พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช

นายร้อยตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช (7 มีนาคม พ.ศ. 2432 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2452) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช กับหม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา

พระเจ้าวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช
พระเจ้าวรวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ7 มีนาคม พ.ศ. 2432
วังบูรพาภิรมย์, อาณาจักรสยาม
สิ้นพระชนม์5 พฤษภาคม พ.ศ. 2452 (20 ปี)
ไนซ์เซอ ประเทศเยอรมนี
ราชสกุลภาณุพันธุ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
พระมารดาหม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา
รับใช้กองทัพบกสยาม
ชั้นยศ ร้อยตรี

พระประวัติ แก้

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช (พระยศเดิม หม่อมเจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ประสูติแต่หม่อมแม้น ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2432 มีพระโสทรเชษฐาและพระโสทรขนิษฐา 2 พระองค์ คือ

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2452 ณ ประเทศเยอรมนี สิริพระชันษา 20 ปี[1]

พระเกียรติยศ แก้

พระอิสริยยศ แก้

  • หม่อมเจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช (7 มีนาคม พ.ศ. 2432 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436)
  • พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 - 12 เมษายน พ.ศ. 2443)[2]
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์วัฒนเดช (12 เมษายน พ.ศ. 2443 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2452)[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

  • พ.ศ. 2436 –   เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)

พระยศ แก้

พระยศทางทหาร แก้

  • 22 กันยายน พ.ศ. 2450: นายร้อยตรี[4]

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  • สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา. กรุงเทพ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, พ.ศ. 2547. หน้า หน้าที่. ISBN 974-272-911-5
  • ราชกิจจานุเบกษา. ประวัติ พระเจ้าวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าศิริวงษ์วัฒนเดช นายร้อยตรี กรมทหารบก. เล่ม 25, ตอน 17, วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451, หน้า 499.