ซีโมน แห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา
ซีเมออนแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา (เยอรมัน: Simeon von Sachsen-Coburg und Gotha) หรือ ซีเมออน บอรีซอฟ ซักสโกบูร์กกอตสกี (บัลแกเรีย: Симеон Борисов Сакскобургготски) หรือ พระเจ้าซาร์ซีเมออนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย (ประสูติ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1937) เป็นบุคคลสำคัญในสังคมการเมืองและราชวงศ์บัลแกเรีย พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรียตั้งแต่ ค.ศ. 1943 จนกระทั่ง ค.ศ. 1946 เมื่อระบอบกษัตริย์ได้ถูกล้มล้าง หลังจากนั้นพระองค์ได้ดำรงเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐบัลแกเรียตั้งแต่กรกฎาคม ค.ศ. 2001 ถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2005
ซีเมออนที่ 2 | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรีย | |||||
สมเด็จพระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรีย | |||||
ครองราชย์ | 28 สิงหาคม ค.ศ. 1943 – 15 กันยายน ค.ศ. 1946 | ||||
ก่อนหน้า | พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย | ||||
ถัดไป | ราชาธิปไตยถูกล้มล้าง | ||||
พระราชสมภพ | 16 มิถุนายน ค.ศ. 1937 | ||||
คู่อภิเษก | มาร์การิตา โกเมซ-อเชโบ ยี เซจูลา | ||||
พระราชบุตร | เจ้าชายคาร์ดัม เจ้าชายแห่งทาร์โน คิริล เจ้าชายแห่งพาร์ลาฟ เจ้าชายคูบราต เจ้าชายแห่งพาไนท์ยูริชเต เจ้าชายคอนสแตนติน-อัสเลน เจ้าชายแห่งวิดิน เจ้าหญิงคาลินาแห่งบัลแกเรีย ดัชเชสแห่งแซกโซนี | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย | ||||
พระราชมารดา | โจวันนาแห่งซาวอย สมเด็จพระราชินีแห่งบัลแกเรีย | ||||
ลายพระอภิไธย |
พระราชประวัติ
แก้พระเจ้าซาร์ซิเมออนเป็นพระราชโอรสในพระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรียกับเจ้าหญิงจีโอวันนาแห่งซาวอยและมีความเกี่ยวข้องกับหลายๆราชวงศ์ในยุโรป รวมทั้ง สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร,สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียมและอดีตกษัตริย์แห่งอิตาลีคือสมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลีและสมเด็จพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 2 แห่งอิตาลี เมื่อพระองค์ทรงประสูติพระราชบิดาของพระองค์ได้ส่งเครื่องบินไปที่แม่น้ำจอร์แดนเพื่อนำน้ำในแม่น้ำมาทำพิธีแบ็ฟติสท์ให้เจ้าชายซิเมออนเพื่อเข้ารีตคริสต์นิกายออร์ทอด็อกซ์ เจ้าชายซิเมออนได้ครองราชย์สมบัติเป็นพระเจ้าซาร์เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1943 สืบต่อจากพระราชบิดาของพระองค์ซึ่งเสด็จสวรรคตอย่างเป็นปริศนาหลังจากเสด็จกลับมาจากการเข้าพบอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ฟือเรอห์แห่งเยอรมนี เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์มีพระชนมายุเพียง 6 พรรษาเท่านั้น เจ้าชายคิริลแห่งบัลแกเรียผู้เป็นพระปิตุลาของพระองค์,นายกรัฐมนตรีบอร์ดาน ฟิลอฟ และพลโทนิโคลา มิเฮย์ลอฟ มิฮอฟแห่งกองทัพบัลแกเรียได้เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระองค์ตรัสถึงเหตุการณ์ในช่วงนั้นไว้ว่า
“ | ฉันจำได้ว่า เมื่ออายุประมาณ 5 ขวบ วันหนึ่งขณะเล่นอยู่กับมารี หลุยส์ พระพี่นาง ราชองครักษ์เข้ามาหาฉัน โดนใช้สรรพนามแปลกๆ เขาเรียกฉันเป็นภาษาอังกฤษว่า "Your Majesty" และบอกว่า "The King is Dead, Long Live the King" หมายความว่า ทูลกระหม่อมพ่อของฉันสวรรคต และฉันได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว จากนั้นเสด็จอาก็มาพาเราไปโซเฟียเพื่อถวายบังคมพระบรมศพ[1] | ” |
ในวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1944 สหภาพโซเวียตได้ประกาศสงครามกับราชอาณาจักรบัลแกเรียอย่างเป็นทางการและกองทัพแดงได้ยกพลบุกเข้าราชอาณาจักร ในวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1944 เจ้าชายคิริลและคณะผู้สำเร็จราชการได้ถูกผู้นิยมโซเวียตหักหลังทำการรัฐประหารและจับกุม เจ้าชายคิริล คณะผู้สำเร็จราชการทั้งหมด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสมาชิก ผู้นำเหล่าทัพทั้งหมดและนักข่าวที่มีชื่อเสียงในประเทศถูกสั่งประหารทั้งหมดโดยเหล่าคอมมิวนิสต์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945
การลี้ภัย
แก้พระราชวงศ์ที่เหลือได้แก่ สมเด็จพระราชินีจีโอวันนา,พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 ,เจ้าหญิงมารี หลุยส์แห่งบัลแกเรีย พระเชษฐภคินีและเจ้าหญิงยูโดเซียแห่งบัลแกเรีย พระปิตุจฉา ได้รับการอนุญาตให้พำนักที่พระราชวังวรานาใกล้กรุงโซเฟียในขณะที่ได้มีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการคอมมิวนิสต์ชุดใหม่ ในบันทึกของพระนางจีโอวันนาทรงได้เล่าว่า "ทหารโซเวียตในครั้งนั้นได้มีความสนุกจากไล่ยิงพสกนิกรในทุกๆที่ที่นอกเหนือจากได้รับคำสั่งจากคณะรัฐบาลซึ่งตอนนั้นฉันกำลังเดินกับลูกๆอยู่ที่ที่นั้น" ในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1946 ได้มีการลงคะแนนเสียงภายในกองทัพโซเวียต ผลออกมาร้อยละ 97 เห็นด้วยในการสถาปนาสาธารณรัฐบัลแกเรียและล้มล้างพระราชวงศ์และระบอบกษัตริย์ โดยให้พระราชวงศ์เตรียมตัว 1 เดือนเพื่อออกจากประเทศแต่เพียงวันเดียวคือในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1946 พระราชวงศ์ได้ถูกบังคับให้ออกจากบัลแกเรีย อย่างไรก็ตามพระเจ้าซาร์ซิเมออนไม่ทรงเคยลงพระนามในเอกสารสละราชบัลลังก์อย่างเป็นทางการ พระราชวงศ์ทั้งหมดจึงต้องลี้ภัยไปที่อเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ที่ซึ่งพระราชบิดาและพระราชมารดาของพระราชินีจีโอวันนาคือ สมเด็จพระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 3 แห่งอิตาลีกับพระราชินีเอเลนาพำนักอยู่หลังจากทรงลี้ภัยจากอิตาลี พระองค์และพระราชวงศ์ทรงมีความเป็นอยู่อย่างยากลำบากโดยทรงมีทรัพย์เพียงพระองค์ละ 200 ดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ด้วยการอุปถัมภ์จากพระอัยกาทำให้พระเจ้าซาร์ซิเมออนทรงสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยวิกตอเรีย,อเล็กซานเดรียซึ่งทรงสำเร็จการศึกษาร่วมกับเจ้าชายเลกาที่ 1 มกุฎราชกุมารแห่งแอลเบเนีย พระองค์ตรัสถึงเหตุการณ์ในช่วงนั้นไว้ว่า
“ | ทำไมจึงต้องเป็นอียิปต์ ก็เพราะพระเจ้าวิกเตอร์ เอ็มมานูเอลและพระราชินีเอเลนาแห่งอีตาลี ตายายของฉันลี้ภัยอยู่ที่นั่น ฉันเรียนชั้นประถมที่วิกตอเรียคอลเลจ โรงเรียนชั้นดีของอียิปต์ ที่อเล็กซานเดรีย มีเพื่อนร่วมชั้นคือ เจ้าชายฮุสเซน บิน ตาลาล ซึ่งต่อมาได้เป็นกษัตริย์แห่งจอร์แดน[2] | ” |
ต่อมาพระเจ้าวิกเตอร์ เอ็มมานูเอลผู้เป็นพระอัยกาได้เสด็จสวรรคตลง ทรงมอบมรดกให้แก่พระธิดาซึ่งก็คือ สมเด็จพระราชินีจีโอวันนา ทำให้ราชวงศ์ทรงมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1951 รัฐบาลสเปนนำโดยจอมพลฟรันซิสโก ฟรังโกได้เชิญพระราชวงศ์ลี้ภัยที่สเปน
ระบอบกษัตริย์ในช่วงลี้ภัย การศึกษาและงานด้านธุรกิจ
แก้พระเจ้าซาร์ซิเมออนทรงศึกษาที่ Lycée Français ในมาดริดแต่ไม่สำเร็จการศึกษา ในวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1955 เมื่อมีพระชนมายุได้ 18 พรรษา การที่พระองค์ทำให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญทาร์โนโว พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 ทรงประกาศตนเป็นพระเจ้าซาร์แห่งปวงชนชาวบัลแกเรียซึ่งทำให้การดำรงเป็นกษัตริย์แห่งปวงชนชาวบัลแกเรียตามเจตนารมย์ของพระองค์มั่นคงยิ่งขึ้นและพระองค์ยังทรงประกาศแก่ชาวบัลแกเรียว่า พระองค์ยังทรงเป็นกษัตริย์ของพวกเขาเพราะไม่เคยลงนามในข้อความสละราชบัลลังก์เป็นลายลักษณ์อักษร ใน ค.ศ. 1958 พระองค์ทรงสมัครเข้า Valley Forge Military Academy and College ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ซึ่งทรงเป็นที่รู้จักกันในนาม"Cadet Rylski No. 6883" และทรงสำเร็จการศึกษาในตำแหน่งร้อยตรี พระองค์ทรงศึกษากฎหมายและการบริหารธุรกิจในสเปนอีกครั้ง
พระองค์ได้เป็นนักธุรกิจ เป็นเวลา 30 ปีทรงดำรงเป็นประธานบริษัท Thomson SA สเปนซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับกลุ่มเครื่องป้องกันและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของฝรั่งเศส และทรงเป็นที่ปรึกษาด้านการธนาคาร,การโรงแรม,อิเล็กทรอนิกส์และการจัดหาข้อมูล พระเจ้าซาร์ซิเมออนได้ประกาศคณะการปกครองระหว่างทรงลี้ภัยผ่านทางตำแหน่งของพระองค์ในมาดริดซึ่งทรงถูกถอดโดยยุคสมัยคอมมิวนิสต์ในบัลแกเรียและการขับไล่พระองค์ออกจากประเทศซึ่งเป็นคนชาติเดียวกัน อย่างไรก็ตามทรงพยายามจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นแต่ไม่เป็นผล
ใน ค.ศ. 1962 ทรงอภิเษกสมรสกับชนชั้นสูงในสเปนคือ มาร์การิตา โกเมซ-อเชโบ ยี เซจูลา แต่การอภิเษกสมรสไม่เป็นไปโดยง่ายเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นออร์ทอด็อกซ์ ส่วนพระชายาเป็นคาทอลิก พระเจ้าซาร์ซิเมออนเสด็จไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตปาปาถึง 3 ครั้ง จนในที่สุดทรงอนุญาตแต่มีข้อแม้ให้จัดพิธีอภิเษกสมรสในโบสถ์ทั้ง 2 ฝ่าย ทั้ง 2 พระองค์มีพระโอรสและธิดารวม 5 พระองค์ เป็นพระโอรส 4 พระองค์และพระธิดา 1 พระองค์ โดยปัจจุบันทั้ง 5 พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับชาวสเปนทั้งสิ้น
- เจ้าชายคาร์ดัม เจ้าชายแห่งทาร์โน (ค.ศ. 1962 - 7 เมษายน ค.ศ. 2015) ทรงอภิเษกสมรสกับมาเรียม เดอ อัลเจีย ยี โลเปซ มีพระโอรส 2 พระองค์
- เจ้าชายคิริล เจ้าชายแห่งพาร์ลาฟ (ประสูติ ค.ศ. 1964) ทรงอภิเษกสมรสกับมาเรีย เดล โรซาริโอ นาดาล ยี ฟัสเตอร์-ฟูอิกดอฟิลา มีพระโอรส 1 พระองค์ พระธิดา 2 พระองค์
- เจ้าชายคูบราต เจ้าชายแห่งพาไนท์ยูริชเต (ประสูติ ค.ศ. 1965) ทรงอภิเษกสมรสกับคาร์ลา มาเรีย เดล ลา โซเลแดด โรโย-วิลลาโนวา ยี เออเรสทาราซู มีพระโอรส 3 พระองค์
- เจ้าชายคอนสแตนติน-อัสเลน เจ้าชายแห่งวิดิน (ประสูติ ค.ศ. 1967) ทรงอภิเษกสมรสกับมาเรีย กราเซีย เดอ ลา ราซิลลา ยี กอร์ตาซาร์ มีพระโอรส 1 พระองค์ พระธิดา 1 พระองค์เป็นฝาแฝด
- เจ้าหญิงคาลินาแห่งบัลแกเรีย ดัชเชสแห่งแซกโซนี (ประสูติ ค.ศ. 1972) ทรงอภิเษกสมรสกับคิติน มูนอสมีพระโอรส 1 พระองค์
การกลับคืนสู่การเมือง
แก้ใน ค.ศ. 1990 หลังจากการล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ พระเจ้าซาร์ซิเมออนทรงได้รับหนังสือเดินทางชาวบัลแกเรียฉบับใหม่ ใน ค.ศ. 1996 ซึ่งเป็นปีที่ 50 ของการล้มล้างราชบัลลังก์ พระเจ้าซาร์ซิเมออนเสด็จกลับบัลแกเรียและมีพสกนิกรชาวบัลแกเรียมารับเสด็จมากมายอย่างอบอุ่น โดยฝูงชนได้ตะโกนว่า "เราต้องการกษัตริย์!" (We want our Tsar!) แต่พระองค์ทรงต้องการเข้าสู่การเมือง เมื่อทรงมาถึงพระองค์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้ยกเลิกคำสั่งยึดทรัพย์สินในสมัยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ทำให้ทรงได้พระราชวังวรานา, พระราชวังซาร์สกา บิสทริตสา และทรัพย์สมบัติมากมายกลับคืนมา แต่ทรงรับทรัพย์สินเพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือได้มอบคืนแก่รัฐบาลเพื่อเป็นสมบัติของประชาชน
ใน ค.ศ. 2001 ทรงประกาศจัดตั้งพรรคการเมืองชื่อ พรรคขบวนการแห่งชาติเพื่อซิเมออนที่ 2 (NMSII) มีนโยบายคือ"ปฏิรูปและการเมืองมั่นคง" พระองค์ทรงสัญญาว่าภายใน 800 วัน ชาวบัลแกเรียจะเข้าในการปกครองของรัฐบาลอย่างชัดเจนและมีความสุขสมบูรณ์กับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในการเลือกตั้งวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2001 พรรคของพระองค์ได้ที่นั่งในรัฐสภาถึง 120 ที่นั่งหรือครึ่งหนึ่งของทั้งหมด แต่การมี ส.ส. เพียงครึ่งเดียวไม่สามารถบริหารได้พระองค์จึงทรงดึงพรรคขบวนการเพื่อความถูกต้องและเสรีภาพ (MRF) มาเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ทำให้พระองค์ทรงดำรงเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งบัลแกเรียขณะมีพระชนมายุ 64 พรรษา ทรงบริหารประเทศเพื่อฟื้นฟูความบอบช้ำจากการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนักของรัฐบาลที่ผ่านๆ มา พระองค์ทรงนำบัลแกเรียเข้าสู่องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ จนถึง ค.ศ. 2005 รัฐบาลของพระองค์ได้หมดวาระ เนื่องจากทรงพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งแก่พรรคสังคมนิยมบัลแกเรีย (BSP) ปัจจุบันทรงดำรงเป็นหัวหน้าพรรคและทรงใช้ชีวิตอย่างสงบ
อ้างอิง
แก้- http://en.wikipedia.org/wiki/Simeon_Saxe-Coburg-Gotha#Political_return
- King Simeon II
- The first website about Simeon II of Bulgaria focuses on his pre-1995 history
- Financial Times July 2001 Biography
- Saxe-Coburg-Gotha's address, 10 February 2005 เก็บถาวร 2005-03-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน concerning amending the constitution to bring it in line with EU requirements
- Saxe-Coburg-Gotha's statement, 5 July 2002 เก็บถาวร 2005-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน concerning Bulgaria's candidacy for NATO membership: "The role of the international community should be gradually transformed from crisis response to integration. Palliative measures intended to mitigate yet another crisis cannot bring stability and prosperity. The best solution is the region's integration into the European and Euroatlantic institutions."
ก่อนหน้า | ซีโมน แห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าซาร์บอริสที่ 3 แห่งบัลแกเรีย | พระเจ้าซาร์แห่งบัลแกเรีย (บัลแกเรีย) (28 สิงหาคม ค.ศ. 1943 – 15 กันยายน ค.ศ. 1946) |
ไม่มี(ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้าง) | ||
อิวาน คอสตอฟ | นายกรัฐมนตรีแห่งบัลแกเรีย (ค.ศ. 2001 – ค.ศ. 2005) |
เซอร์เก สตานิเชฟ | ||
ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้าง | ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์บัลแกเรีย (บัลแกเรีย) (ภายใต้กฎหมาย) (15 กันยายน ค.ศ. 1946 – ปัจจุบัน) |
ปัจจุบัน
|