พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ สุขวัฒนวิไชย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ สุขวัฒนวิไชย[1] (2 พฤษภาคม พ.ศ. 2334 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2396) มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายสุริยวงศ์ ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 3 ค่ำ ปีกุน ตรีศก จุลศํกราช 1153 ตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2334 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประสูติแต่เจ้าจอมมารดานวล

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ สุขวัฒนวิไชย
ประสูติ2 พฤษภาคม พ.ศ. 2334
สิ้นพระชนม์17 ธันวาคม พ.ศ. 2396 (62 ปี)
พระบุตร9 องค์
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระมารดาเจ้าจอมมารดานวล
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ สุขวัฒนวิไชย
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระองค์ทรงรับราชการในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ต่อมาวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2372 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นสวัสดิวิไชย[2]

วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนกรมขึ้นเป็น กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ์ สุขวัฒนวิไชย[3]

และวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ใช้คำนำพระนามว่า พระเจ้าบรมวงษ์เธอ[4]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ ประชวรด้วยพระโรคชรา สิ้นพระชนม์เมื่อวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือนอ้าย ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. 1215 ตรงกับวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2396 สิริพระชันษา 62 ปี 8 เดือน 14 วัน[5] พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2397[1]

พระโอรส-พระธิดา แก้

พระโอรส แก้

  • หม่อมเจ้าชายถัด
  • หม่อมเจ้าชายเอี่ยม
  • หม่อมเจ้าพระญาณวราภรณ์ (รอง) (พ.ศ. 2359 - 15 มิถุนายน พ.ศ. 2422)
  • หม่อมเจ้าชายจีบ (ไม่มีข้อมูล - 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442)
  • หม่อมเจ้าชายอรุณ
  • หม่อมเจ้าชายจั่น (ไม่มีข้อมูล - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2454)
  • หม่อมเจ้าชายอ้น (ไม่มีข้อมูล - 2 มิถุนายน พ.ศ. 2443)[6]

พระธิดา แก้

  • หม่อมเจ้าหญิงนิ่ม
  • หม่อมเจ้าหญิงน้อย (พ.ศ. 2390 - 12 เมษายน พ.ศ. 2439)

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 ราชสกุลวงศ์, หน้า 17
  2. พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓: ๕. ทรงสถาปนาสมเด็จพระพันปีหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์
  3. พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔: ๑๒. ตั้งกรมเจ้านาย
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (ก): 154–155. 30 กรกฎาคม ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔: ๓๕. กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสและกรมหลวงพิเศษศรีสวัสดิ์สิ้นพระชนม์
  6. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, หน้า 24
บรรณานุกรม
  • ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (พ.ศ. 2481). "พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help) [ที่ระลึก ในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิงวงษานุประพัทธ์ (ตาด สนิทวงศ์ ณอยุธยา)]
  • ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (พ.ศ. 2477). "พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๔". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help) [ที่ระลึก ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงธรรมสารเนติ (อบ บุนนาค)]
  • บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : องค์การค้าของคุรุสภา, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2539. ISBN 974-005-650-8 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 24. ISBN 974-221-818-8
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 57. ISBN 978-974-417-594-6