พระเอกกษัตรี
พระเอกกษัตรี หรือ พระเอกษัตรี[1] เป็นพระมเหสีพระองค์หนึ่งในสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งอาณาจักรอยุธยา เริ่มรับราชการฝ่ายในหลังจากที่พระศรีสุพรรณมาธิราชหรือพระบรมราชาที่ 7 พระชนก ยอมสวามิภักดิ์แก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้วพาครอบครัวมาเป็นเชลยศักดิ์ในกรุงศรีอยุธยา ต่อมาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงแต่งตั้งพระเอกกษัตรีเป็นพระมเหสี
พระเอกกษัตรี | |
---|---|
พระมเหสี | |
พระราชสวามี | สมเด็จพระนเรศวรมหาราช |
ราชวงศ์ | สุโขทัย (อภิเษกสมรส) |
พระราชบิดา | พระบรมราชาที่ 7 |
พระราชมารดา | พระภัควดีสุชาติชาตามหากระษัตรี |
พระประวัติ
แก้พระเอกกษัตรีเป็นเจ้านายกัมพูชา เป็นพระราชธิดาของพระบรมราชาที่ 7 (เอกสารไทยเรียกพระศรีสุพรรณมาธิราช)[2][3] กับพระชาติกษัตรี พระอัครมเหสี (ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระภัควดีสุชาติชาตามหากระษัตรี)[4] มีพระอนุชาและพระภคินีคือ พระวิสุทธกษัตรี, พระไชยเชษฐา และพระอุทัยราชา[5]
ในปี พ.ศ. 2137 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกทัพไปตีกรุงละแวกได้สำเร็จ พระบรมราชาที่ 4 หรือนักพระสัตถาและครอบครัวลงเรือพระที่นั่งหนีไปเมืองเชียงแตงของอาณาจักรล้านช้าง[5] ขณะที่พระศรีสุพรรณมาธิราชพระอนุชาของนักพระสัตถา เข้าสวามิภักดิ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงทรงพระกรุณาพาครอบครัวของพระศรีสุพรรณมาธิราชกลับกรุงศรีอยุธยาด้วย แล้วให้ตั้งบ้านนอกกำแพงเมือง[5] ครั้นปีถัดมาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงแต่งตั้งให้พระเอกกษัตรีพระธิดาของพระศรีสุพรรณมาธิราชเป็นพระมเหสี[5][6]
พระเอกกษัตรีได้ให้ประสูติกาลพระราชบุตร หรือสิ้นพระชนม์เมื่อใด ไม่เป็นที่ปรากฏ
พระนามของพระเอกกษัตรีถูกตั้งเป็นชื่อสระน้ำแห่งหนึ่งในมหาวิทยาลัยนเรศวร[6]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระเอกกษัตรี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ ประชุมพงศาวดาร เล่ม 43 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 69-70) เรื่องเกี่ยวกับกรุงเก่า ตอนที่ 1 เรื่องเมืองนครจัมปาศักดิ์ และเรื่องขุนบรมราชา. พระนคร : องค์การค้าคุรุสภา, 2512, หน้า 258
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553, หน้า 161
- ↑ กิตติ วัฒนะมหาตม์. ตำนานนางกษัตริย์. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์บุ๊คส์, 2553, หน้า 310
- ↑ เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์), นายพันตรี. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006) จำกัด, 2563, หน้า 99
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "พระนเรศวรฯ กับเมืองละแวก ใน พงศาวดารละแวก ฉะบับแปล จ.ศ. ๑๑๗๐". I see history. 21 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 6.0 6.1 "สนองนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว ตั้งชื่อสระน้ำธรรมชาติ เป็นพระนามของวีรกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์แห่งองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช". มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21 มิถุนายน 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-30. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)