พายุไต้ฝุ่นอัสนี (พ.ศ. 2558)

พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกในปี พ.ศ. 2558

พายุไต้ฝุ่นอัสนี (อักษรโรมัน: Atsani)[nb 1] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดเป็นอันดับสองรองจากพายุไต้ฝุ่นเซาเดโลร์ และเป็นพายุลูกที่สิบหกในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2558 พายุไต้ฝุ่นอัสนีเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 23, พายุโซนร้อนลูกที่ 16 และพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 10 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558[1] ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ ก่อตัวขึ้นทางเหนือของเอเนเวตัก และทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะเวก ต่อมาหย่อมความกดอากาศต่ำก็ได้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน เนื่องจากสภาพอากาศที่มีความแปรปรวนเป็นอย่างมาก พายุก็ได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และถึงสถานะพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นในวันที่ 19 สิงหาคม ตามระบบเตือนภัย และประสานงานภัยพิบัติทั่วโลก พายุไต้ฝุ่นอัสนีมีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) หรือมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน หลังจากนั้นไม่นานพายุไต้ฝุ่นอัสนีก็เริ่มอ่อนกำลังลงอย่างช้า ๆ และในวันต่อมาพายุก็ได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนอยู่ทางตอนใต้ของปิตราปัฟลัฟสค์-คัมชัตสกี ประเทศรัสเซีย ทำให้เกิดคำเตือนสำหรับฝนตกหนัก และหิมะในบางส่วนของรัฐอะแลสกา พายุฤดูหนาวมีผลต่อทางตอนเหนือแฟร์แบงก์ รัฐอะแลสกา จนถึงเย็นวันที่ 27 สิงหาคม[2][3]

พายุไต้ฝุ่นอัสนี
พายุไต้ฝุ่นอัสนีขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่
19 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
ก่อตัว14 สิงหาคม พ.ศ. 2558
พายุหมุนนอกเขตร้อน24 สิงหาคม พ.ศ. 2558
สลายตัว25 สิงหาคม พ.ศ. 2558
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA)
ความเร็วลมสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.58 นิ้วปรอท
พายุไต้ฝุ่น
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD)
ความเร็วลมสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.58 นิ้วปรอท
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC)
ความเร็วลมสูงสุด285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.43 นิ้วปรอท
ผลกระทบ
ผู้เสียชีวิตไม่มีการรายงาน
ความเสียหายไม่มีการรายงาน
พื้นที่ได้รับผลกระทบหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
IBTrACS

ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2558

พายุไต้ฝุ่นอัสนีเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอยู่ทางตะวันออกในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และก่อตัวขึ้นในเวลาเดียวกันกับพายุไต้ฝุ่นโคนี[4] พายุตั้งอยู่ประมาณ 2,575 กิโลเมตร (1,600 ไมล์) ทางตะวันออกของพายุไต้ฝุ่นโคนี และทางตะวันออกเฉียงใต้ของโตเกียวไปประมาณ 2,010 กิโลเมตร (1,250 ไมล์) ผู้สังเกตการณ์ส่วนใหญ่คอยเฝ้าดูพายุด้วยความสนใจเพื่อดูว่าพายุทั้ง 2 ลูก จะขึ้นสู่ความรุนแรงเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นพร้อมกัน หรือไม่ แต่พายุไต้ฝุ่นอัสนีไปถึงจุดความรุนแรงสูงสุดพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ก่อนพายุไต้ฝุ่นโคนี พายุทั้ง 2 ลูก พัฒนาไปพร้อมกันภายในระยะไม่กี่ร้อยไมล์จากกันและกัน แต่พายุแต่ละลูกก็ดำเนินชีวิตด้วยตัวของมันเอง และจะมีผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างมาก พายุไต้ฝุ่นโคนีเป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดต่อแผ่นดินอย่างประเทศไต้หวัน และประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น[5]

ในข้อมูลดาวเทียมสังเกตการณ์แสดงถึงพื้นที่ที่เมฆ และเม็ดฝนสะท้อนสัญญาณที่แรงที่สุดกลับไปยังเรดาร์ดาวเทียม พื้นที่เหล่านี้มีฝนตกหนักที่สุด และมีพายุฝนฟ้าคะนองที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ ข้อมูลดาวเทียมสังเกตการณ์ได้เคลื่อนตัวผ่านตาพายุไปทางทิศตะวันตก ทำให้สามารถมองเห็นผนังตาที่ลาดลงด้านนอกของพายุ การพาความร้อน ปริมาณน้ำฝนที่เข้มข้น และโครงสร้างเมฆได้อย่างดี เมฆของพายุไต้ฝุ่นอัสนีมีความสูงประมาณ 16 กิโลเมตร (10 ไมล์) เป็นที่จุดสูงสุด[6]

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา แก้

 
แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
  พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
  พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน
 
ภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมของพายุไต้ฝุ่นอัสนี

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นอัสนี

  • วันที่ 12 สิงหาคม ในเวลาใกล้กับที่พายุโคนีกำลังก่อตัวขึ้น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 2] ได้เริ่มติดตามบริเวณหย่อมความกดอากาศต่ำที่ห่างจากโวทเจ หมู่เกาะมาร์แชลล์ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 157 กิโลเมตร (100 ไมล์) ในวันเดียวกันห้องปฏิบัติการวิจัยกองทัพเรือสหรัฐได้กำหนดหมายเลขหย่อมความกดอากาศต่ำชั่วคราวว่า 98W
  • วันที่ 14 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน และเริ่มยกระดับความรุนแรงของพายุให้เป็นระดับสูงเมื่อเวลา 14:00 น. (07:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ความแตกต่างของพายุในระดับสูงนั้นอย่างเห็นได้ชัด การพาความร้อนลึกที่มีแถบก่อตัวล้อมรอบการไหลเวียนของหย่อมความกดอากาศต่ำ จึงทำให้กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 3] ได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และออกคำเตือนพายุหมุนเขตร้อน ในเวลาเดียวกันศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และเริ่มออกคำเตือนพายุหมุนเขตร้อนเช่นกัน เนื่องจากกระแสลมของชั้นโทรโพสเฟียร์เขตร้อนออกไปในทิศทางขั้วโลก จึงทำให้ลมอ่อนลง หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาในภูมิภาคต่าง ๆ ได้ตัดสินว่าการพัฒนาของพายุลูกนี้ค่อนข้างที่จะช้าในระยะสั้น ๆ และในเวลาต่อมาก็ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับพายุหมุนกึ่งเขตร้อน พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกที่ละติจูดสูง ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้กำหนดหมายเลขอย่างเป็นทางการว่า 17W
  • วันที่ 15 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และกำหนดให้ชื่อว่า อัสนี นี่นับเป็นตั้งแต่พายุโซนร้อนไห่เยี่ยน และพายุโซนร้อนกำลังแรงโพดุลในปี พ.ศ. 2550 ที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อน และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุดีเปรสชันเขตร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนเช่นกันในเวลาตอนกลางคืน การหมุนเวียนของพายุโซนร้อนอัสนีได้ทวีกำลังแรงขึ้น และพัฒนาเป็นเมฆหนาแน่นตรงกลาง ซึ่งทำให้พายุลูกนี้ค่อย ๆ มีกำลังแรงขึ้น
  • วันที่ 16 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นเช่นกัน หกชั่วโมงต่อมากรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนกำลังแรงให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นในขณะที่ตาพายุปรากฏขึ้น และการไหลเวียนด้านล่างของพายุไต้ฝุ่นอัสนีมีขนาดใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ แต่การไหลออกของขั้วโลกมีน้อยนิด และโครงสร้างการพาความร้อนของพายุในทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือยังคงอสมมาตร
  • วันที่ 17 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ประเมินความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นอัสนีเทียบเท่ากับพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ในขณะที่พายุกำลังปรับแถบการหมุนเวียน จึงทำให้ตาพายุหายไปในช่วงต้นของวันรุ่งขึ้น และคืนนั้นตาพายุก็กลับมาทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้ง
     
    พายุไต้ฝุ่นอัสนีก่อนตาพายุที่จะขยายใหญ่ขึ่นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558
  • วันที่ 18 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 ในขณะที่การพาความร้อนที่ลึกขึ้นยังคงเคลื่อนตัวต่อไป
  • วันที่ 19 สิงหาคม ลมเฉือนแนวตั้งต่ำมากทำให้มีการไหลออกในแนวรัศมีแกนสมมาตร และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นในเวลาต่อมาของวันนั้น ภาพถ่ายจากดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าพายุไต้ฝุ่นอัสนีมีความสมมาตร และตาพายุที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตร (35 ไมล์) ที่ขยายออก ดังนั้นศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับพายุไต้ฝุ่นอัสนีให้กลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 และด้วยความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 4]
  • วันที่ 20 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นอัสนีกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในขณะที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ลดระดับพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4
  • วันที่ 21 สิงหาคม ภาพถ่ายดาวเทียมระบุว่าการพาความร้อนเหนือของพายุไต้ฝุ่นอัสนีมีกำลังแรงลดลง และวงจรการเปลี่ยนผนังตาก็ได้เกิดขึ้น ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 ให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 ลมเฉือนแนวตั้งเริ่มมีกำลังแรงขึ้นจนถึงในระดับปานกลาง และอากาศแห้งยังคงอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพายุไต้ฝุ่นอัสนี ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นว่าการพาความร้อนของพายุได้ลดลง แรงเฉือนของลมในแนวดิ่ง อากาศแห้งยังคงสลายโครงสร้างการพาความร้อนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพายุไต้ฝุ่นอัสนี และผนังตาของพายุก็ถูกสลายไปด้วยเช่นกัน
  • วันที่ 22 สิงหาคม อากาศแห้งที่มีนัยสำคัญที่ทำให้พายุไม่มีการเพิ่มความรุนแรงอีก และภาพถ่ายดาวเทียมแบบหลายสเปกตรัมบ่งชี้ว่าความร้อนบนยอดเมฆของพายุไต้ฝุ่นอัสนี จึงทำให้ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 ให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1
  • วันที่ 23 สิงหาคม พายุไต้ฝุ่นอัสนีมีระดับความรุนแรงนั้นไว้ในขณะที่เริ่มเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และเริ่มสัมผัสกับแรงลมเฉือนในแนวดิ่งที่แรงกว่า ซึ่งสัมพันธ์กับความกดอากาศในละติจูดกลางเมื่อเวลา 20:00 น. (13:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 24 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และไม่กี่ชั่วโมงต่อมาศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ลดระดับพายุไต้ฝุ่นให้กลายเป็นพายุโซนร้อนเช่นกัน
  • วันที่ 25 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกคำเตือนเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อเวลา 17:00 น. (10:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพายุโซนร้อนอัสนีได้กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนโดยอยู่ห่างจากโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1,650 กิโลเมตร (1,025 ไมล์) และพายุถูกบันทึกไว้เป็นครั้งสุดท้ายในขณะที่สลายหายไปในวันต่อมา

ดูเพิ่ม แก้

หมายเหตุ แก้

  1. "อัสนี" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 3 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  2. ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[7]
  3. กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[8]
  4. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ

อ้างอิง แก้

  1. "Digital Typhoon: Typhoon 201516 (ATSANI) - General Information (Pressure and Track Charts)". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. 2015-08-25. สืบค้นเมื่อ 25 August 2015.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "Typhoon Atsani". modis.gsfc.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2015-07-27. สืบค้นเมื่อ 27 August 2015.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. デジタル大辞泉プラス. "アッサニーとは? 意味や使い方". コトバンク (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 20 August 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "Digital Typhoon: Typhoon 201516 (ATSANI)". agora.ex.nii.ac.jp (ภาษาอังกฤษ). National Institute of Informatics. 2015-08-25. สืบค้นเมื่อ 25 August 2015.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. Mersereau, Dennis (2015-08-19). "'Twin Typhoons' Spinning in Western Pacific, Taiwan and Japan at Risk". Gawker (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-05. สืบค้นเมื่อ 19 August 2015.
  6. "A View Inside Typhoon Atsani". earthobservatory.nasa.gov (ภาษาอังกฤษ). Nasa. 2015-08-21. สืบค้นเมื่อ 21 August 2015.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  8. "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้