; Tada, H; Mori, M; Tsuchida, M; Katsuda, S; Inazu, A; Kobayashi, J; Koizumi, J; Mabuchi, H; Yamagishi, M (May 2008). "Comparison of effects of pitavastatin and atorvastatin on plasma coenzyme Q10 in heterozygous familial hypercholesterolemia: results from a crossover study". Clin Pharmacol Ther. 83 (5): 731–9. doi:10.1038/sj.clpt.6100396. PMID 17957184.
  13. Ogata, N.; Fujimori, S.; Oka, Y.; Kaneko, K. (2010). "Effects of Three Strong Statins (Atorvastatin, Pitavastatin, and Rosuvastatin) on Serum Uric Acid Levels in Dyslipidemic Patients". Nucleosides, Nucleotides and Nucleic Acids. 29 (4–6): 321. doi:10.1080/15257771003741323.
  14. PRNewswire (August 17, 2010). "Kowa Announces First EU Marketing Authorisation for Pitavastatin Granted in the UK". PRNewswire.com. สืบค้นเมื่อ December 10, 2015.
  15. Kowa Pharmaceuticals Europe (November, 2013). "PITAVASTATIN" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ December 9, 2015. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้