พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงประภา

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงประภา (เดิม หม่อมเจ้าดวงประภา; 17 มกราคม พ.ศ. 2382 – 2 เมษายน พ.ศ. 2438) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 5 ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามาลัย ชาววังขนานพระนามลำลองว่า "พระองค์ตุ้ย" สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเรียกว่า "น้าตุ้ย"

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงประภา
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ17 มกราคม พ.ศ. 2382
สิ้นพระชนม์2 เมษายน พ.ศ. 2438 (56 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดามาลัย

พระประวัติ

แก้

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงประภา เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามาลัย เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 3 ขึ้น 2 ค่ำ ปีจอ สัมฤทธิศก จ.ศ. 1200 ตรงกับวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2381 (ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2482) มีพระโสทรขนิษฐา 1 พระองค์ คือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุดาสวรรค์

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงประภา สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะแม สัปตศก จ.ศ. 1257 ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2438 สิริพระชันษา 56 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2438 (ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2439)

พระกรณียกิจ

แก้

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นประธานในการแจกเบี้ยหวัดฝ่ายในฝ่ายพระบวรราชวังและบังคับบัญชาการสิทธิ์ขาดมาจนตลอดรัชสมัย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้ดูแลรักษาและบังคับบัญชาราชการฝ่ายในในพระบวรราชวัง

ผู้สำเร็จราชการวังหน้า

แก้

เมื่อปี พ.ศ. 2429 เมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทิวงคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาสยามมกุฎราชกุมาร อย่างสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้าตามราชประเพณีเดิม จึงประกาศพระราชกฤษฎีกาเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราชฝ่ายหน้าแต่นั้นมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริจะไม่ให้พระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ร้าง จึงโปรดฯ ให้คงจัดรักษาเป็นพระราชวัง ให้มีเจ้าพนักงานรักษาหน้าที่อยู่อย่างเดิม ทรงมอบหมายการปกครองให้พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงประภา พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสำเร็จราชการฝ่ายในทั่วไป และโปรดฯ ให้เสด็จมาประทับที่พระที่นั่งสาโรชรัตนประพาส

เมื่อพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงประภา สิ้นพระชนม์ โปรดฯ ให้ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุดาสวรรค์ พระโสทรขนิษฐาในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงประภา ทรงสำเร็จราชการฝ่ายในวังหน้าต่อมา เหมือนอย่างพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงประภา และโปรดฯ ให้พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ พระโสทรกนิษฐภคินีในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเสด็จขึ้นมาประทับที่พระที่นั่งบวรบริวัติมาจนตลอดรัชสมัย

พระเกียรติยศ

แก้

พระอิสริยยศ

แก้
  • หม่อมเจ้าดวงประภา (5 สิงหาคม พ.ศ. 2353 – 2 เมษายน พ.ศ. 2394)
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงประภา (12 เมษายน พ.ศ. 2399 – พ.ศ. 2430)[1][2]
  • พระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงประภา (พ.ศ. 2430 – 2 เมษายน พ.ศ. 2438)
  • พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงประภา (หลังสิ้นพระชนม์)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถาน. พระเจ้าวรวงศ์เธอ (ตอนที่ ๑) (๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒). เรียกดูเมื่อ 13 เมษายน 2556
  2. กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ราชสกุลวงศ์ เก็บถาวร 2017-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ:สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. 2554, หน้า 229
  3. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 10 (ตอน 35): หน้า 374. 26 พฤศจิกายน 2436. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)