รองศาสตราจารย์ พลังพล คงเสรี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (1 ธันวาคม 2562-)[1] จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล สาขาเคมีอินทรีย์และ Protein X-ray Crystallography ศึกษากลไกการทำงานของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ออกแบบตัวตรวจวัดทางเคมีที่มีความจำเพาะสูง เพื่อนำไปใช้กับระบบทางชีววิทยา และนำไปสู่การพัฒนาชุดทดสอบต่างๆ สมรสกับ ดร.ประชุมพร (ทุนกุล) คงเสรี มีบุตรชาย 2 คน

รศ.ดร. พลังพล คงเสรี

รองศาสตราจารย์ ดร.พลังพล คงเสรี ผู้สำเร็จการศึกษาทุน พสวท. ที่ได้รับคัดเลือกเข้าหอเกียรติยศ พสวท. “DPST Hall of Fame” ประจำปี 2563 ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล "In the Faith of Science จงศรัทธาในวิทยาศาสตร์ สทธา สาธุ วิชชา"

ประวัติการศึกษา แก้

ดร.พลังพล คงเสรี จบการศึกษาระดับมัธยมต้นที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยในปี พ.ศ. 2528 โดยมีผลการเรียนดีเยี่ยมตลอดการศึกษา [ต้องการอ้างอิง]จากนั้นสอบได้รับทุนจากโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) จึงย้ายไปเรียนต่อระดับมัธยมปลายที่โรงเรียนสามเสนวิทยาลัยซึ่งเป็น 1 ใน 6 ศูนย์โครงการ พสวท. ในสมัยนั้น[ต้องการอ้างอิง]} ระหว่างการศึกษาระดับมัธยม ได้เป็นตัวแทนโรงเรียนร่วมแข่งขันทางวิชาการและได้รับรางวัลชนะเลิศมากมาย {{อ้างอิง}เช่น การตอบปัญหาเกี่ยวกับองค์การสหประชาชาติ การตอบปัญหาทางนิเทศศาสตร์ ของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การตอบปัญหาวิชาการที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การตอบปัญหาทางพุทธศาสนา และการแข่งขันภาษาไทยเกี่ยวกับคำผวนเป็นต้น นอกจากนี้ ได้เข้าร่วมแข่งขันการแข่งขันตอบปัญหาทางวิชาการทางโทรทัศน์อีกหลายรายการ เช่น รายการไอคิว-180 รายการเยาวชนคนเก่ง เป็นต้น

ดร.พลังพล ศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี ที่ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในระหว่างการศึกษา ได้เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยในการเข้าร่วมแข่งขันกีฬาฟันดาบไทย[ต้องการอ้างอิง] และได้เหรียญรางวัลทั้งในประเภททีมและประเภทบุคคล [ต้องการอ้างอิง] ในปีสุดท้ายได้ทำงานวิจัยระดับปริญญาตรี เรื่อง "การใช้แอนทราซีนในการสังเคราะห์ทางเคมี" ในห้องทดลองของ ศ.ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น สาขาเคมี ประจำปี พ.ศ. 2529[ต้องการอ้างอิง] ดร.พลังพลได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) สาขาเคมี จากมหาวิทยาลัยมหิดล [ต้องการอ้างอิง]และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ทางเคมีอินทรีย์ จาก มหาวิทยาลัยคอร์แนล ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้การให้คำปรึกษาจากศาสตราจารย์ Jon Clardy[ต้องการอ้างอิง] ด้วยการศึกษาโครงสร้างสามมิติด้วยเทคนิค x-ray crystallography ด้วยรังสีเอกซ์จากเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน [ต้องการอ้างอิง]และศึกษาการทำงานของโปรตีนหลายชนิด[ต้องการอ้างอิง]เช่น CDC42 (โมเลกุลที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง) FKBP12 (เกี่ยวกับกลไกลดภูมิคุ้มกัน) chorismate mutase (เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยา Claisen rearrangement ในเชื้อแบคทีเรีย) prephenate dehydratase และ cyclohexadienyl dehydratase ซึ่งเป็นเอนไซม์ในการสังเคราะห์กรดอะมิโน เป็นต้น

ประวัติการทำงาน แก้

เริ่มรับราชการในตำแหน่งอาจารย์ที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และได้รับการเลื่อนตำแหน่งวิชาการเป็นผู้ช่วยศาตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ในปี พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2546 ตามลำดับ [ต้องการอ้างอิง] ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ภาควิชาเคมี นักวิจัยประจำหน่วยวิจัยเพื่อความเลิศด้านโปรตีนและเทคโนโลยีเอนไซม์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และอดีตประธานหลักสูตรปริญญาเอก สาขาเคมีอินทรีย์ (หลักสูตรนานาชาติ) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

ในช่วงแรกของการทำงานในประเทศไทย ดร.พลังพล และทีมงาน จัดตั้งห้องปฏิบัติรังสีเอกซ์เพื่อศึกษาโครงสร้างสามมิติของผลึก โดยประยุกต์ใช้กับการศึกษาโครงสร้างทางเคมี และชีวโมเลกุล เช่น การศึกษาโครงสร้างสามมิติของเอนไซม์ dihydrofolate reductase ในเชื้อมาลาเรียชนิด Plasmodium vivax เป้าหมายของยารักษาโรคในกลุ่ม antifolate นำไปสู่ความเข้าใจที่ชัดเจนของกลไกการดื้อยา ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากในการออกแบบยารักษาโรคมาลาเรียที่ดีขึ้น กลไกการทำงานของเอนไซม์ phenylglycine aminotransferase ศึกษาโมเลกุลของฮีโมโกลบินลูกผสมที่เกี่ยวข้องกับโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโรคโลหิตจางทางพันธุกรรมที่สำคัญ การพัฒนายาโดยใช้เทคนิค crystal engineering เป็นต้น ในระยะต่อมา ดร.พลังพล ประยุกต์ใช้เทคนิคทาง chemical ligation ด้วย click chemistry ร่วมกับการใช้ magnetic nanoparticles และเทคนิคทางด้าน proteomics ในการศึกษาหาโมเลกุลเป้าหมายของยารักษาโรค เพื่อตอบคำถามวิจัยหลักคือ "โมเลกุลเป้าหมายของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพหรือยารักษาโรคคืออะไร-what และจะอธิบายถึงกลไกการทำงานในระดับโมเลกุลได้อย่างไร-how" นำไปสู่ความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับกลไกการทำงานของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในระดับเซลล์ ตัวอย่างเช่น กลไกการทำงานของยาอาร์ทีมิซินิน ซึ่งพบว่ามีโมเลกุลเป้าหมายหลายชนิดและนำไปสู่การทำลายเชื้อมาลาเรียอย่างรวดเร็ว การศึกษากลไกการเกิด apoptosis ของเซลล์ของ gambogic acid พบว่า heat-shock protein ชนิดหนึ่งเป็นโมเลกุลเป้าหมาย การศึกษา rotenone หรือจากโล่ติ๊นที่แสดงฤทธิ์ฆ่าแมลงและมีผลต่อเซลล์ประสาท โดยพบโมเลกุลเป้าหมายที่นำไปสู่การตายของเซลล์ประสาท

การออกแบบ chemical probes ต่างๆ นำไปสู่การศึกษาสารปริมาณน้อยในเซลล์ เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไฮดราซีน และโลหะหนักต่างๆ อีกหลายชนิด องค์ความรู้ใหม่เหล่านี้ได้รับการพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้จริงหลายชนิด ในรูปของชุดทดสอบต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของอาหารและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

ด้านการบริหาร ดร.พลังพล ได้รับการสรรหาให้ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีวาระตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2562 มีวิสัยทัศน์มุ่งหมายให้ "วิทยาศาสตร์เป็นสติของประชา เป็นปัญญาของสังคม"[2] โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงภาคเอกชน เพื่อสร้างประโยชน์กับประเทศและสังคมด้วยวิทยาศาสตร์อย่างยั่งยืน

ผลงานวิจัย แก้

กลุ่มวิจัยของ รศ.ดร.พลังพล ในปัจจุบัน ณ ภาควิชาเคมี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีโปรตีนและเอนไซม์ (CPET) และศูนย์พัฒนาชุดทดสอบขั้นสูง (ADDC) ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศึกษาเกี่ยวกับกลไกการทำงานในระดับโมเลกุลของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพต่างๆ โดยใช้เทคนิคทางเคมีสมัยใหม่ที่หลากหลายรวมถึง X-ray crystallography เช่น

  1. กลไกการทำงานของสารที่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ประสาท ที่เกี่ยวข้องกับ Parkinson's disease เป็นต้น
  2. ตัวตรวจวัดทางเคมีของสารปริมาณน้อย และการติดตามการทำงานของเอนไซม์ เช่น อัลดีไฮด์ น้ำตาล และ tyrosinase เป็นต้น
  3. เอนไซม์ย่อยพลาสติกเพื่อนำไปสู่ circular และ green economy
  4. การพัฒนาชุดทดสอบประสิทธิภาพสูง เพื่อนำไปใช้จริง และมีการดำเนินการอย่างยั่งยืนในเชิงพาณิชย์ (science-based innovation-driven enterprise)

เกียรติคุณและรางวัล แก้

รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาเคมีอินทรีย์ ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. 2546[3] จากการศึกษาโครงสร้างสามมิติของโปรตีน dihydrofolate reductase ในเชื้อมาลาเรีย และเอนไซม์ aminotransferase ด้วยเทคนิค x-ray diffraction และจากการศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากเชื้อราในต้นไม้

ด้านการประดิษฐ์และนวัตกรรม ดร.พลังพล ได้รับรางวัลจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จากการพัฒนาชุดทดสอบหลายชนิด และมีการนำไปใช้ประโยชน์จริง นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลนวัตกรรมสื่อจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

ด้านการเรียน การสอน ดร.พลังพล ได้รับการยกย่องให้เป็น "อาจารย์ตัวอย่าง" ระดับคณะและระดับมหาวิทยาลัย จากสภาคณาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์ และจากสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดลในปี 2561 และ 2562 ตามลำดับ

ดร.พลังพล ได้รับการแต่งตั้งจากสภามหาวิทยาลัยมหิดล ให้ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีวาระตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2562-30 พฤศจิกายน 2566

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "คณะผู้บริหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล". Faculty of Science. สืบค้นเมื่อ 2019-12-10.
  2. "สารจากคณบดี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล". Faculty of Science. สืบค้นเมื่อ 2019-12-10.
  3. "รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ – กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล". สืบค้นเมื่อ 2019-12-10.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๒๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๖๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔