หม่อมไกรสร
หม่อมไกรสร มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าไกรสร ต่อมามีพระอิสริยยศเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงรักษ์รณเรศ (26 ธันวาคม พ.ศ. 2334 – 13 ธันวาคม พ.ศ. 2391) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว ทรงเป็นต้นราชสกุล พึ่งบุญ และสกุลอนิรุทธเทวา
หม่อมไกรสร | |
---|---|
พระรูปปั้น ณ วัดเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา | |
ผู้กำกับราชการกรมวัง | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ผู้กำกับราชการกรมสังฆการี | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ผู้กำกับราชการกรมพระคชบาล | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงเทพพลภักดิ์ |
เกิด | 26 ธันวาคม พ.ศ. 2334 กรุงเทพพระมหานคร อาณาจักรรัตนโกสินทร์ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าไกรสร |
เสียชีวิต | 13 ธันวาคม พ.ศ. 2391 (56 ปี) วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร กรุงเทพพระมหานคร อาณาจักรรัตนโกสินทร์ |
บุตร | 11 คน |
ราชสกุล | พึ่งบุญ |
ราชวงศ์ | จักรี |
บิดา | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช |
มารดา | เจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว |
ศาสนา | เถรวาท |
ถูกกล่าวหา | กบฏ หรือ รักร่วมเพศ |
รับโทษ | สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ |
ธรรมเนียมพระยศของ กรมหลวงรักษ์รณเรศ (พ.ศ. 2334–2391) | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
ประวัติ
แก้หม่อมไกรสรเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชกับเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว ธิดาพระจักรีเมืองนครศรีธรรมราช ประสูติเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2334 ตรงกับวันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้นสองค่ำ ปีกุน สัมฤทธิศก จ.ศ. 1210 พระประวัติเมื่อทรงพระเยาวน์นั้น ก.ศ.ร. กุหลาบบันทึกไว้ว่า "พระองค์ท่านเปนจอมปราชญ์ จินตะกระวีบัณฑิตย์ ชาติ์ราชตระกูลสุริยวงศ์อันประเสริฐ" และจากวารสารภาษาอังกฤษที่ชื่อ Siam Repository กล่าวถึงความโดดเด่นโดยเฉพาะด้านการศาสนาและโหราศาสตร์ ว่า "ทรงมีความรู้ทางด้านศาสนาพุทธอย่างดีเยี่ยม เหนือกว่าพระบรมวงศานุวงศ์อื่น ๆ"[1] ด้วยเหตุนี้รัชกาลที่ 2 จึงทรงสถาปนาเป็น กรมหมื่นรักษรณเรศร กำกับกรมสังฆการี ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ทรงกำกับกรมวังและอธิบดีกรมพระคชบาลต่อจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงเทพพลภักดิ์ ซึ่งเป็นพระเชษฐา
นอกจากนี้หม่อมไกรสร เมื่อยังทรงเป็นกรมหมื่นรักษรณเรศรได้ทรงงานเคียงคู่กับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และในฐานะพระปิตุลาหรือ "อา" ทรงงานรับใช้ราชการเคียงคู่กับพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเกือบตลอดรัชกาล โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น กรมหลวงรักษ์รณเรศ และโปรดให้กำกับกรมวัง
ผลงานของหม่อมไกรสร ทรงมีอำนาจหน้าที่อย่างกว้างขวางทั้งในทางการตัดสินคดีความ กำกับกรมวัง ดูแลการจ่ายเบี้ยหวัดประจำปีของพระราชวงศ์และขุนนาง
ในปี พ.ศ. 2381 หม่อมไกรสรเป็นตุลาการชำระความคดีเจ้าจอมอิ่มกับพระสุริยภักดี ซึ่งแม้จำเลยทั้งสองคนจะไม่เคยพบกันคุยตัวต่อตัว แต่มีพ่อสื่อแม่ชักเป็นตัวกลางให้ทั้งสองคน แต่ก็ได้รับพิพากษาประหารชีวิตทั้งชายหญิง[2]
พ.ศ. 2385 สันนิษฐานว่าหม่อมไกรสรได้กำกับเมืองนครเขื่อนขันธ์หลังจากที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพทิวงคต ปรากฏหลักฐานว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมไกรสรไปกำกับเลกทำอิฐสร้างเมือง[3]
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) บันทึกเกี่ยวกับหม่อมไกรสร มีประเด็นคำพิพากษา คือ หม่อมไกรสรประพฤติกำเริบ ทำตนเทียมเจ้าในงานลอยกระทง เกลี้ยกล่อมเจ้านาย ขุนนางและซ่องสุมกองทหารรามัญไว้เป็นพวกพ้อง แต่ถูกสอบสวนว่าซ่องสุมผู้คนไว้มากเพื่อคิดกบฏหรือไม่ หม่อมไกรสรตอบปฏิเสธว่า "ไม่ได้คิดกบฏ" แต่เมื่อถามว่า หากเปลี่ยนแผ่นดินเมื่อไหร่ก็จะไม่ยอมเป็นข้าใคร[4] ตุลาการในสมัยนั้นจึงมีคำตัดสินออกมาส่วนหนึ่ง ว่า "...กรมหลวงรักษ์ณรเรศมีความผิด ต้องลดอิสริยศักดิ์สมญาเป็นหม่อม ตลอดทั้งวงศ์วาน..."[5]
นอกจากนี้มูลเหตุอีกอย่างหนึ่งที่พระองค์เจ้าไกรสรถูกถอดอิสริยยศคือ ทรงเลี้ยงโขนผู้ชายไว้มากมาย บรรทมอยู่แต่กับพวกโขนละคร ไม่บรรทมกับพวกหม่อมห้ามในวังเลย รัชกาลที่ 3 มีรับสั่งให้เอาพวกโขนละครมาไต่สวน ได้ความสมกันว่า "...ทรงเป็นสวาทกับพวกละคร ไม่ถึงกับชำเรา แต่เอามือพวกละครและมือของพระองค์ท่านกำคุยหฐานของทั้งสองฝ่ายจนภาวธาตุเคลื่อน..." [6]
หม่อมไกรสรถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ที่วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย แรม 3 ค่ำ ปีวอก สัมฤทธิศก จ.ศ. 1210 ตรงกับวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2391 รวมพระชันษา 56 ปี และเป็นพระราชวงศ์องค์สุดท้ายที่ถูกสำเร็จโทษด้วยวิธีนี้[7]
โอรส-ธิดา
แก้หม่อมไกรสรเป็นต้นราชสกุล พึ่งบุญ ได้รับพระราชทานเป็นลำดับที่ 3[8] ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่แปลกกว่าราชสกุลอื่นตรงที่จะนำพระนามของต้นสกุลมาตั้งออกพระนาม ส่วนราชสกุล "พึ่งบุญ" กลับไม่ใช้พระนามของพระองค์เจ้าไกรสร หม่อมไกรสรมีหม่อมหลายท่านแต่ไม่ปรากฏนาม มีพระบุตรทั้งหมด 11 องค์ เดิมมียศเป็น หม่อมเจ้า ที่ต่อมาถูกลดเป็น หม่อม ทั้งหมด ได้แก่
- หม่อมนิลบน
- หม่อมอุบลรัศมี
- หม่อมขนิษฐา
- หม่อมสิงหรา (พ.ศ. 2362 - ไม่มีข้อมูล)
- หม่อมกรุง (พ.ศ. 2366 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2431)[9] ภายหลังหม่อมกรุงได้เป็นเจ้ากรมวัดราชโอรส ภรรยาชื่อ หนู บุตรีพระยาวิเศษสงคราม (แก้ว)
- หม่อมราชวงศ์หนูเล็ก พึ่งบุญ
- หม่อมนก
- หม่อมบุษบง
- หม่อมไม่ปรากฏนาม (ไม่มีข้อมูล - พ.ศ. 2386)
- หม่อมเผือก
- หม่อมโกเมศ
- หม่อมอำพล
- พระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมราชวงศ์ละม้าย พึ่งบุญ:ไม่ปรากฏ — 18 เมษายน พ.ศ. 2451[10]) สมรสกับพระนมทัด พึ่งบุญ ณ อยุธยา
- พลเอก พลเรือเอก เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ)
- พลตรี พระยาอนิรุทธเทวา (หม่อมหลวงฟื้น พึ่งบุญ)
- หม่อมหลวงหญิงถนอม พึ่งบุญ
- หม่อมราชวงศ์นุช พึ่งบุญ
- หม่อมหลวงอ้น พึ่งบุญ
- พระยาประสิทธิ์ศุภการ (หม่อมราชวงศ์ละม้าย พึ่งบุญ:ไม่ปรากฏ — 18 เมษายน พ.ศ. 2451[10]) สมรสกับพระนมทัด พึ่งบุญ ณ อยุธยา
ต้นตระกูล , พึ่งบุญ ณ อยุธยา (กทม), ไกรสรฤทธิ์ , เกษร (มาเก๊า), เท่าที่ปรากฏ[11]
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้มีนักแสดงผู้รับบท หม่อมไกรสร ได้แก่
- ศุกล ศศิจุลกะ จากละครเรื่อง ข้าบดินทร์ (2558)
- ชานน สันตินธรกุล จากละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส 2 (2565)
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของหม่อมไกรสร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ Siam J. Smith. Siam Repository, Vol 1, January 1869, p. 337.
- ↑ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3. (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2538) น. 76.
- ↑ รุ่งโรจน์ อภิรมย์อนุกูล. "เมืองพระประแดง: จากคลองเตย มานครเขื่อนขันธ์จบที่อำเภอพระประแดง" (PDF). ดำรงวิชาการ. p. 48.
- ↑ เหตุประหาร "หม่อมไกรสร" เพื่อนยากในรัชกาลที่ 3
- ↑ ภาณุพันธุวงศ์วรเดช, สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยา. เรื่องเดิม, หน้า 117-118.
- ↑ นัดดา อิศรเสนา ณ อยุธยา. เรื่องเดิม, หน้า 23.
- ↑ "การประหารด้วยท่อนจันทน์ครั้งสุดท้าย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2011-07-11.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 648. 26 มิถุนายน 2456. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-18. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 5 (13): 112. 2 สิงหาคม พ.ศ. 2431.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ ข่าวตาย
- ↑ ชายในหม่อมห้าม หนังสือเล่มโดย บุญชัย ใจเย็น เลขส่วนเนื้อหา 1 หน้าที่ 13
- บรรณานุกรม
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 17-18. ISBN 978-974-417-594-6
- ศุภวัฒย์ เกษมศรี, หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 25. ISBN 974-221-818-8