พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ (26 เมษายน พ.ศ. 2424 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2477) เป็นพระราชธิดาลำดับที่ 34 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจันทร์ ธิดาของพระยาราชสัมภารากร (เทศ) เมื่อวันอังคาร เดือน 5 แรม 13 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรีศก จุลศักราช 1243 ตรงกับวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2424 เมื่อทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนราชกุมารีในพระราชวังหลวง ทรงศึกษาภาษาไทยและภาษาอังกฤษกับพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หลังจากนั้นได้ทรงศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เองมาตลอด
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
ประสูติ | 26 เมษายน พ.ศ. 2424 |
สิ้นพระชนม์ | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 (53 ปี) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาจันทร์ ในรัชกาลที่ 5 |
ในปี พ.ศ. 2472 พระองค์ได้ทรงจัดงานยิ่งใหญ่งานหนึ่งที่วังบางขุนพรหม เรียกว่า "งานสี่มะเส็ง" โดยทรงชักชวนเจ้านายพี่น้องที่ประสูติในปีมะเส็งร่วมสหชาติเดียวกันจำนวนสี่พระองค์ ประกอบด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน และพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์ รวมถึงพระองค์เองด้วยเพื่อทรงร่วมบริจาคเงินสมทบทุนสร้างตึกถาวรวัตถุเป็นพระอนุสรณ์ชื่อว่า "ตึกสี่มะเส็ง" ที่สถานเสาวภาภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ภายหลังจากสมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จสวรรคต หลังปี พ.ศ. 2462 ได้ทรงย้ายที่ประทับจากตำหนักสวนภาพผู้หญิงในวังสวนดุสิตมาประทับที่สวนสุนันทา พระองค์ทรงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ทรงใฝ่พระทัยในธรรมะ งานที่โปรดคือการเย็บปักถักร้อยและงานแกะสลัก รวมทั้งโปรดกีฬากอล์ฟและการออกแบบเสื้อผ้า สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงถึงกับทรงมอบหมายให้ทำหน้าที่ตัดเย็บฉลองพระองค์
พระองค์เคยประทับที่วังศศิพงศ์ประไพ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา วังของพระองค์อยู่ใกล้วังวาริชเวสม์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร พระองค์สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 7 แรม 3 ค่ำ ปีจอ ฉศก จุลศักราช 1296 ตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 สิริพระชันษา 53 ปี ด้วยพระอาการพระอันตะ(ลำไส้ใหญ่)อักเสบ[1]
พระเกียรติยศ
แก้ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ธงประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
แก้- พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ (26 เมษายน พ.ศ. 2424 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2468)
- พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ (9 ธันวาคม พ.ศ. 2468 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2477)
ภายหลังสิ้นพระชนม์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของตระกูลต่าง ๆ ดังนี้[1]
- พ.ศ. 2442 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[2]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[3]
- พ.ศ. 2455 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[4]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 2 (ป.ป.ร.2)[5]
ราชสกุล
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ |
พระชนก: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระอัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี |
พระปัยกาฝ่ายพระชนก: สมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก: หม่อมน้อย | |||
พระชนนี: เจ้าจอมมารดาจันทร์ |
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี: พระยาราชสัมภารากร (เทศ) |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล | |
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล | |||
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ท่านผู้หญิงอ่ำ |
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล | ||
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี: ไม่มีข้อมูล |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม 51, ตอน 0 ง, 10 มิถุนายน พ.ศ. 2477, หน้า 765
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า และถวายบังคมพระบรมรูป เนื่องในวันคล้ายกับวันพระบรมราชาภิเษกครั้งหลัง ตามสุริยตคติ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 16, ตอน 34, 19 พฤศจิกายน ร.ศ. 118, หน้า 498
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 25, ตอน 35, 27 ธันวาคม ร.ศ. 127, หน้า 1153
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายใน, เล่ม 29, ตอน 0 ง, 22 มกราคม ร.ศ. 131, หน้า 2444
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 43, ตอน 0 ง, 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469, หน้า 3114
- ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-222-648-2
- บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2539. หน้า หน้าที่573. ISBN 974-0056-50-8 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum