พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากำพุชฉัตร

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากำพุชฉัตร ลางแห่งสะกดว่า กัมพุชฉัตร[1][2][3], กำภูฉัตร หรือ กัมโพชฉัตร[4] เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานักองค์อี

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้ากำพุชฉัตร
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอชั้น 1
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติพ.ศ. 2329
สิ้นพระชนม์ไม่ปรากฏ
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
พระมารดาเจ้าจอมมารดานักองค์อี
ศาสนาพุทธ

พระประวัติ แก้

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากำพุชฉัตร เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานักองค์อี[1] หรือพระนามในราชสำนักเขมรว่าสมเด็จพระศรีวรราชธิดา[5] พระนาม "กำพุชฉัตร" มีความหมายว่า ฉัตรแห่งกัมพูชา เพราะเจ้าจอมมารดานักองค์อี เป็นพระราชธิดาในพระนารายน์ราชารามาธิบดี พระเจ้ากรุงกัมพูชา[6] มีพระขนิษฐาร่วมพระชนนีคือ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงศ์มาลา (ลางแห่งออกพระนามว่า วงศ์กษัตริย์)[7]

เจ้าจอมมารดานักองค์อี พระชนนี เป็นพระราชธิดาในพระนารายน์ราชารามาธิบดี หรือนักองค์ตน พระเจ้ากรุงกัมพูชา ที่ประสูติแต่นักนางแม้น (หรือแป้น) และมีพระภคินีต่างมารดาที่รับราชการเป็นฝ่ายในของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทด้วยกันคือเจ้าจอมมารดานักองค์เภา[3] ส่วนนักนางแม้นที่เข้ามาในกรุงเทพมหานครด้วยกันนั้นก็ได้บวชเป็นชีที่วัดหลวงชี (ต่อมาคือ วัดบวรสถานสุทธาวาส)[8] ด้วยความที่พระองค์มีพระชนนีเป็นราชนิกูลจากต่างแดน พระองค์จึงถูกพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุดาสวรรค์ ซึ่งเป็นเจ้าวังหน้าด้วยกันมองว่า "อยู่ข้างจะเฟื่องฟู" และดู "ท่านบอ ๆ"[9][10]

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากำพุชฉัตรทรงเชี่ยวชาญเชิงกวีและนิพนธ์กลอนเบ็ดเตล็ด ทั้งยังเป็นพระราชธิดาที่มีความสนิทสนมกับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสีหนาทมาก ครั้นเมื่อพระชนกประชวรก็มีโอกาสเข้าเฝ้าข้างพระที่อย่างใกล้ชิด และในช่วงเวลาดังกล่าวก็นิพนธ์เพลงยาว นิพานวังน่า หรือ นิพพานวังหน้า[1] ที่มีเนื้อหาสำคัญยิ่งของประวัติศาสตร์วังหน้าช่วงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่สำนวนแต่งไม่ใคร่ราบรื่นนัก[2]

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากำพุชฉัตรมีพระชันษายืนนานก่อนจะสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ปรากฏว่าพุทธศักราชใด[4]

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "พระพุทธสิหิงค์ มีภาพเล่าเรื่องแห่งเดียวในไทย ที่ผนังโบสถ์วัดพระแก้ว วังหน้า อย่าเบียดบังและปิดบัง". มติชนออนไลน์. 17 พฤษภาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 ศิลปวัฒนธรรม. 22: 3 (มกราคม 2544), หน้า 96
  3. 3.0 3.1 ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ฉบับสมบูรณ์ (ภาคจบ). พิมพ์ครั้งที่ 2. นครหลวงฯ : รุ่งวัฒนา. 2515, หน้า 11-29
  4. 4.0 4.1 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 112. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.
  5. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์). กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2562, หน้า 156
  6. ไพกิจ คงเสรีภาพ (2553). พระนามพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์จักรี : การวิเคราะห์โครงสร้างและความหมาย (PDF). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. p. 135.
  7. กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 114. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2015-05-06.
  8. "พระราชวังบวรสถานมงคล". สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชวิจารณ์ ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายความทรงจำของพระเจ้าไปยิกาเธอ กรมหลวงนรินทรเทวี (เจ้าครอกวัดโพธิ์). กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา, 2562, หน้า 211-212
  10. ดิเรก หงษ์ทอง (มกราคม–มิถุนายน 2558). "พงศาวดารเขมรใน "นิพานวังน่า" : ความสำคัญต่อการตีความชีวิตของเจ้านายเขมรพลัดถิ่นในสยาม". วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน (6:1), หน้า 206

แหล่งข้อมูลอื่น แก้