พาราลิมปิกฤดูหนาว 2014

พาราลิมปิกฤดูหนาว 2014 (อังกฤษ: XI Paralympic Winter Games) เป็นการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 11 จัดขึ้น ณ เมืองโซชี ประเทศรัสเซีย ระหว่างวันที่ 7 มีนาคม ถึง 16 มีนาคม พ.ศ. 2557 มีนักกีฬา 550 คน จาก 45 ประเทศ เข้าร่วมการแข่งขัน มีการชิงชัยถึง 72 เหรียญทอง นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันสโนว์บอร์ดคนพิการเป็นครั้งแรกอีกด้วย[1]

กีฬาพาราลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 11
Hot. Cool. Yours.
เมืองเจ้าภาพรัสเซียโซชิ, รัสเซีย
คำขวัญสัญลักษณ์การแข่งขันพาราลิมปิกฤดูหนาว 2014
ประเทศเข้าร่วม45 ประเทศ
นักกีฬาเข้าร่วม550 คน
กีฬา72 ประเภท ใน 5 ชนิด
พิธีเปิด7 มีนาคม พ.ศ. 2557
พิธีปิด16 มีนาคม พ.ศ. 2557
ประธานพิธีวลาดีมีร์ ปูติน
นักกีฬาปฏิญาณวาเลรี เรดส์โคซูบอฟ
ผู้จุดคบเพลิงเซอร์เกย์ ชายคอฟ
โอเลซยา วลาดิคินา
สนามกีฬาหลักสนามกีฬาโอลิมปิกฟิชต์
พาราลิมปิกฤดูหนาว 2014
IPC · ROC · SOOC

การแข่งขันในครั้งนี้มีนำไปสู่ความกังวลเกี่ยวกับแทรกแซงทหารของรัสเซียที่เข้ายึดครองเขตปกครองตนเองไครเมีย ในยูเครน ซึ่งอาจนำไปสู่การคว่ำบาตรทางการกีฬาของสหราชอาณาจักร, ยูเครน และสหรัฐอเมริกา ที่จะไม่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมพิธีเปิด โดยเจ้าหน้าที่รัฐบาลของสหราชอาณาจักรได้ทำการเปิดเผยว่า ได้ตั้งใจติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และกำลังพิจารณาว่าจะส่งนักกีฬาเข้าร่วมในพิธีเปิดหรือไม่และความกังวลเหล่านี้ ยังไม่ได้มีผลกระทบต่อนักกีฬาของทั้ง 3 ประเทศ แต่อย่างใด

ในทั้งหมด 80 เหรียญที่รัสเซีย ได้จากการแข่งขันครั้งนี้ 30 เหรียญ เป็นเหรียญทอง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เจ้าภาพการแข่งขันได้เหรียญจากการแข่งขันมากที่สุด นอกจากนี้ โรแมน เปตัสคอฟ นักสกีของรัสเซีย ได้รับเหรียญทองมากที่สุดในประวัติศาสตร์นักกีฬาคนพิการ ในพาราลิมปิกฤดูหนาว โดยได้ไป 6 เหรียญทอง จากการแข่งขันสกีลงเขา และไบแอธลอน

การคัดเลือกเจ้าภาพ แก้

เมืองโซชีได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาวและพาราลิมปิกฤดูหนาว 2014 ในสมัยประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากลที่ 119 ที่กรุงกัวเตมาลาซิตี ประเทศกัวเตมาลา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2007 โดยสามารถเอาชนะคะแนนเสียงกับเมืองพย็องชัง ประเทศเกาหลีใต้[2]ในรอบที่ 2 ไป 51-47 คะแนน นับเป็นการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เป็นครั้งแรกของประเทศรัสเซีย ตั้งแต่การจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1980 ที่กรุงมอสโก ในสมัยสหภาพโซเวียต

ผลการตัดสินประเทศเจ้าภาพพาราลิมปิกฤดูหนาว 2014
ชื่อเมือง ประเทศ รอบที่ 1 รอบที่ 2
โซชี   รัสเซีย 34 51
พย็องชัง   เกาหลีใต้ 36 47
ซาลซ์บูร์ก   ออสเตรีย 25 -

สนามแข่งขัน แก้

เช่นเดียวกันกับโอลิมปิกฤดูหนาว 2010 ในครั้งนี้ สนามแข่งขันก็ยังคงใช้สนามแข่งจากโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 คือ สวนสาธารณะโอลิมปิก และ คาสนายา โพยานา แม้ว่าคณะกรรมการพาราลิมปิกสากล เชื่อว่า การเข้าถึงเมืองโซชี เป็นสิ่งที่ยากลำบากสำหรับคนพิการ แต่ก็มีความเชื่อมั่น ปัญหานั้นจะเป็นศูนย์ ตามธรรมเนียม พาราลิมปิกฤดูหนาวจะจัดหลังจากโอลิมปิกฤดูหนาว 2 สัปดาห์ เนื่องจากต้องใช้เวลาทำการปรับสนามให้เหมาะสมกับคนพิการ การตรวจสอบสถานที่จัดงานในเบื้องต้น มีขึ้นในเดือนมกราคม 2014 และโฆษกของคณะกรรมการพาราลิมปิกสากล ได้กล่าวว่า พวกเรามีความมั่นใจและคาดหวังว่า สถานที่นี้จะพร้อมสำหรับคนพิการเมื่อการแข่งเริ่มต้นขึ้น และหวังว่าโซชีจะเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับพาราลิมปิกฤดูหนาวครั้งต่อๆไป[3]

สวนสาธารณะโอลิมปิก แก้

 
ภาพพาราโนมาของสวนสาธารณะโอลิมปิก

สวนสาธารณะโอลิมปิก สร้างขึ้นให้อยู่ริมชายฝั่งทะเลดำ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ [4][5]มีพื้นที่ 4 กิโลเมตร หรือ 2.5 ไมล์ อีกทั้งยังมีอนุสรณ์เหรียญรางวัลที่น่าประทับใจในโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ผ่านมา และยังเป็นสถานที่ที่จัดพิธีเปิด-ปิดในการแข่งขันครั้งนี้อีกด้วย[6][7][8] ภายในสวนสาธารณะโอลิมปิก ประกอบด้วย

แผนผังด้านในของสวนสาธารณะโอลิมปิก โซชี 2014

คาสนายา พอลยานา (ภูเขาครัชเตอร์) แก้

แผนที่คาสนายา พอลนายา (ภูเขาครัชเตอร์) (interactive map)

มาสคอต แก้

หลังจากที่ให้ประชาชนได้ทำการโหวตมาสคอตโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 10 แบบ และมาสคอตพาราลิมปิกฤดูหนาว 2014 อีก 3 แบบ และได้ทำการเปิดตัวเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2011[9]และครั้งนี้เป็นครั้งที่สามที่ทำการคัดเลือกมาสคอตของทั้งโอลิมปิกฤดูหนาว และพาราลิมปิกฤดูหนาวพร้อมกัน โดยประชาชนได้ทำการโหวตเลือกมาสคอต 2 แบบ ที่มีชื่อว่า เรย์ออฟไลท์ และ สโนว์เฟลคส์[10]

เหรียญรางวัล แก้

การออกแบบเหรียญรางวัลของการแข่งขันครั้งนี้ เปิดตัวขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 โดยเหรียญรางวัลออกแบบด้วยการเย็บ และปะติดปะต่อกัน โดยใช้เพชรที่มีการโปร่งแสง ให้สะท้อนลักษณะภูมิประเทศของรัสเซีย และยังมีการจารึกอักษรเบลล์ ซึ่งอักษรสำหรับคนตาบอด

พิธีการ แก้

พิธีเปิดการแข่งขัน แก้

พิธีเปิดการแข่งขัน จัดขึ้นในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557 โดยใช้แนวคิด "การทำลายน้ำแข็ง" ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการเต้นบัลเลต์ ใช้นักแสดงประมาณ 2,500 คน ในการกล่าวของ นายฟิลิป เครฟเวน ประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกสากล ได้กล่าวว่า กีฬาพาราลิมปิกจะทำให้ทุกคนประหลาดใจกับทักษะความสามารถที่ยิ่งใหญ่และได้เห็นตัวอย่างของความพยายามของมนุษย์ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคน

อย่างไรก็ตาม ทีมนักกีฬาของยูเครน ยังคงเข้าร่วมการแข่งขัน แม้จะเกิดเหตุวุ่นวายในประเทศและความขัดแย้งกรณีทหารรัสเซียเข้าควบคุมพื้นที่ในสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียของยูเครน โดยในพิธีเปิดมีเพียงผู้เชิญธงชาติยูเครนเพียงคนเดียวเดินเข้าสู่สนาม ขณะที่ประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน หวังว่ากีฬาพาราลิมปิก จะช่วยผ่อนคลายบรรยากาศตึงเครียดระหว่างยูเครน และรัสเซีย ส่วนผู้นำและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของชาติตะวันตกบางชาติ รวมถึงสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร งดไปร่วมชมพิธีเปิดเพื่อแสดงออกถึงความไม่พอใจต่อการที่รัสเซีย แทรกแซงทางทหารในยูเครน[11]

พิธีปิดการแข่งขัน แก้

พิธีปิดพาราลิมปิกฤดูหนาว 2014 ได้มีขึ้น เมื่อค่ำวันที่ 16 มีนาคม ณ เมืองโซชี ประเทศรัสเซีย โดยประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน และหัวหน้าคณะกรรมการพาราลิมปิกสากล นายฟิลิป เครฟเวน ประธานคณะกรรมการพาราลิมปิกสากล กล่าวในพิธีปิด ชื่นชมว่างานกีฬาพาราลิมปิกฤดูหนาว 2014 เป็นงานกีฬาพาราลิมปิก ครั้งที่ดีที่สุด และมีปาฏิหาริย์ โดยในพิธีปิด ผู้ชมได้รับชมการแสดงที่มีชื่อว่า “บรรลุในสิ่งที่ทำไม่ได้” เพื่อสดุดีจิตใจ พลังและแรงบันดาลใจของนักกีฬาคนพิการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้จัดงานส่งถึงนักกีฬาและผู้เข้าชมพิธีปิดทั้งที่สนามกีฬาและชมการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ทั่วโลก ส่วนธงพาราลิมปิก ได้ถูกส่งต่อให้แก่เมืองพย็องชัง ของเกาหลีใต้ ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันครั้งที่ 12

การแข่งขัน แก้

ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน แก้

ในการแข่งขันครั้งนี้ มีนักกีฬาทั้งหมด 550 คน จาก 45 ประเทศ ซึ่งมากกว่าพาราลิมปิกฤดูหนาว 2010 ที่เมืองแวนคูเวอร์, แคนาดา ที่มีประเทศเข้าแข่งขัน 44 ประเทศ[12]

ชนิดกีฬาที่แข่งขัน แก้

การแข่งขันครั้งนี้ มีการแข่งขันทั้งหมด 72 ประเภท จาก 5 ชนิดกีฬา (ตัวเลขในวงเล็บคือ จำนวนเหรียญทอง):

ปฏิทินการแข่งขัน แก้

OC พิธีเปิดการแข่งขัน รอบคัดเลือก # รอบชิงชนะเลิศ CC พิธีปิดการแข่งขัน
มีนาคม 2014 7th
ศ.
8th
ส.
9th
อา.
10th
จ.
11th
อ.
12th
พ.
13th
พฤ.
14th
ศ.
15th
ส.
16th
อา.
จำนวน
เหรียญ
ทอง
พิธีการ OC CC
  สกีลงเขา 6 3 3 3 3 8 3 3 32
  ไบแอธลอน 6 6 6 18
  มาราธอนสกี 2 4 6 2 6 20
  สเลจฮอกกี้น้ำแข็ง 1 1
  วีลแชร์เคอร์ลิ่ง 1 1
รวมเหรียญทองแต่ละวัน 12 5 7 6 9 3 14 7 9 72
รวมเหรียญทองสะสม 12 17 24 30 39 42 56 63 72
มีนาคม 2014 7th
ศ.
8th
ส.
9th
อา.
10th
จ.
11th
อ.
12th
พ.
13th
พฤ.
14th
ศ.
15th
ส.
16th
อา.
จำนวน
เหรียญ
ทอง


สรุปเหรียญการแข่งขัน แก้

  เจ้าภาพ (รัสเซีย)

อันดับที่ ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
1   รัสเซีย 30 28 22 80
2   เยอรมนี 9 5 1 15
3   แคนาดา 7 2 7 16
4   ยูเครน 5 9 11 25
5   ฝรั่งเศส 5 3 4 12
6   สโลวาเกีย 3 2 2 7
7   ญี่ปุ่น 3 1 2 6
8   สหรัฐ 2 7 9 18
9   ออสเตรีย 2 5 4 11
10   สหราชอาณาจักร 1 3 2 6
11   นอร์เวย์ 1 2 1 4
  สวีเดน 1 2 1 4
13   สเปน 1 1 1 3
14   เนเธอร์แลนด์ 1 0 0 1
  สวิตเซอร์แลนด์ 1 0 0 1
16   ฟินแลนด์ 0 1 0 1
  นิวซีแลนด์ 0 1 0 1
18   เบลารุส 0 0 3 3
19   ออสเตรเลีย 0 0 2 2
รวม 72 72 72 216

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Para-Snowboard secures Paralympic Games inclusion". BBC Sport. 2 May 2012. สืบค้นเมื่อ 14 February 2014.
  2. "Sochi Elected as Host City of XXII Olympic Winter Games, International Olympic Committee". Olympic.org. 4 July 2007. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.
  3. "Sochi 2014 Paralympics: IPC confident on venue accessibility". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 3 March 2014.
  4. "Sochi's mixed feelings over Olympics". BBC News. 26 November 2008. สืบค้นเมื่อ 17 January 2014.
  5. Russian Deputy PM leads Sochi delegation to inspect Munich Olympic Park Inside the Games, 22 May 2010
  6. Madler, Mark (February 24, 2014). "WET Design Runs Rings Around Rivals". San Fernando Business Journal. Los Angles, California: California Business Journals. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-27. สืบค้นเมื่อ February 26, 2014.
  7. "California-based WET makes the waters dance at Sochi". Gizmag. สืบค้นเมื่อ February 26, 2013.
  8. Посмотрели свысока Yugopolis, 16 July 2013
  9. "Russia unveils candidates for Sochi mascot". Sports.espn.go.com. 2011-02-07. สืบค้นเมื่อ 2014-02-14.
  10. After favourite disqualified, 3 mascots chosen for Sochi 2014 Winter Olympics เก็บถาวร 2011-02-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Winnipeg Free Press, February 26, 2011
  11. Brandon Hicks (7 March 2014). "2014 Paralympics open in Sochi". CBC. สืบค้นเมื่อ 7 March 2014.
  12. "Countries". Sochi2014.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-12. สืบค้นเมื่อ 26 February 2014.


ก่อนหน้า พาราลิมปิกฤดูหนาว 2014 ถัดไป
 พาราลิมปิกฤดูหนาว 2010
(แวนคูเวอร์, แคนาดา)
   
การแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกฤดูหนาว
   พาราลิมปิกฤดูหนาว 2018
(พย็องชัง, เกาหลีใต้)