พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์[1] (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2358 - 4 กันยายน พ.ศ. 2421) พระนามเดิม หม่อมเจ้าคเนจร ประสูติเมื่อวันอังคาร เดือน 7 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน สัปตศก จ.ศ. 1177 ตรงกับวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2358 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะยังดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์) และเจ้าจอมมารดาน้อยเมือง ทรงเป็นต้นราชสกุลคเนจร[2]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 3 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
ประสูติ | 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2358 |
สิ้นพระชนม์ | 4 กันยายน พ.ศ. 2421 (64 ปี) |
พระบุตร | 30 พระองค์ |
ราชสกุล | คเนจร |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาน้อยเมือง |
ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
เมื่อพระบิดาครองราชย์แล้วจึงทรงยกขึ้นเป็นพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าคเนจร ถึงวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2388 จึงได้รับโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากรมหมื่นอมเรนทรบดินทร[3][4] และโปรดให้กำกับกรมช่างมุก ทรงดูแลการก่อสร้างวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร และบูรณะวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นต้น[1]
กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์สิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันพุธ เดือน 10 ขึ้น 8 ค่ำ ปีขาล สัมฤทธิศก จุลศักราช 1240 ตรงกับวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2421 พระชันษา 64 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2422[5] และในวันที่ 15 กรกฎาคม ร.ศ. 130 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ใช้คำนำพระนามว่าพระเจ้าบรมวงษ์เธอ[6]
พระโอรส-ธิดา
แก้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ มีพระโอรสและธิดา 31 พระองค์ คือ[7]
- หม่อมเจ้าชายพวงวาส คเนจร (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ พ.ศ. 2407)
- หม่อมเจ้าหญิงประภาพิศ คเนจร
- หม่อมเจ้าชายเฉลิม คเนจร
- หม่อมเจ้าชายเจริญ คเนจร บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าจำเริญ (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2444)
- หม่อมเจ้าชายสง่า คเนจร
- หม่อมเจ้าชายเมฆิน คเนจร (ประสูติเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2388 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462) มีโอรส คือ หม่อมอมรวงษ์วิจิตร (หม่อมราชวงศ์ปฐม คเนจร)
- หม่อมเจ้าหญิงราษี คเนจร (ประสูติ พ.ศ. 2388 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2463)
- หม่อมเจ้าหญิงเยาวเรศ คเนจร
- หม่อมเจ้าชายสายทรวง คเนจร
- หม่อมเจ้าชายดวงเนตร คเนจร
- หม่อมเจ้าหญิงนิกร คเนจร
- หม่อมเจ้าชายกลาง คเนจร
- หม่อมเจ้าชายรอง คเนจร
- หม่อมเจ้าหญิงกลาง คเนจร
- หม่อมเจ้าหญิงรอง คเนจร
- หม่อมเจ้าชายเล็ก คเนจร
- หม่อมเจ้าหญิงเล็ก คเนจร
- หม่อมเจ้าชายเชื้อชิต คเนจร (ประสูติ พ.ศ. 2397 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2439 พระราชทานเพลิง ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม) เสกสมรสกับหม่อมราชวงศ์หญิงนารี คเนจร (ราชสกุลเดิม : นรินทรกุล) มีโอรส คือ หม่อมราชวงศ์จิตร คเนจร (พระชาติกระการ)
- หม่อมเจ้าชายศฤงฆารเครือ คเนจร บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าสิงฆาร (ประสูติ พ.ศ. 2401 สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2435)
- หม่อมเจ้าชายสิงห์ คเนจร (พระราชทานเพลิง ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2439)
- หม่อมเจ้าชายจังหวัด คเนจร (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2439)
- หม่อมเจ้าชายทิชากร คเนจร (ประสูติ พ.ศ. 2407)
- หม่อมเจ้าหญิงกานดาดวง คเนจร (พระราชทานเพลิง ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2433)
- หม่อมเจ้าหญิงปฤษฎางค์ คเนจร (สิ้นชีพิตักษัย 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2439)
- หม่อมเจ้าหญิงยุภาพิน คเนจร (สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2450)
- หม่อมเจ้าหญิงยุพินพงษ์ คเนจร บางแห่งว่าชื่อหม่อมเจ้าหญิงยุภิมท์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ พ.ศ. 2409)
- หม่อมเจ้าชายเขมน คเนจร
- หม่อมเจ้าหญิงไพ คเนจร
- หม่อมเจ้าชายสารพัดเพ็ชร์ คเนจร (พระราชทานเพลิง ณ วัดราชาธิวาส เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443)
- หม่อมเจ้าหญิงสำอางองค์ คเนจร (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2429)
- หม่อมเจ้าสว่างวัฒนา คเนจร[8] มีโอรส คือ 1.หม่อมราชวงศ์มุ้ย คเนจร 2.หม่อมราชวงศ์หญิงแห้ว คเนจร
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอมเรนทรบดินทร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ 1.0 1.1 ราชสกุลวงศ์, หน้า 39
- ↑ "ประกาศกระทรวงมุรธาธร เรื่อง ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ ๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 30 (0 ง): 834. 27 กรกฎาคม 2456. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 73
- ↑ พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓ : ๕. ทรงสถาปนาสมเด็จพระพันปีหลวงและพระบรมวงศานุวงศ์
- ↑ พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, หน้า 67
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (ก): 155. 30 กรกฎาคม ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน พ.ศ. 2561.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี, หน้า 131-133
- ↑ หนังสืออนุสรณ์พระราชทานเพลิงศพ หม่อมหลวงนกแก้ว คเนจร (คุณหญิงรามจตุรงค์)
- บรรณานุกรม
- ราชสกุลวงศ์จดหมายเหตุเรื่องทรงตั้งพระบรมวงศานุวงศ์กรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 508 หน้า. ISBN 974-417-527-3
- ทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค), เจ้าพระยา (18 กุมภาพันธ์ 2481). "พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓". ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : องค์การค้าของคุรุสภา, พ.ศ. 2539. ISBN 974-005-650-8 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
- ศุภวัฒย์ เกษมศรี, หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า 67, 131-133. ISBN 974-221-818-8
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 39-40. ISBN 978-974-417-594-6