พาราลิมปิกฤดูหนาว

พาราลิมปิกฤดูหนาว (อังกฤษ: Winter Paralympic Games) เป็นการแข่งขันมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติสำหรับนักกีฬาที่มีความพิการทางร่างกายเข้าร่วมแข่งขันในกีฬาหิมะและน้ำแข็ง รวมถึงนักกีฬาที่มีความบกพร่องในการเคลื่อนไหว ถูกตัดแขนขา ตาบอด และสมองพิการ พาราลิมปิกเกมส์ฤดูหนาวจะจัดขึ้นทุกๆ สี่ปีหลังจากกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวสิ้นสุดลง พาราลิมปิกฤดูหนาวยังจัดโดยเมืองที่เป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งนั้น โดยอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการพาราลิมปิกสากล มีการมอบเหรียญรางวัลในแต่ละการแข่งขัน โดยอันดับที่ 1 จะได้รับเหรียญทอง อันดับที่ 2 จะได้รับเหรียญเงิน และอันดับที่ 3 จะได้รับเหรียญทองแดง ตามประเพณีโอลิมปิกที่เริ่มในปี 1904

พาราลิมปิกฤดูหนาวเริ่มขึ้นในปี 1976 ที่เมืองเอิร์นเชิลส์วีก ประเทศสวีเดน การแข่งขันครั้งนั้นเป็นพาราลิมปิกแรกที่มีนักกีฬาที่ไม่ใช่นักกีฬาวีลแชร์ การแข่งขันได้ขยายและเติบโตขึ้น (รวมถึงพาราลิมปิกฤดูร้อน) จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดหลังการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก จากการขยายตัวของการแข่งขัน ความต้องการระบบการจำแนกประเภทที่เฉพาะเจาะจงมากจึงเกิดขึ้น ระบบนี้ยังก่อให้เกิดการโต้เถียงและเปิดประตูสู่การโกงรูปแบบต่างๆ ซึ่งทำให้เสียความสมบูรณ์ของการแข่งขัน

ประทศนอร์เวย์เป็นประเทศที่มีอันดับเหรียญรางวัลสูงสุดในการแข่งขันพาราลิมปิกฤดููหนาวทั้งหมด 4 ครั้ง: 1980,1988, 1994 และ 1998 ประเทศเยอรมนีเป็นประเทศที่มีอันดับเหรียญรางวัลสูงสุดทั้งหมด 3 ครั้ง: 1976, 2002, และ 2010 ประเทศรัสเซีย (2006 และ 2014) และสหรัฐ (1992 และ 2018) เป็นประเทศที่มีอันดับเหรียญรางวัลสูงสุดประเทศละสองครั้ง ประเทศออสเตรีย (1984) และประเทศจีน (2022) เป็นประเทศที่มีอันดับเหรียญรางวัลสูงสุดประเทศละหนึ่งครั้ง.[1]

สรุปเหรียญตลอดกาล แก้

ลำดับที่ ประเทศ เข้าร่วม ทอง เงิน ทองแดง รวม
1   นอร์เวย์ 13 140 111 86 334
2   สหรัฐ 13 117 130 88 335
3   ออสเตรีย 13 109 118 116 343
4   เยอรมนี[2] 9 109 85 81 275
5   รัสเซีย 6 84 88 61 233
6   ฟินแลนด์ 13 79 51 62 192
7   ฝรั่งเศส 13 63 57 60 183
8   แคนาดา 13 58 52 76 186
9   สวิตเซอร์แลนด์ 13 53 55 50 158
10   เยอรมนีตะวันตก 4 42 43 35 120
11   ยูเครน 7 38 51 52 141
12   สวีเดน 13 28 35 44 107
13   ญี่ปุ่น 13 27 42 37 97
14   จีน 6 19 20 23 62
15   สโลวาเกีย 8 18 21 22 61
17   นิวซีแลนด์ 12 17 7 11 35
18   อิตาลี 12 16 25 32 73
19   สเปน 12 15 16 12 43
20   ออสเตรเลีย 12 12 6 17 35

รายชื่อเจ้าภาพพาราลิมปิกฤดูหนาว แก้

เมืองเจ้าภาพนอกทวีปยุโรปของกีฬาพาราลิมปิกฤดูหนาว
เมืองเจ้าภาพกีฬาพาราลิมปิกฤดูหนาวของทวีปยุโรป
ครั้งที่ ปี เจ้าภาพ เปิดโดย วันที่ จำนวนประเทศ จำนวนนักกีฬา กีฬา รายการ เจ้าเหรียญทอง
รวม ชาย หญิง
1 1976   เอิร์นเชิลส์วีก, สวีเดน สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน 21–28 กุมภาพันธ์ 16 53 2 53   เยอรมนีตะวันตก
2 1980   ไกลู, นอร์เวย์ สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์ 1–7 กุมภาพันธ์ 18 299 2 63   นอร์เวย์
3 1984   อินส์บรุค, ออสเตรีย ประธานาธิบดี รูด็อล์ฟ เคียร์ชชเลเกอร์ 14–20 มกราคม 21 419 3 107   ออสเตรีย
4 1988   อินส์บรุค, ออสเตรีย ประธานาธิบดี ควร์ท วัลท์ไฮม์ 18–25 มกราคม 22 377 4 97   นอร์เวย์
5 1992   ตีญ และ อาลแบร์วีล, ฝรั่งเศส ประธานาธิบดี ฟร็องซัว มีแตร็อง 25 มีนาคม – 1 เมษายน 24 365 288 77 3 78   สหรัฐ
6 1994   ลิลเลอฮาเมอร์, นอร์เวย์ สมเด็จพระราชินีซอนยาแห่งนอร์เวย์ 10–19 มีนาคม 31 471 5 133   นอร์เวย์
7 1998   นางาโนะ, ญี่ปุ่น เจ้าชายอากิฮิโตะ มกุฎราชกุมาร 5–14 มีนาคม 32 571 5 122   นอร์เวย์
8 2002   ซอลต์เลกซิตี, สหรัฐ ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช 7–16 มีนาคม 36 416 4 92   เยอรมนี
9 2006   ตูริน, อิตาลี ประธานาธิบดี การ์โล อาเซลโย ชัมปี 10–19 มีนาคม 39 486 5 58   รัสเซีย
10 2010   แวนคูเวอร์ และ วิสต์เลอร์, แคนาดา ผู้สำเร็จราชการ มีกาแอล ฌ็อง 12–21 มีนาคม 44 506 5 64   เยอรมนี
11 2014   โซชี, รัสเซีย ประธานาธิบดี วลาดีมีร์ ปูติน 7–16 มีนาคม 45 550 6 72   รัสเซีย
12 2018   พย็องชัง, เกาหลีใต้ ประธานาธิบดี มุน แจ-อิน 9–18 มีนาคม 49 569 6 80   สหรัฐ
13 2022   ปักกิ่ง, จีน ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง 4–13 มีนาคม 46 564 6 78   จีน
14 2026   มิลาน และ กอร์ตีนาดัมเปซโซ, อิตาลี 6–15 มีนาคม 6

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Paralympic Games - Results". International Paralympic Committee (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  2. Only medals won since 1992 are counted. . Does not include the totals from West Germany (FRG) and East Germany (GDR).

แหล่งข้อมูลอื่น แก้