พิคาชู

สายพันธุ์โปเกมอน มาสคอตของแฟรนไชส์โปเกมอน สิ่งมีชีวิตขนสีเหลืองมีหางแหลม
(เปลี่ยนทางจาก พิกะจู)

พิคาชู[1] (ญี่ปุ่น: ピカチュウโรมาจิPikachū; ภาษาอังกฤษ: /ˈpkə/) เป็นสายพันธุ์ของโปเกมอน โปเกมอนเป็นสิ่งมีชีวิตในบันเทิงคดีที่ปรากฏในวิดีโอเกม รายการโทรทัศน์และภาพยนตร์แอนิเมชัน การ์ดเกม และหนังสือการ์ตูน เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทญี่ปุ่น เดอะโปเกมอนคอมพานี พิคาชูเป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายหนูสีเหลือง มีความสามารถพิเศษเกี่ยวกับไฟฟ้า ในอนิเมะและวิดีโอเกม ตัวละครพากย์เสียงโดยอิกุเอะ โอตะนิ พิคาชูยังปรากฏเป็นตัวละครหลักในภาพยนตร์แอนิเมชันฉบับคนแสดงเรื่อง โปเกมอน ยอดนักสืบพิคาชู รับบทและพากย์เสียงโดยไรอัน เรย์โนลส์

พิคาชู
ตัวละครใน ซีรีส์ โปเกมอน
ปรากฏครั้งแรกโปเกมอน เรด และ บลู (1996)
ออกแบบโดยอัตสึโกะ นิชิดะ และ เค็ง ซูงิโมริ
แสดงโดยเจนนิเฟอร์ ริสเซอร์ (โปเกมอนไลฟ์!)
เสียงอังกฤษ
อังกฤษ

พิคาชูออกแบบโดยอะสึโกะ นิชิดะ และตรวจทานโดยเค็ง ซูงิโมริ พิคาชูปรากฏครั้งแรกในเกมเกมโปเกมอนเรดและกรีน และต่อมาปรากฏในเกมโปเกมอน เรดและบลู ซึ่งเป็นเกมแรกในชุดโปเกมอนที่วางจำหน่ายทั่วโลก สำหรับเครื่องเกมบอยรุ่นแรก

มนุษย์จับและฝึกฝนพิคาชูเพื่อต่อสู้โปเกมอนตัวอื่นเป็นการแข่งขัน เช่นเดียวกับโปเกมอนสายพันธุ์อื่น ๆ พิคาชูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดตัวหนึ่ง เหตุเพราะพิคาชูเป็นตัวละครหลักในอนิเมะเรื่องโปเกมอน พิคาชูถือว่าเป็นตัวละครหลัก และการ์ตูนสัญลักษณ์ของแฟรนไชส์โปเกมอน และกลายเป็นสัญรูปในวัฒนธรรมสมัยนิยมญี่ปุ่นเมื่อช่วงหลายปีที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้

แนวคิดและการออกแบบ แก้

ซีรีส์โปเกมอนเริ่มขึ้นใน ค.ศ. 1996 พัฒนาโดยเกมฟรีก และจำหน่ายโดยนินเทนโด และนำเสนอสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ เรียกว่า "โปเกมอน" ผู้เล่น หรือ "เทรนเนอร์" สามารถจับมาเลี้ยง ฝึกฝน และใช้ต่อสู้กับโปเกมอนของคนอื่น หรือมีปฏิสัมพันธ์กับโลกของเกม[2][3] พิคาชูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่ออกแบบหลายครั้งโดยทีมพัฒนาตัวละครของบริษัทเกมฟรีก ศิลปินชื่อ อะสึโกะ นิชิดะ เป็นบุคคลหลักที่ออกแบบพิคาชู[4][5] ซึ่งต่อมาได้ตรวจทานโดยเค็น ซุงิโมะริ[6][7] จากคำกล่าวของผู้ผลิตซีรีส์ ซาโตชิ ทะจิริ ชื่อมาจากเสียงภาษาญี่ปุ่นสองเสียงผสมกัน ระหว่าง pika เสียงของประกายไฟฟ้า และ chu เสียงร้องของหนู[8] แม้ว่าที่มาของชื่อเป็นเช่นนั้น แต่นิชิดะออกแบบพิคาชูรุ่นที่ 1 อ้างอิงกระรอก โดยเฉพาะแก้ม[9] จูนิชิ มาซุดะ นักพัฒนากล่าวว่า ชื่อของพิคาชูเป็นหนึ่งในโปเกมอนที่สร้างยากที่สุด เนื่องจากเขาพยายามทำให้ดึงดูดทั้งผู้ชมชาวญี่ปุ่นและชาวอเมริกัน[10]

เมื่อยืนตรง พิคาชูจะสูง 1 ฟุต 4 นิ้ว (0.4 เมตร) พิคาชูเป็นโปเกมอน "ประเภทไฟฟ้า" ตัวแรกที่ถูกสร้างขึ้น การออกแบบตั้งใจจะให้เกี่ยวพันกับแนวคิดเรื่องไฟฟ้า[11] พิคาชูเป็นสิ่งมีชีวิตคล้ายหนูไพกา มีขนสั้นสีเหลือง มีแต้มสีน้ำตาลปกคลุมแผ่นหลังและบางส่วนของหางรูปสายฟ้า มีหูแหลมแต้มด้วยสีดำ และถุงเก็บกระแสไฟฟ้าสีแดงอยู่ที่แก้มสองข้าง สามารถสร้างประกายไฟได้[12] ในโปเกมอน ไดมอนด์ และ เพิร์ล นำเสนอความแตกต่างตามเพศเป็นครั้งแรก พิคาชูเพศเมียจะมีรอยเว้าที่ปลายหางเป็นรูปหัวใจ พิคาชูจะจู่โจมโดยใช้ไฟฟ้าจากร่างกายพุ่งไปสู่คู่ต่อสู้ ในบริบทของแฟรนไชส์ พิคาชูสามารถเปลี่ยนร่าง หรือ "พัฒนาร่าง" (evolve) เป็นไรชู เมื่อประสบกับหินสายฟ้า (Thunderstone) ในซีรีส์ต่อมา ร่างพัฒนาก่อนหน้าเกิดขึ้นครั้งแรก ชื่อว่า "พีชู" (Pichu) ซึ่งจะพัฒนาเป็นพิคาชูหลังจากมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเทรนเนอร์

เดิมทีโปเกมอนที่ถูกเลือกให้เป็นตัวละครหลักของสินค้าในแฟรนไชส์คือพิคาชู และปิปปี (Clefairy) ซึ่งปิปปีเป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ที่ทำให้หนังสือการ์ตูน "มีเสน่ห์" (engaging) ขึ้น แม้กระนั้น ในการผลิตซีรีส์แอนิเมชัน พิคาชูกลายเป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ เพื่อต้องการดึงดูดเหล่าผู้ชมเพศหญิงและแม่ของพวกเขา ภายใต้ความเชื่อว่าเขาสร้างสิ่งมีชีวิตให้เป็นภาพทดแทนสัตว์เลี้ยงให้กับเด็ก ๆ สีตัวพิคาชูก็เป็นหนึ่งในปัจจัย เนื่องจากสีเหลืองเป็นแม่สี และเด็ก ๆ มองเห็นง่ายจากระยะไกล และคู่แข่งเดียวที่เป็นการ์ตูนสัญลักษณ์สีเหลืองเหมือนกันในเวลานั้นคือ วินนี่-เดอะ-พูห์ เท่านั้น[13] แม้ว่าทะจิริจะรู้ว่าตัวละครได้รับความนิยมจากทั้งเด็กชายและเด็กหญิง แต่เขาไม่ได้เป็นเจ้าของแนวคิดที่ว่าจะให้พิคาชูเป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ ทางบริษัทมีส่วนในการสร้างซีรีส์อนิเมะ บริษัทโอแอลเอ็มแนะนำเกมฟรีกให้ใช้ศักยภาพของพิคาชูให้เป็นประโยชน์ และกล่าวว่าเขารู้สึกว่าเด็ก ๆ ชาวญี่ปุ่นที่ชื่นชอบพิคาชู ไม่ได้สนใจมุมมองของคนที่มีต่อซีรีส์อยู่แล้ว[14] เดิมพิคาชูจะมีร่างวิวัฒนาการร่างที่สองชื่อ โกโรชู ตั้งใจจะให้พัฒนาจากไรชู[15][16]

การปรากฏตัว แก้

ในวิดีโอเกม แก้

ในวิดีโอเกม พิคาชูเป็นโปเกมอนระดับล่าง ปรากฏในเกมในธรรมชาติทุกภาคยกเว้นภาคแบล็ก และ ไวต์ ซึ่งต้องแลกเปลี่ยนเท่านั้น[17] โปเกมอน เยลโลว์จะมีพิคาชูเป็นโปเกมอนเริ่มต้นเพียงตัวเดียว และอิงจากพิคาชูในอนิเมะ พิคาชูจะไม่ยอมเข้ามอนสเตอร์บอลหรือโปเกบอล แต่จะเดินตามตัวละครหลักบนหน้าจอแทน เทรนเนอร์สามารถพูดคุยกับมันและมันจะแสดงปฏิกิริยาต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู[18] โปเกมอน เยลโลว์ มีเนื้อเรื่องตามอย่างซีรีส์อนิเมะ โดยมีพิคาชูเป็นศูนย์กลางของเกม[19]

ในโปเกมอนภาคเอเมอรัลด์ พิคาชูและสายวิวัฒนาการจะมีท่า โวลต์แทกเคิล (Volt Tackle) เป็นท่าลายเซ็น เรียนรู้จากพิชูที่ฟักจากไข่ที่เกิดจากพิคาชูหรือไรชูที่ถือไลต์บอล หรือเรียนรู้จากอีเวนต์และครูสอนท่า ณ อีเวนต์ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 อนุญาตให้ผู้เล่นโปเกมอนฮาร์ตโกลด์ และโซลซิลเวอร์ เข้าไปในเส้นทางผ่านเครื่องโปเกวอล์กเกอร์ ซึ่งจะมีพิคาชูที่จดจำท่าโจมตีที่ปกติจะไม่สามารถจดจำได้ นั่นคือ โต้คลื่น (Surf) และ บินโฉบ (Fly) [20] ทั้งสองท่านี้เป็นตัวช่วยเดินทาง สามารถใช้นอกการต่อสู้ได้ พิคาชูสวมหมวกแก๊ปเจ็ดแบบ ซึ่งเป็นหมวกแก๊ปของซาโตชิ ตัวเอกจากอนิเมะตลอดซีซัน จำหน่ายกับเกมโปเกมอนภาคซันและมูน และโปเกมอนภาคอัลตราซันและอัลตรามูน[21] เกมยังออกซีคริสตัลสองชิ้น ออกพิเศษสำหรับพิคาชู มีชื่อว่า พิคาเนียม ซี ซึ่งอัปเกรดท่าโวลต์แทกเคิลเป็นคาทาสโตรพิกา (Catastropika) และพิคาชูเนียม ซี[22] ซึ่งอัปเกรดท่าธันเดอร์โบลต์ เป็นท่า ธันเดอร์โบลต์ 10,000,000 โวลต์ เมื่อให้พิคาชูสวมหมวกแก๊ปถือไว้

นอกจากซีรีส์หลักของเกมแล้ว พิคาชูยังปรากฏในเกม เฮย์ยูพิคาชู บนเครื่องนินเทนโด 64[23] ผู้เล่นสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับพิคาชูผ่านไมโครโฟน ออกคำสั่งให้เล่นมินิเกมต่าง ๆ และแสดงความคิดในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ เกมโปเกมอนแชนเนลก็เกี่ยวข้องกับการปฏิสัมพันธ์กับพิคาชูเช่นกัน แต่ไม่ใช้ไมโครโฟน[24] พิคาชูปรากฏในทุกด่านของเกมโปเกมอนสแนป ซึ่งผู้เล่นจะต้องถ่ายภาพโปเกมอนเพื่อเก็บคะแนน พิคาชูเป็นหนึ่งใน 16 โปเกมอนเริ่มต้น และ 10 คู่หูในเกมโปเกมอนมิสเตอรีดันเจียน พิคาชูยังเป็นตัวละครหลักในเกมโปเกปาร์กวี: พิคาชูส์แอดเวนเชอร์[25] และปรากฏเป็นตัวละครที่เล่นได้ในเกมซูเปอร์สแมชบราเธอส์ ทั้งหมดห้าเกม[26] โปเกมอนเป็นตัวละครของโพรโตคอลอะมีโบ (Amiibo) ด้วย พิคาชูเป็นตัวละครที่เล่นได้ในเกมโพกเคนทัวร์นาเมนต์ ร่วมกับ "พิคาชู ลิเบร" ยึดจาก "คอสเพลย์พิคาชู" จากภาคโอเมการูบี และอัลฟาแซฟไฟร์[27][28] เกม ดีเท็กทิฟพิคาชู เสนอพิคาชูในบทบาทนักสืบและช่วยไขปริศนา[29]

โปเกมอน เล็ตส์โกพิคาชู! และเล็ตส์โกอีวุย! สร้างตามแบบภาคเยลโลว์ มีพิคาชูเป็นหนึ่งในโปเกมอนเริ่มต้น โดยอีกภาคใช้อีบุยแทน[30]

ในอนิเมะ แก้

ซีรีส์อนิเมะและภาพยนตร์โปเกมอนนำเสนอการเดินทางของซาโตชิ หรือแอช เค็ตชัม (Ash Ketchum) ไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ในจักรวาลโปเกมอน เขาเดินทางพร้อมกับกลุ่มเพื่อนร่วมทางที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ได้แก่ คาสึมื ทาเคชิ เค็นจิ ฮารุกะ มาซาโตะ ฮิคาริ ไอริส เด็นโตะ ยูเรกะ เซเรนา และซิตรอน

ในตอนแรก เด็กชายจากเมืองมาซาระ อายุครบ 10 ปีและพร้อมที่จะได้รับโปเกมอนตัวแรก เนื่องจากตั้งใจจะเป็นโปเกมอนมาสเตอร์ คืนก่อนที่เขาได้รับโปเกมอนเริ่มต้น (เซนิกาเมะ ฮิโตะคาเงะ หรือฟุชิงิดาเนะ ตัวใดตัวหนึ่ง) เขาฝันว่าได้รับโปเกมอนและละเมอทำลายนาฬิกาปลุกของเขา ซาโตชิวิ่งไปที่ห้องทดลองของศาสตราจารย์ออคิโด ซึ่งพบว่าโปเกมอนเริ่มต้นถูกแจกให้คนอื่นไปแล้ว ศาสตราจารย์ออคิโดบอกซาโตชิว่ายังมีโปเกมอนเหลืออยู่ตัวหนึ่ง คือ พิคาชู เพศผู้ ทีแรก พิคาชูดื้อและไม่เชื่อฟังซาโตชิ ปล่อยกระแสไฟฟ้าใส่เขาบ่อยครั้งและไม่ยอมเข้าไปอยู่ในมอนสเตอร์บอลเหมือนกับโปเกมอนตัวอื่น ๆ แม้กระนั้น ซาโตชิเสี่ยงชีวิตตัวเองเพื่อปกป้องพิคาชูจากฝูงโอนิซุซุเมะ[31] จากนั้นรีบพาพิคาชูไปรักษาตัวที่โปเกมอนเซ็นเตอร์ เนื่องจากซาโตชิสาธิตความเชื่อถือและความมุ่งมั่นแบบไร้เงื่อนไขต่อโปเกมอน พิคาชูจึงเริ่มใส่ใจซาโตชิ และมิตรภาพระหว่างเขาก็เกิดขึ้น แต่พิคาชูยังคงไม่ยอมเข้าไปอยู่ในมอสเตอร์บอล หลังจากนั้นไม่นานพิคาชูแสดงพลังยิ่งใหญ่ซึ่งโดดเด่นจากโปเกมอน หรือแม้แต่พิคาชูตัวอื่น ทำให้ทีมร็อกเก็ตพยายามแย่งชิงตัวพิคาชูเพื่อสนองความต้องการของหัวหน้าซาคากิให้ได้[32] ครั้งหนึ่ง ซาโตชิเกือบปล่อยตัวพิคาชู ในตอน Pikachu's Goodbye เพราะซาโตชิคิดว่าพิคาชูคงจะมีความสุขมากกว่าถ้าได้อยู่กับฝูงพิคาชูป่า แต่พิคาชูเลือกที่จะอยู่กับเขาแทน[33] พิคาชูยังปรากฏในช่วงพิเศษในสองซีซันแรก เรียกว่า "พิคาชูส์จูกบอกซ์" ซึ่งมีเพลงจากอัลบั้ม 2.บี.เอ.มาสเตอร์ ด้วย

ในซีรีส์ยังมีพิคาชูป่า และพิคาชูที่มีเจ้าของตัวอื่นด้วย มักจะมีบทบาทร่วมกับซาโตชิและพิคาชูของเขาด้วย ที่โดดเด่นคือพิคาชูของฮิโรชิ ชื่อสปาร์กี[34] พิคาชูสื่อสารกันด้วยการพูดคำจากชื่อตัวเอง เหมือนกับโปเกมอนส่วนใหญ่ ในอนิเมะ ผู้ให้เสียงพิคาชูคืออิคูเอะ โอตานิ ในโปเกมอนไลฟ์ ที่เป็นละครเพลงเวทีที่ดัดแปลงจากอนิเมะ ผู้รับบทเป็นพิคาชูคือ เจนนิเฟอร์ ริสเซอร์

ในภาพยนตร์ แก้

ตัวละคร ยอดนักสืบพิคาชู พากย์เสียงโดยไรอัน เรย์โนลส์ ในภาพยนตร์ โปเกมอน ยอดนักสืบพิคาชู ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2019

ในสื่ออื่น แก้

พิคาชูเป็นหนึ่งในโปเกมอนหลักในซีรีส์มังงะโปเกมอนหลายซีรีส์ ในโปเกมอนสเปเชียล ตัวละครหลัก เรดโดะ และอิเอะโระ ทั้งคู่ต่างเลี้ยงพิคาชู เกิดเป็นไข่ซึ่งโกรุโดะฟักออกมาเป็นพีชู ในซีรีส์อื่น เช่น เมจิคัลโปเกมอนเจอร์นีย์ และเก็ตโตดาเซ นำเสนอพิคาชูเช่นกัน ขณะที่ในมังงะซีรีส์อื่น เช่น อิเล็กทริกเทลออฟพิคาชู[35] และ แอชแอนด์พิคาชู นำเสนอพิคาชูของซาโตชิตัวเดียวกับในอนิเมะ[35]

การ์ดสะสมที่มีรูปพิคาชูปรากฏขึ้นมาในโปเกมอนเทรดดิงการ์ดเกมรุ่นแรก ออกจำหน่ายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1996 รวมถึงการ์ดรุ่นที่มีจำกัดด้วย พิคาชูยังถูกนำไปใช้ส่งเสริมสินค้าร้านอาหารจานด่วนต่าง ๆ เช่น แมคโดนัลด์ เวนดีส์ และเบอร์เกอร์คิง ด้วย[36][37][38][39]

การส่งเสริมและอนุสรณ์ แก้

 
รถยนต์โตโยต้า อิสต์ ลายคล้ายพิคาชู
 
เครื่องบิน ANA โบอิง 747-400 ลายพิคาชูและโปเกมอนชนิดอื่น ๆ (ที่มองเห็นคือ ปิปปี, โทเกปี, มิวทู และคาบิกอน)

ในฐานะการ์ตูนสัญลักษณ์ของแฟรนไชส์ พิคาชูปรากฏตัวในเหตุการณ์ และสินค้าต่าง ๆ หลายครั้ง ใน ค.ศ. 1998 โจอัน แวกนอน นายกเทศมนตรีของเมืองโทพีกา รัฐแคนซัส เปลี่ยนชื่อเมืองให้เป็น "โทพิคาชู" (Topikachu) หนึ่งวัน[40] และในโฆษณาชุด "Got Milk?" ก็มีพิคาชูปรากฏอยู่ในวันที่ 25 เมษายน ค.ศ. 2000[41] ในขบวนพาเหรดเมซีส์แธงส์กิฟวิงเดย์พาเหรด นำเสนอบอลลูนลายพิคาชูตั้งแต่ ค.ศ. 2001[42] บอลลูนแบบดั้งเดิมลอยต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งสุดท้ายในงานครบรอบสิบปีของโปเกมอน ชื่อว่า "ปาร์ตีออฟเดอะเดเคด" (Party of the Decade) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2006 ที่สวนไบรแอนต์ในนครนิวยอร์ก[43][44][45][46] และบอลลูนพิคาชูแบบใหม่ที่กำลังไล่ตามมอนสเตอร์บอลและมีแก้มสีโทนสว่างปรากฏตัวครั้งแรกในขบวนพาเหรด ค.ศ. 2006[47] ในขบวนพาเหรด ค.ศ. 2014 บอลลูนพิคาชูแบบใหม่สวมผ้าพันคอสีเขียวและกำลังถือพิคาชูสโนว์แมนตัวเล็กอยู่[48]

ในตอนแรกของซีรีส์ที่ 11 ของซีรีส์เรื่องท็อปเกียร์ พิธีกร ริชาร์ด แฮมมอนด์เปรียบภาพของรถยนต์รุ่นทาทา นาโน กับพิคาชูตัวหนึ่ง โดยกล่าวว่า "พวกเขาประหยัดเงินในการออกแบบ เพราะเขายึดพิคาชูเป็นต้นแบบ"[49] ในตอนชื่อ "Dual" ในซีซีนที่สามของเรื่อง ฮีโร่ส์ แดฟนี มิลล์บรุก ตั้งชื่อเล่นให้ฮิโระ นากามุระ ว่า "พิคาชู" ทำให้เขาละอายใจมาก เทรซี สเตราส์ เรียกเขาด้วยชื่อนี้อีกครั้งหลังจากเขากล่าวขอโทษก่อนที่จะต่อยหน้าเธอ[50][51] ตัวละครล้อเลียนพิคาชูตัวหนึ่งชื่อ หลิงหลิง เป็นตัวละครหลักในละครดรอนทูเก็ตเดอร์ ทางช่องคอเมดีเซนทรัล บนตัวเครื่องบินรุ่นโบอิง 747-400 ของสายการบินออล นิปปอน แอร์เวย์ (JA8962) มีรูปพิคาชูอยู่ด้วย[52]

พิคาชูปรากฏตัวหลายครั้งในซีรีส์เดอะซิมป์สันส์ ในตอน "Bart vs. Lisa vs. the Third Grade" ค.ศ. 2002 บาร์ต ซิมป์สันมีภาพหลอนขณะทำข้อสอบในห้องเรียนและมองเห็นเพื่อนในห้องเป็นตัวละครในรายการโทรทัศน์หลายตัว หนึ่งในนั้นคือพิคาชู[53] แมกกี ซิมป์สัน กลายเป็นพิคาชูในมุขโซฟาหรือคาวช์แก็ก (couch gag) ในช่วงเปิดเรื่องของตอน 'Tis the Fifteenth Season" ค.ศ. 2003[54] มุขโซฟามุขดังกล่าวได้กลับมาใช้อีกครั้งในตอน "Fraudcast News" ค.ศ. 2004[55] ในตอน "Postcards from the Wedge" ค.ศ. 2010 ขณะบาร์ตทำการบ้าน โปเกมอนตอนหนึ่งเบี่ยงเบนความสนใจของเขา หลังจากกำลังชมฉากที่ซาโตชิกำลังคุยกับพิคาชู เขาครุ่นคิดว่าการ์ตูนเรื่องโปเกมอนสามารถฉายอยู่ได้อย่างไรเป็นเวลาหลายปี[56]

นิตยสารไทม์จัดอันดับให้พิคาชูเป็นบุคคลดีเด่นอันดับที่สองประจำปี ค.ศ. 1999 เรียกพิคาชูว่าเป็น "ตัวละครแอนิเมชันที่เป็นที่รักที่สุดนับตั้งแต่มีเฮลโลคิตตีมา" นิตยสารชี้ว่าพิคาชูเป็น "หน้าตาสาธารณชนของปรากฏการณ์ที่แพร่หลายจากวิดีโอเกมที่ขายดีที่สุดของนินเทนโด จนกลายเป็นอาณาจักรการ์ดเกม" กล่าวว่าสาเหตุของการจัดอันดับมาจากการทำกำไรให้แฟรนไชส์ได้ในปีนั้น รองจากริกกี มาร์ติน และนำหน้านักเขียน เจ.เค. โรว์ลิง[57] พิคาชูอยู่อันดับที่ 8 จากผลสำรวจตัวละครแอนิเมชันตัวโปรด จัดทำโดยแอนิแมกซ์ ใน ค.ศ. 2002 พิคาชูของซาโตชิอยู่อันดับที่ 15 จากรายชื่อตัวละครการ์ตูนที่ดีที่สุดตลอดกาล จัดทำโดยนิตยสารทีวีไกด์[58] เว็บไซต์เกมสปอต กล่าวถึงพิคาชูในบทความ "ฮีโร่จากเกมที่ดีที่สุดตลอดกาล"[59] ใน ค.ศ. 2003 นิตยสารฟอบส์ตัดอันดับพิคาชูให้เป็นตัวละครในบันเทิงคดีที่ทำรายได้สูงสุดอันดับที่แปดด้วยรายได้ 825 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[60] ใน ค.ศ. 2004 พิคาชูตกอันดับลงมา 2 อันดับ อยู่อันดับที่ 10 ทำรายได้อีก 825 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นปีที่สองติดต่อกัน[61] ในผลสำรวจ ค.ศ. 2008 ของออริคอน พิคาชูได้รับโหวตเป็นตัวละครจากวิดีโอเกมที่เป็นที่นิยมที่สุดอันดับที่ 4 ในญี่ปุ่น ร่วมกับโซลิดสเนก[62] พิคาชูยังถือเป็นมิกกี้ เมาส์ในแบบฉบับของญี่ปุ่น[63] และเป็นส่วนหนึ่งในการเคลื่อนไหว "ทุนนิยมน่ารัก" (cute capitalism) [52] พิคาชูติดอันดับที่ 8 ในรายชื่อ "ตัวละครอนิเมะ 25 ตัวยอดเยี่ยมตลอดกาล" จัดทำโดยไอจีเอ็น[64] นิตยสารนินเทนโดเพาเวอร์จัดว่าพิคาชูเป็นฮีโรตัวโปรดอันดับที่ 9 กล่าวว่า แม้ว่ามันจะเป็นหนึ่งในโปเกมอนรุ่นแรก ๆ แต่มันก็ยังเป็นที่นิยมในทุกวันนี้[65] นักเขียน เทรซี เวสต์ และแคตเธอรีน โนลล์ เรียกพิคาชูว่าเป็นโปเกมอนรูปแบบไฟฟ้าที่ดีที่สุด และเป็นโปเกมอนที่ดีที่สุดจากทั้งหมดทั้งมวล เขาเสริมว่าถ้าคนคนหนึ่งถามผู้เล่นเกมโปเกมอนว่าโปเกมอนตัวโปรดของเขาคือตัวอะไร พวกเขา "คงจะ" เลือกพิคาชู เขายังเห็นว่าพิคาชู "กล้าหาญและจงรักภักดี"[66] ในคำกล่าวที่ไม่ใช่ด้านดี พิคาชูจัดว่าเป็นตัวละครการ์ตูนในยุค 1990 ที่น่ารำคาญที่สุดอันดับหนึ่ง[67] จัดทำโดยเว็บท่าอาสก์เมน[68] เช่นเดียวกัน ในผลสำรวจที่ไอจีเอ็นทำขึ้น พิคาชูเป็นโปเกมอนที่ดีที่สุดอันดับที่ 48 โดยมีพนักงานให้ความเห็นว่า "แม้ว่าจะเป็นโปเกมอนที่เป็นที่จดจำที่สุดในโลก พิคาชูกลับอยู่อันดับต่ำใน 100 อันดับอย่างน่าประหลาดใจ"[69]

สารลิแกนด์ที่เพิ่งถูกค้นพบซึ่งเชื่อกันว่าช่วยทำให้สายตาแหลมคม ค้นพบโดยมูลนิธิสถาบันชีวเคมีโอซากา (ญี่ปุ่น: Osaka Bioscience Institute Foundationโรมาจิ大阪バイオサイエンス研究所) ได้ชื่อว่า "พิกะชูริน" (Pikachurin) ยืมชื่อมาความว่องไวของพิคาชู[70] เนื่องจากพิคาชูมี "การเคลื่อนไหวไวเท่าแสงและเอฟเฟกต์ไฟฟ้าช็อต"[71]

พิคาชูและโปเกมอนอื่น ๆ อีก 10 ชนิดเคยถูกเลือกให้เป็นการ์ตูนสัญลักษณ์ในฟุตบอลโลก 2014[72] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2017 เดอะโปเกมอนคอมพานีหุ้นส่วนกับบริษัทสแนปในการนำพิคาชูมาใช้กับโปรแกรมประยุกต์สื่อสังคม สแนปแชต[73] นักเขียนมังงะ ฮิโระ มะชิมะ กล่าวถึงพิคาชูว่าเป็น "ตัวละครสัญลักษณ์ยอดเยี่ยมตลอดกาล" เมื่อเขาพูดถึงการใส่ตัวละครประเภทดังกล่าวลงในซีรีส์[74]

เชิงอรรถ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "PokemonThailand". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-22. สืบค้นเมื่อ 2018-05-18.
  2. Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red and Blue, Instruction manual. Nintendo. pp. 6–7.
  3. Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red and Blue, Instruction manual. Nintendo. p. 11.
  4. Sarkar, Samit (May 29, 2013). "Harvest Moon creator's Hometown Story leads Natsume's E3 slate". Polygon. Vox Media. สืบค้นเมื่อ March 7, 2016.
  5. Bailey, Kat (September 16, 2015). "The New Zygarde Form is a Reminder of How Hard it is to Design a Good Pokémon". USGamer.net. Gamer Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2016. สืบค้นเมื่อ March 7, 2016.
  6. Staff. "2. 一新されたポケモンの世界". Nintendo.com (ภาษาญี่ปุ่น). Nintendo. p. 2. สืบค้นเมื่อ 2010-09-10.
  7. Stuart Bishop (2003-05-30). "Game Freak on Pokémon!". CVG. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-08. สืบค้นเมื่อ 2008-02-07.
  8. "The Ultimate Game Freak". Time Asia. 154 (20): 2. November 22, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-10. สืบค้นเมื่อ September 25, 2009.
  9. https://kotaku.com/pikachu-wasnt-based-on-a-mouse-but-a-squirrel-1825738117
  10. Noble, McKinley (2009-03-23). "Pokemon Platinum: Developer Interview!". GamePro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-27. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  11. 『ポケットモンスター』スタッフインタビュー (ภาษาญี่ปุ่น). Nintendo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2000-10-18. สืบค้นเมื่อ June 6, 2009.
  12. Game Freak (2007-04-22). Pokémon Diamond (Nintendo DS). Nintendo.
  13. Tobin 2004, pp. 63–64.
  14. "The Ultimate Game Freak". Time. Vol. 154 no. 20. November 22, 1999. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-01. สืบค้นเมื่อ December 24, 2021.
  15. "Pikachu Originally Had A Second Evolution Called 'Gorochu' With Large Fangs And Two Horns". May 3, 2018.
  16. Knezevic, Kevin (2018-10-15). "Don't Expect Pikachu's Lost Evolution, Gorochu, To Appear In A Pokemon Game". GameSpot (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-10-16.
  17. "Pikachu Pokemon – Pokedex". IGN. 2013-12-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-14. สืบค้นเมื่อ 2014-01-01.
  18. Craig Harris (October 19, 1999). "Pokemon Yellow: Special Pikachu Edition – Game Boy Review at IGN". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-26. สืบค้นเมื่อ 2010-12-09.
  19. Shinn, Gini (2004). "Case Study: First Generation Pokèmon Games for the Nintendo Game Boy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 7, 2022. สืบค้นเมื่อ September 18, 2021.
  20. Lucas M. Thomas (April 1, 2010). "Take a Pokewalk Through the Yellow Forest – Nintendo DS News at IGN". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-26. สืบค้นเมื่อ 2010-12-09.
  21. "Pokémon Sun and Moon players have one week to get Pikachu clad in Ash's original hat". Polygon. สืบค้นเมื่อ 2018-09-24.
  22. Knezevic, Kevin (2017-10-24). "Last Free Pikachu For Pokemon Sun And Moon Available Now For A Limited Time". GameSpot (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-09-24.
  23. Hey You, Pikachu! Nintendo.com'.' Retrieved July 17, 2006.
  24. Mary Jane Irwin (December 4, 2003). "Pokemon Channel – GameCube Review at IGN". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-26. สืบค้นเมื่อ 2010-12-09.
  25. Nintendo officially announces PokePark Wii Joystiq.com'.' Retrieved February 27, 2010.
  26. Nintendo Power Magazine
  27. "Pikachu, Suicune, and Gardevoir announced for Pokkn Tournament". Destructoid.
  28. "'Pokkén Tournament' To Be Released On Wii U Next Year". Forbes. 21 August 2015.
  29. "Bizarre Pokémon game Detective Pikachu is real, out next week in Japan". Eurogamer. 26 January 2016.
  30. Plagge, Kallie (May 29, 2018). "Pokemon Let's Go Pikachu And Let's Go Eevee Announced For Nintendo Switch". GameSpot. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2018. สืบค้นเมื่อ May 30, 2018.
  31. Takeshi Shudō (writer) (September 8, 1998). "Pokémon - I Choose You!". Pokémon. ฤดูกาล Indigo League. ตอน 1. Various.
  32. Shinzō Fujita (writer) (September 9, 1998). "Pokémon Emergency!". Pokémon. ฤดูกาล Indigo League. ตอน 2. Various.
  33. Junki Takegami (writer) (November 20, 1998). "Pikachu's Goodbye". Pokémon. ฤดูกาล Indigo League. ตอน 37. Various.
  34. Shōji Yonemura (writer) (November 20, 1999). "A Friend In Deed". Pokémon. ฤดูกาล Indigo League. ตอน 78. Various.
  35. 35.0 35.1 "Animerica Interview Toshihiro Ono." VIZ Media. May 10, 2000. Retrieved on May 31, 2009.
  36. "The Pojo – TCG Set Lists McDonald's Campaign Expansion Set". สืบค้นเมื่อ 2008-06-04.
  37. "Fastfoodtoys.Net Pokémon 2000 Toys". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-06. สืบค้นเมื่อ 2008-06-04.
  38. "Restaurant chain entertainment promotions monitor, June 2003". Entertainment Marketing Letter. June 1, 2003. สืบค้นเมื่อ 2009-06-30.
  39. "Pokemon at Wendy's Promotion Begins!". May 20, 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-12. สืบค้นเมื่อ 2009-06-30.
  40. Staff (November 1999). "What's the Deal with Pokémon?". Electronic Gaming Monthly (124): 172.
  41. "Pikachu Guzzles Milk to Become Most Powerful Pokemon". Business Wire. 2000-05-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-06. สืบค้นเมื่อ 2008-07-29.
  42. Macy's Thanksgiving Day Parade เก็บถาวร 2012-10-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Ncytourist.com'.' Retrieved July 17, 2006.
  43. Zappia, Corina (August 8, 2006). "How Has Pokémon Not Died Yet?". NY Mirror. The Village Voice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 12, 2014. สืบค้นเมื่อ 2009-05-18.
  44. Clark, Roger (August 8, 2006). "Pokemon Mania Takes Over Bryant Park". NY1 News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-18. สืบค้นเมื่อ 2009-05-18.
  45. Sekula, Anna (August 17, 2006). "Gamers Crowd Bryant Park for Pokemon Tournament". BizBash. BizBash Media Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 21, 2012. สืบค้นเมื่อ 2009-05-18.
  46. "Pokémon Party of the Decade". Bryantpark.org. 2010-12-05. สืบค้นเมื่อ 2010-12-13.
  47. Whitt, Tom (2006-05-23). "Pikachu Soars as Trial Balloon for a Safer Macy's Parade". สืบค้นเมื่อ 2008-07-29.
  48. LeBoeuf, Sarah (3 November 2014). "Holiday-Themed Pikachu Making Debut in Macy's Thanksgiving Day Parade". Defy Media, LLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-04. สืบค้นเมื่อ 27 November 2014.
  49. Jeremy Clarkson, Richard Hammond, James May, The Stig (22 June 2008). "Series 11, episode 1". Top Gear. Dunsfold Park. BBC 2.
  50. Kubicek, John (December 15, 2008). "Heroes: Episode 3.13 "Dual, " Volume 3 Finale Recap (Page 2/3)". Buddy TV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-17. สืบค้นเมื่อ 4 March 2012.
  51. "Dual". TV.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-17. สืบค้นเมื่อ 4 March 2012.
  52. 52.0 52.1 Allison, Anne (2002) The Cultural Politics of Pokémon Capitalism Media in Transition 2: globalization and convergence เก็บถาวร เมษายน 19, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  53. Steven Dean Moore (Director) (17 November 2002). "Bart vs. Lisa vs. The Third Grade". The Simpsons. ฤดูกาล 14. ตอน 3. Fox.
  54. Steven Dean Moore (Director) (14 December 2003). "'Tis the Fifteenth Season". The Simpsons. ฤดูกาล 15. ตอน 7. Fox.
  55. Bob Anderson (Director) (23 May 2004). "Fraudcast News". The Simpsons. ฤดูกาล 15. ตอน 22. Fox.
  56. Mark Kirkland (Director) (14 March 2010). "Postcards from the Wedge". The Simpsons. ฤดูกาล 21. ตอน 14. Fox.
  57. "The Best (and Worst) of 1999: The Best People of 1999". Time. Vol. 154 no. 24. 1999-12-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2010-03-05.
  58. "TV Guide's 50 greatest cartoon characters of all time. Retrieved April 17, 2009. เก็บถาวร ธันวาคม 27, 2005 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  59. "All Time Greatest Game Hero – The Standings". GameSpot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 18, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-09-15.
  60. Gisquet, Vanessa; Lagorce, Aude (2003-09-25). "Top-Earning Fictional Characters". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2010-03-05.
  61. Gisquet, Vanessa; Rose, Lacey (2004-10-19). "Top Characters Gross $25B". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2010-03-05.
  62. Ashcraft, Brian (2009-10-04). "And Japan's Favorite Video Game Characters Are...?". Kotaku. สืบค้นเมื่อ 2009-09-12.
  63. Tobin, Joseph (2002). "Pikachu's Global Adventure". ใน Cecilla von Feilitzen & Ulla Carlsson (บ.ก.). Children, Young People and Media Globalisation (PDF). UNESCO. pp. 53–67. ISBN 91-89471-15-6. ISSN 1403-4700. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-12. สืบค้นเมื่อ 2009-06-09.
  64. Chris Mackenzie (October 20, 2009). "Top 25 Anime Characters of All Time – Movies Feature at IGN". IGN. สืบค้นเมื่อ 2010-12-09.
  65. Nintendo Power 250th issue!. South San Francisco, California: Future US. 2010. pp. 40, 41.
  66. West, Tracey; Noll, Katherine (2007). Pokémon Top 10 Handbook. pp. 20, 78. ISBN 9780545001618. สืบค้นเมื่อ 2011-04-30.
  67. Murphy, Ryan. "Top 10: Irritating '90s Cartoon Characters". AskMen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-18. สืบค้นเมื่อ July 7, 2012.
  68. Murphy, Ryan. "Top 10: Irritating '90s Cartoon Characters". AskMen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-18. สืบค้นเมื่อ July 7, 2012.
  69. "Pikachu – #48 Top Pokémon – IGN". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-24. สืบค้นเมื่อ 2012-06-26.
  70. "Pikachurin, a dystroglycan ligand, is essential for photoreceptor ribbon synapse formation". Nature (journal). 2008-07-20. สืบค้นเมื่อ 2008-07-21.
  71. Levenstein, Steve (2008-07-24). "Lightning-Fast Vision Protein Named After Pikachu". Inventor Spot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-11. สืบค้นเมื่อ 2008-07-29.
  72. Salvador Borboa (March 12, 2014). "Pikachu Named Japan's Official Mascot In Brazil 2014 World Cup". The Beautiful Game LLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-12. สืบค้นเมื่อ March 17, 2014.
  73. "Snapchat adds a Pikachu filter for your kawaii pokémon needs". The Verge. August 14, 2017. สืบค้นเมื่อ August 17, 2017.
  74. "New York Comic-Con 2017: Q&A with Fairy Tail Creator Hiro Mashima". Anime News Network. October 6, 2017. สืบค้นเมื่อ October 8, 2017.

บรรณานุกรม แก้

  • Loe, Casey, ed. Pokémon Special Pikachu Edition Official Perfect Guide. Sunnydale, California: Empire 21 Publishing, 1999.
  • Barbo, Maria. The Official Pokémon Handbook. Scholastic Publishing, 1999. ISBN 0-439-15404-9.
  • Mylonas, Eric. Pokémon Pokédex Collector's Edition: Prima's Official Pokémon Guide. Prima Games, September 21, 2004. ISBN 0-7615-4761-4
  • Nintendo Power. Official Nintendo Pokémon FireRed Version & Pokémon LeafGreen Version Player's Guide. Nintendo of America Inc., August 2004. ISBN 1-930206-50-X
  • Nintendo Power. Official Nintendo Pokémon Emerald Player's Guide. Nintendo of America Inc., April 2005. ISBN 1-930206-58-5
  • Tobin, Joseph Jay, บ.ก. (2004). Pikachu's Global Adventure: The Rise and Fall of Pokémon. Duke University Press. ISBN 978-0-8223-3287-9.

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้