พระแม่คายตรี
คายตรี (Sanskrit: गायत्री, IAST:gāyatrī)เป็นเทวีในศาสนาฮินดูและเป็นบุคลาธิษฐานแห่งพระคาถาคายตรีของพระเวท อันเป็นมนตร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากพระเวท[3] นามคำไวพจน์ของเจ้าแม่อันเป็นที่นิยมอื่น ๆ คือ สาวิตรี และ เวทมารดร (มารดรแห่งพระเวท) พระนางมีความเกี่ยวข้องกับพระสาวิตรี, พระสุริยเทพในพระเวท[4][5] และตามในคัมภึร์ สกันทะปุราณะ, คายตรี เป็นคำไวพจน์นามหนึ่งของพระสุรัสวดี หรือ เป็นเทพีภริยาอีกองค์หนึ่งของท้าวมหาพรหมธาดา[6] แต่ในลัทธิไศวะ, พระนางคือ พระเทพีมหาคายตรี อันเป็นเทพีภริยาศักติของพระศิวะ, ในภาคพระสทาศิวะอันมีห้าพักตร์สิบกรตามเทวประติมานวิทยา[7][8]ในบางท้องถิ่นพระนางคือเทพีภริยาศักติของพระวิษณุกรรม[9]
พระแม่คายตรี (Gayatri Goddess) | |
---|---|
เทวีในศาสนาฮินดู เทวีแห่งพระเวท , บุคลาธิษฐานแห่งพระคาถาคายตรี | |
ส่วนหนึ่งของ ประกฤติ (Prakriti / Pancha Prakriti)[1] | |
จิตรกรรมเจ้าแม่คายตรีเทพี ศิลปะอินเดียแบบประเพณีในปัจจุบัน โดย ราชา รวิ วรรมา | |
ชื่ออื่น | สาวิตรี (Savitri), เวทมารดร (Vedmata) |
ชื่อในอักษรเทวนาครี | गायत्री |
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤต | gāyatrī |
ส่วนเกี่ยวข้อง | เทวีในศาสนาฮินดู, พระสุรัสวดี, มหาเทวี, พระปารวตี, ทุรคา, พระลักษมี |
ที่ประทับ | สัตยโลก, มณีทวีป |
มนตร์ | พระคาถาคายตรี |
สัญลักษณ์ | พระเวท |
พาหนะ | หงส์ |
เทศกาล | คายตรี ชยันตี (Gayatri Jayanti), สรัสวดีบูชา (Saraswati puja) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | ท้าวมหาพรหม (ตามปุราณะส่วนใหญ่) พระสทาศิวะ (ในคติลัทธิไศวะ) พระพิษณุกรรม (ตามปุราณะท้องถิ่น)[2] |
ราชวงศ์ | อภิรา ( Abhira )/ ยาทพ ( Yadava ) |
เทพปกรณัม
แก้ในบางปุราณะ, คายตรีเป็นคำไวพจน์นามหนึ่งของพระสุรัสวดี, เทพีเอกภริยาของพระพรหม[10] ตามคัมภีร์มัตยะปุราณะ, พลังของวรกายด้านซ้ายของพระพรหม คือ สตรี, ซึ่งคือพระสุรัสวดี, สาวิตรีและคายตรี[11] ในคัมภีร์กูรมะปุราณะพระฤๅษีโคดมได้รับการประสิทธิ์ประสาทพรจากเทวีในศาสนาฮินดูคายตรีและสามารถขจัดอุปสรรคที่ท่านเผชิญในชีวิตได้ และตามคัมภีร์สกันทะปุราณะ กล่าวว่าพระนางคายตรีเป็นสตรีอันได้เสกสมรสกับพระพรหม, ซึ่งเป็นอนุภริยารองจากพระสุรัสวดี[12]
คัมภีร์ปุราณะไม่กี่เล่มกล่าวว่าพระแม่คายตรีเป็นเทวีอีกองค์หนึ่งอันมิใช่องค์กับพระสุรัสวดีและเสกสมรสกับพระพรหม ตามคัมภีร์ปัทมะปุราณะ นางคยาตรีคือ สตรีสามัญชนอันเป็นมนุษย์ชนชาติอภิระ (Abhira tribe) อันได้ช่วยเหลือพระพรหมในพิธีกรรมยัญโหมกูณฑ์ ณ นครบุษปกรสมบูณ์สัมฤทธิผล[13]
โดยเอกภรรยาองค์ของพระพรหมคือ สาวิตรีและ คายตรี คืออนุภรรยา เรื่องราวยังปรากฏต่อไปว่าพระแม่สาวิตรีทรงพิโรธและไม่พอพระทัยในการเสกสมรสของพระพรหมกับนางคายตรี และกล่าวคำสาปแด่เทพบุรุษและเทพีทั้งมวลที่มีส่วนร่วมในพิธีครั้งนี้[14][15]
อย่างไรก็ตาม ปัทมะปุราณาได้กล่าวต่อไปว่า หลังจากที่พระเทพีสาวิตรีได้ทรงรับการขออภัยโทษจากพระพรหม พระวิษณุ และพระลักษมี ให้ทรงหายพิโรธแล้ว นางจึงยอมรับคยาตรี ซึ่งเป็นสตรีมุนษย์ชนชาติอภิระ โดยมีฐานะดังเช่นเป็นขนิษฐาของพระนางอย่างเกษมสันต์[16]
เรื่องราวของพระแม่ได้รับการพัฒนาขนานนามต่อไปเป็นเทพีที่ทรงมีเทพลักษณะดุร้ายซึ่งสามารถสังหารปีศาจได้ ตามวราหะปุราณะ และ มหาภารตะ, พระแม่คายตรีได้ทรงปราบปรามปีศาจ เวตรสุระ (Vetrasura), บุตรชายของวฤตอสูร อันเกิดจากแม่น้ำเวตรวดี (Vetravati), อันตรงกับวันเทศกาลนวมี (Navami)[17][18]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ในลัทธิไศวะ มองว่า คายตรี เป็นมเหสีของ Parashiva ผู้สมบูรณ์ที่มีความสุขชั่วนิรันดร์ซึ่งปรากฏในรูปแบบของ พระสทาศิวะ มโนมณีมเหสีของพระสทาศิวะไม่ใช่ใครอื่นนอกจากรูปแบบมนต์ของคยาตรี ซึ่งครอบครองพลังของสามีของเธอ ภรกา ซึ่งอยู่ภายในตัวเธอ รูปแบบยอดนิยมของคายตรีที่มีห้าเศียรสิบกรพบครั้งแรกในภาพสัญลักษณ์ Saivite ของมโนมณีในอินเดียตอนเหนือเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ทัศนะของชาวไศวะเกี่ยวกับคายตรีดูเหมือนจะมีการพัฒนาในภายหลังจากการผสมผสานระหว่างการปฏิบัติพระเวทเกี่ยวกับความเคารพนับถือของคายตรีและการรวมชาวไศวะเข้าด้วยกันเป็นการสำแดงของ ศักติ นี่อาจเป็นที่มาของแง่มุมอันประเสริฐของ คายตรี ที่อธิบายไว้ในปุราณะในเวลาต่อมาว่านักฆ่าปีศาจ Vetra ระบุตัวเธอกับอาทิปราศักติ
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Ludo Rocher (1988). The Purāṇas (A History of Indian Literature.
- ↑ https://www.answers.com/Q/What_is_the_name_of_Lord_Vishwakarma_wife
- ↑ Bradley, R. Hertel; Cynthia, Ann Humes (1993). Living Banaras: Hindu Religion in Cultural Context. SUNY Press. p. 286. ISBN 9780791413319. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
- ↑ Constance Jones, James D. Ryan (2005), Encyclopedia of Hinduism, Infobase Publishing, p.167, entry "Gayatri Mantra"
- ↑ Roshen Dalal (2010), The Religions of India: A Concise Guide to Nine Major Faiths, Penguin Books India, p.328, entry "Savitr, god"
- ↑ Dalal, Roshen (2010). Hinduism: An Alphabetical Guide (ภาษาอังกฤษ). Penguin Books India. ISBN 978-0-14-341421-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 2020-10-01.
- ↑ Margaret Stutley (2006). Hindu Deities: A Mythological Dictionary with Illustrations. Munshiram Manoharlal Publishers. ISBN 9788121511643. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
- ↑ Omacanda Hāṇḍā (1992). Śiva in art: a study of Śaiva iconography and miniatures. Indus Pub. House.
- ↑ https://hinduism.stackexchange.com/questions/43169/who-is-goddess-gayatri-is-she-another-form-of-saraswati-or-saraswati-in-parasha
- ↑ Guru Granth Sahib an Advance Study. Hemkunt Press. p. 294. ISBN 9788170103219. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
- ↑ Ludvík, Catherine (2007). Sarasvatī, Riverine Goddess of Knowledge: From the. Brill. p. 119. ISBN 9789004158146. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
- ↑ Kennedy, Vans (1831). Researches Into the Nature and Affinity of Ancient and Hindu Mythology by Vans Kennedy. Longman, Rees, Orme, Brown and Green. pp. 317–324.
- ↑ Nambiar, K. Damodaran (1979). Nārada Purāṇa, a Critical Study. All-India Kashiraj Trust, 1979. p. 145.
- ↑ Sharma, Bulbul (2010). The book of Devi. Penguin Books India. pp. 72–75. ISBN 9780143067665. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
- ↑ Bansal, Sunita Pant (2005). Hindu Gods and Goddesses. Smriti Books. p. 23. ISBN 9788187967729. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-14. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
- ↑ Holdrege, Barbara A. (2012). Hindu Mythology, Vedic and Puranic. SUNY Press. ISBN 9781438406954. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-20. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
- ↑ B K Chaturvedi (2017). Varaha Purana. Diamond Pocket Books Pvt Ltd. p. 108. ISBN 9788128822261.
- ↑ Bibek, Debroy (2002). The holy Puranas Volume 2 of The Holy Puranas: Markandeya, Agni, Bhavishya, Brahmavaivarta, Linga, Varaha. B.R. Pub. Corp. p. 519. ISBN 9788176462969. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-12. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เจ้าแม่คายตรี