พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามณฑา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามณฑา หรือออกพระนามว่า มณฑาใหญ่[1] (พ.ศ. 2333 – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2404) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 24 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นพระองค์เดียวที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานิ่ม เมื่อปี พ.ศ. 2333[2]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามณฑา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 1
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติพ.ศ. 2333
สิ้นพระชนม์18 กรกฎาคม พ.ศ. 2404
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระมารดาเจ้าจอมมารดานิ่ม ในรัชกาลที่ 1

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามณฑา ทรงรอบรู้หนังสือทั้งไทยและขอม จนได้เป็นพระอาจารย์ถวายการสอนพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลายพระองค์[3]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามณฑาทรงร่วมกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุบล พระขนิษฐาต่างมารดา นิพนธ์เรื่อง กุมารคำฉันท์ ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2466[4]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามณฑาประชวรพระโรคหืดและพระโรคชรา[2] สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2404 สิริพระชันษา 71 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2404[3]

พระอิสริยยศ แก้

ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามณฑา
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ามณฑา (พ.ศ. 2333 – 7 กันยายน พ.ศ. 2352)
  • พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้ามณฑา (7 กันยายน พ.ศ. 2352 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามณฑา (21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2404)

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์. จดหมายเหตุบัญชีน้ำฝน เล่ม 2. พระนคร : ราชบัณฑิตยสภา. 2471, หน้า 15
  2. 2.0 2.1 ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ:ฐานบุ๊คส์. 2554, หน้า 246
  3. 3.0 3.1 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2013-12-30.
  4. เอนก นาวิกมูล. หญิงชาวสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2547, หน้า 29-30