พระเทพบิดร หรือจดหมายเหตุกรุงเก่าเรียก พระเชษฐบิดร[1] เป็นเทพตามความเชื่อของราชวงศ์ไทย ซึ่งจำลองเป็นพระพุทธรูปหุ้มเงินประดิษฐานไว้ในพระบรมมหาราชวัง และเชื้อพระวงศ์กับเหล่าขุนนางต้องสักการบูชาก่อนทำพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา[2]

ประวัติ

แก้

หลังสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 สวรรคต ในพ.ศ. 1912 ได้มีการสร้างพระบรมรูปของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 โดยขนานนามว่า พระเชษฐบิดร ให้ประชาชนสักการะในฐานะเทพารักษ์ประจำพระนคร และกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า น่าจะจำลองเป็นรูปพระนารายณ์อวตาร ครั้นถึงเวลาพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เหล่าข้าราชการก็จะต้องสักการะพระเชษฐบิดรก่อน แล้วจึงไปกราบบูชาพระรัตนตรัย และเข้าไปรับน้ำพระพิพัฒน์สัตยาตามลำดับ กลายเป็นประเพณีปฏิบัติตลอดมาจนเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2310[3]

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รูปพระเชษฐบิดรประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ แต่เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง พระเชษฐบิดรถูกทำลายลงด้วย สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงอัญเชิญซากนั้นมาบูรณะเป็นพระพุทธรูป แล้วประดิษฐานไว้ ณ ซุ้มปรางค์วัดพุทไธสวรรย์ พระนครศรีอยุธยา

ปัจจุบัน

แก้

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อสร้างกรุงเทพมหานครนั้น พระมหากษัตริย์มีพระราชดำริให้รื้อฟื้นประเพณีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา จึงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปพระเทพบิดรนั้นมาประดิษฐาน ณ กรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีรับสั่งให้สร้างพระวิหาร ณ พระบรมมหาราชวังเพื่อใช้สำหรับประดิษฐานพระเทพบิดรเป็นการเฉพาะ และพระราชทานนามว่า ปราสาทพระเทพบิดร เพื่อสืบสานประเพณีให้เหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา[1]

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเทพบิดรหายไปจากปราสาทฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า รัชกาลที่ 3 อาจโปรดให้รื้อปราสาทพระเทพบิดรและหอนากเดิมที่ตั้งใกล้กันนั้นออก จากนั้น จึงทรงให้สร้างวิหารขึ่้นใหม่ซึ่งใหญ่กว่าเดิมและใช้เป็นที่เก็บอัฐิของเหล่าเจ้านาย เมื่อรื้อเสร็จแล้ว จึงย้ายองค์พระเทพบิดรและพระนากไปประดิษฐานไว้ที่วิหารของพระธาตุแทนมาจนถึงปัจจุบัน[1]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 "ปราสาทพระเทพบิดร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-23. สืบค้นเมื่อ 2012-04-03.
  2. "พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-26. สืบค้นเมื่อ 2012-09-10.
  3. การปกครองสังคมสมัยอยุธยา[ลิงก์เสีย]