พระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 3 แห่งเดนมาร์ก

พระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 3 แห่งเดนมาร์ก หรือ คริสตอฟแห่งบาวาเรีย[1] (26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1416 - 5/6 มกราคม ค.ศ. 1448) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์ก (ค.ศ. 1440-48 ในฐานะ กษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ที่ 3) พระมหากษัตริย์สวีเดน (ค.ศ. 1441-48) และพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ (ค.ศ. 1442-48) ในช่วงสมัยสหภาพคาลมาร์[2]

คริสตอฟแห่งบาวาเรีย
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก, สวีเดนและนอร์เวย์
ตราพระราชลัญจกรของคริสตอฟแห่งบาวาเรีย กษัตริย์แห่งเดนมาร์ก, สวีเดนและนอร์เวย์
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
ครองราชย์9 เมษายน ค.ศ. 1440 - 5 มกราคม ค.ศ. 1448
(7 ปี 271 วัน)
ราชาภิเษก 1 มกราคม ค.ศ. 1443 มหาวิหารรีเบ
ก่อนหน้าอีริคที่ 7
ถัดไปคริสเตียนที่ 1
พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์
ครองราชย์มิถุนายน ค.ศ. 1442 - 5 มกราคม ค.ศ. 1448
(5 ปี 218 วัน)
ราชาภิเษก 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1442 ออสโล
ก่อนหน้าอีริคที่ 3
ถัดไปคาร์ลที่ 1
พระมหากษัตริย์แห่งสวีเดน
ครองราชย์ค.ศ. 1441 - 5 มกราคม ค.ศ. 1448
(7 ปี 4 วัน)
ราชาภิเษก 13 กันยายน ค.ศ. 1441 อุปซอลา
ก่อนหน้าอีริคที่ 13
ถัดไปคาร์ลที่ 8
เคานท์พาลาทีนแห่งน็อยมาคท์
ครองราชย์ค.ศ. 1443 - ค.ศ. 1448
ก่อนหน้าโยฮัน
ถัดไปอ็อทโทที่ 1
พระราชสมภพ26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1416
น็อยมาคท์อินแดร์โอเบิร์พฟัลทซ์
สวรรคต5/6 มกราคม ค.ศ. 1448 (31 ปี)
เฮลซิงบอรย์
ฝังพระศพมหาวิหารรอสกิลด์ รอสกิลด์
ชายาโดโรเธียแห่งบรันเดินบวร์ค
พระนามเต็ม
คริสตอฟ พาราทิเนต-น็อยมาคท์
ราชวงศ์พาราทิเนต-น็อยมาคท์
พระราชบิดาโยฮัน เคานท์พาลาทีนแห่งน็อยมาคท์
พระราชมารดาคาทารีนาแห่งพอเมอเรเนีย
ศาสนาโรมันคาทอลิก

พระราชประวัติ แก้

ก้าวขึ้นสู่อำนาจ แก้

พระองค์เป็นพระโอรสในโยฮัน เคานท์พาลาทีนแห่งน็อยมาคท์ (ค.ศ. 1383-1443) และคาทารีนาแห่งพอเมอเรเนีย (ราวค.ศ. 1390-1426) คาทารีนาเป็นธิดาในวาร์ทิสเลาว์ที่ 7 ดยุกแห่งพอเมอเรเนีย และเป็นพระขนิษฐาในพระเจ้าอีริคที่ 7 แห่งเดนมาร์ก เคานท์พาลาทีนโยฮันนั้นเป็นพระราชโอรสในรุพเพิร์ต กษัตริย์แห่งโรมัน (ค.ศ. 1352-1410) บ้างก็ว่าคริสตอฟเฟอร์เสด็จพระราชสมภพที่น็อยมาคท์อินแดร์โอเบิร์พฟัลทซ์ในแคว้นโอเบิร์พฟัลทซ์ บาวาเรีย เยอรมนี ในค.ศ. 1445 กษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ได้อภิเษกสมรสกับโดโรเธียแห่งบรันเดินบวร์ค (ค.ศ. 1430-1495) ในโคเปนเฮเกน[3] [4]

พระเจ้าอีริคที่ 7 แห่งเดนมาร์กถูกปลดออกจากราชบัลลังก์เดนมาร์กและสวีเดนในค.ศ. 1439 พระนัดดาของกษัตริย์อีริค คือ คริสตอฟแห่งบาวาเรีย ซึ่งไม่ทรงคุ้นเคยต่อสภาพการปกครองสแกนดิเนเวียได้รับเลือกจากสภาริคสรัดของเดนมาร์ก ให้เป็นผู้สืบบัลลังก์ต่อจากพระมาตุลา ในช่วงแรกทรงได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในค.ศ. 1439 และต่อมาทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์โดยสภาวีบอร์กในวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1440 พระองค์ถูกกำหนดให้เป็นกษัตริย์หุ่นเชิด ตามหลักฐานคำกล่าวที่ว่า "หากสภาต้องการดวงดาวแห่งสรวงสวรรค์จากกษัตริย์ พระองค์จะต้องสั่งมาแก่สภาให้ได้"[5] อย่างไรก็ตามพระองค์มีความสามรถในการรักษาพระราชอำนาจส่วนพระองค์ โดยรวมแล้วการปกครองของพระองค์ได้พึ่งพาการเมืองของพวกขุนนางและการสืบราชสันตติวงศ์ จึงอาจเรียกได้ว่ารัชสมัยนี้เป็นจุดเริ่มต้นสมดุลทางอำนาจระหว่างพระมหากษัตริย์และขุนนางที่มั่นคงจนถึงค.ศ. 1660 พระองค์ได้รับเลือกเป็นพระมหากษัตริย์สวีเดนในภายหลัง คือ ค.ศ. 1441 และพระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1442[6]

กบฏชาวนา แก้

ช่วงเริ่มต้นรัชกาลของพระองค์เกิดกบฏชาวนาในเกาะฟึนและคาบสมุทรจัตแลนด์ เมื่อทรงปราบกบฏในเกาะฟึนได้แล้ว พระองค์ก็หันเหความสนใจไปยังการจลาจลในจัตแลนด์ โดยเฉพาะเขตเวนด์ซิสเซิลในจัตแลนด์เหนือควบคุมการจลาจลได้ค่อยข้างลำบาก เนื่องจากมีกองทัพชาวนา 25,000 คน นำโดยเฮนริก เรฟเอินโทว์ (ถูกประหารในปี 1441) เป็นภัยคุกคามอย่างต่อเนื่องของราชบัลลังก์กษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ที่ 3 แต่ก่อนกษัตริย์จะทรงมีพระบัญชา ตระกูลขุนนางในจัตแลนด์ได้ระดมพลของตนเดินทัพไปทางตะวันตกของออลบอร์ เพื่อเผชิญหน้ากับกองทัพของเรฟเอินโทว์[7]

ชาวนาได้สร้างป้อมเกวียนขนาดมหึมาที่มีความหนาลึกถึงสามชั้นเพื่อป้องกันตนเองจากกองทัพม้าอัศวิน ที่รู้ว่าจะเข้ามาสู้กับพวกเขาแน่ พวกเขายังกองกิ่งไม้ไว้เหนือบึงด้านหน้าค่ายและใช้ดินกลบด้านบนเพื่อให้ดูเหมือนว่าเป็นพื้นดินแข็ง กองทัพขุนนางที่ทระนงตนนำโดยเอสเกอ เยนเซน บร็อค ได้ปรากฎตัวเหนือเนินเขานักบุญยอร์นส์ (St. Jørgensbjerg;เฮลเลียนยอร์นส์เบียร์) ในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1441 เหล่าอัศวินบุกค่ายแต่กลับตกติดหล่มอยู่ในบึงอย่างรวดเร็ว ชาวนาจึงเดินทัพออกมาเพื่อสังหาร บร็อคถูกสังหารในยุทธการเนินเขานักบุญยอร์นส์ ศพถูกแยกชิ้นส่วนและชาวนาส่งไปยังเมืองต่างๆ ในพื้นที่เพื่อเป็นการย้ำเตือน จากนั้นชาวนาในแมเนอออลบอร์ฮุส (พื้นที่แมเนอที่สำคัญ) ได้ลุกฮือต่อต้านกษัตริย์เช่นกันทำให้นีลส์ กืลเดินสตีร์อาเน ซึ่งเป็นขุนนางต้องหลบหนี[5][8][9][10]

การที่ชาวนาปฏิบัติต่อเชลยศึกหลังสู้รบ ทำให้กษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ที่ 3 ทรงตั้งพระทัยอย่างแน่วแน่ที่จะปราบกบฏชาวนา พระองค์นำกองกำลังกษัตริย์ขึ้นเหนือไปยังค่ายกบฏที่ฮุสบีโฮลใกล้เนินเขานักบุญยอร์นส์ ในจัตแลนด์เหนือ แต่เนื่องจากกลุ่มกบฏมีจำนวนกองกำลังมากกว่าพระองค์ กษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ทรงใช้อุบายในการส่งสาส์นระบุว่า ชาวนาทุกคนที่ยอมออกมาจากค่ายและกลับบ้าน พวกเขาเหล่านั้นจะไม่ถูกลงโทษฐานกบฏ ชาวนาจากเกาะมอร์สและเมืองทิสเติดยอมออกจากค่ายและกลับบ้าน ทำให้พวกเขาถูกเรียกในภายหลังว่าเป็นพวกทรยศและขี้ขลาดตาขาว กษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ที่ 3 จึงทรงสั่งให้โจมตีค่ายในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1441 และถึงแม้จะต่อสู้อย่างดุเดือดแต่ชาวนาก็ไม่สามารถเอาชนะอัศวินเกราะหนักได้ ฝ่ายกบฏถูกสังหารหลายพันคน ผู้รอดชีวิตถูกปรับโทษอย่างหนัก ผลที่ตามมาร้ายแรงกว่านั้นคือ พวกกบฏสูญเสียสถานะอิสระและกลายเป็นทาสติดที่ดินในผืนนาที่พวกเขาอาศัยอยู่[5] กษัตริย์ทรงกำหนดให้การพกอาวุธที่ยาวกว่ามีดสั้นเป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงสำหรับชาวนา การปราบปรามชาวนาที่ครั้งหนึ่งเป็นอิสระในเดนมาร์กจึงสิ้นสุดลง[11]

พระราชพิธีราชาภิเษกและความสัมพันธ์กับชาวสวีเดน แก้

 
พระบรมสาทิสลักษณ์ร่วมสมัยของพระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 3 แห่งเดนมาร์ก

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1442 กษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ที่ 3 เสด็จไปยังเมืองเลอเดิสเซเพื่อพบปะกับขุนนางของทั้งสามราชอาณาจักร พระองค์ได้รับเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์นอร์เวย์ที่นั่นและจากนั้นเสด็จไปยังออสโล ซึ่งทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกในวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1442 หนึ่งปีถัดมาทรงได้รับการประกาศเป็นพระมหากษัตริย์เดนมาร์กที่สภาอุร์นโฮฟใกล้เมืองรีเบ เมื่อพระตำหนักของพระองค์ในเมืองรอสกิลด์ถูกเพลิงไหม้ กษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ทรงย้ายไปประทับที่โคเปนเฮเกนและทรงสถาปนาให้เป็นราชธานีเดนมาร์ก ตามกฎบัตรเมือง ค.ศ. 1443[12]

ขุนนางสวีเดนไม่ชอบที่จะต้องสละอำนาจใดๆ และไม่ชอบพระองค์ด้วย โดยอ้างว่าพระองค์มีความเป็นเยอรมันเกินไป และทรงอนุญาตให้พระมาตุลาของพระองค์ (อดีตกษัตริย์อีริค) ปล้นเส้นทางการขนส่งสินค้าจากปราสาทของพระองค์ในเกาะเกิตลันด์ โดยพระองค์ไม่พยายามหยุดยั้งอะไรในฐานะกษัตริย์ พวกเขาอ้างว่าการเพาะปลูกที่ไม่ดีก็เพราะกษัตริย์ ประชาชนหิวโหยจนต้องผสมเปลือกไม้กับแป้งสาลีเล็กน้อยเท่าที่หาได้กินเพื่อประทังชีวิต กษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ที่ 3 จึงทรงได้รับสมัญญาอย่างดูถูกจากชาวสวีเดนว่า "กษัตริย์เปลือกไม้" (Bark King) แต่ในทางกลับกัน พระองค์พยายามสนับสนุนเมืองและพ่อค้าให้มีมากเท่าที่ชนชั้นสูงจะมีได้ และเมืองสันนิบาตฮันซาก็อนุญาตให้ทำการค้าได้

พระองค์ทรงดำเนินนโยบายสงครามที่ไร้ประสิทธิภาพและทรงเจรจากับอดีตกษัตริย์อีริค สมเด็จลุงของพระองค์ที่ประทับในเกิตลันด์ สิ่งนี้ช่วยบรรเทากระแสความไม่พอใจของสวีเดนและสันนิบาตฮันซาได้บ้าง สนธิสัญญาสหภาพคาลมาร์มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ชนชั้นขุนนางมีอำนาจในการกำหนดนโยบายเสียส่วนใหญ่ และพระมหากษัตริย์ก็สูญเสียพระราชอำนาจมากมายที่กษัตริย์ได้รับเสมอมาตั้งแต่สมัยไวกิง ผลของความสมดุลทางอำนาจนโยบายนี้ยังไม่เป็นผลเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตกะทันหัน ด้วยทรงเป็นทายาทพระองค์สุดท้ายในสายพระราชสันตติวงศ์พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 4 แห่งเดนมาร์ก

สวรรคต แก้

ใน ค.ศ. 1448 กษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ที่ 3 เสด็จสวรรคตกะทันหันที่เมืองเฮลซิงบอรย์ ขณะทรงมีพระชนมายุ 31 พรรษา พระบรมศพได้รับการฝังที่มหาวิหารรอสกิลด์ เมืองรอสกิลด์ พระมเหสีม่ายของพระองค์คือ สมเด็จพระพันปีหลวงโดโรเธียได้อภิเษกสมรสกับกษัตริย์องค์ถัดไปคือ พระเจ้าคริสเตียนที่ 1 แห่งเดนมาร์ก

พระอิสริยยศ แก้

ธรรมเนียมพระยศของ
สมเด็จพระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 3
 
ตราประจำพระอิสริยยศ
การทูลHans Majestæt
(ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับDeres Majestæt
(พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ)

พระอิสริยยศเต็มของกษัตริย์คริสตอฟเฟอร์ คือ ด้วยพระคุณของพระเจ้า พระมหากษัตริย์เดนมาร์ก, สวีเดนและนอร์เวย์, ชาวเวนด์และชาวกอธ, เคานท์พาลาทีนแห่งไรน์, ดยุกแห่งบาวาเรีย

พงศาวลี แก้

พระเจ้าวัลเดมาร์ที่ 4 แห่งเดนมาร์ก
บอกึสเลาว์ที่ 5 แห่งพอเมอเรเนียอิงเงอบอร์กแห่งเดนมาร์กสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 1 แห่งเดนมาร์ก
บอกึสเลาว์ที่ 8 แห่งพอเมอเรเนียวาร์ทิสเลาว์ที่ 7 แห่งพอเมอเรเนียมาเรียแห่งเมคเลินบวร์ค-ชเวรีน
บอกึสเลาว์ที่ 9 แห่งพอเมอเรเนียคาทารีนาแห่งพอเมอเรเนียอีริคแห่งพอเมอเรเนีย
(พระมหากษัตริย์เดนมาร์ก)
คริสตอฟแห่งบาวาเรีย
(พระมหากษัตริย์เดนมาร์ก)

อ้างอิง แก้

  1. เดนมาร์กและนอร์เวย์: Christoffer af/av Bayern; สวีเดน Kristofer av Bayern
  2. "Christoffer 3 af Bayern 1416-48". Aarhus University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 8, 2010. สืบค้นเมื่อ June 1, 2018.
  3. "Katharina von Pommern". mittelalterfreunde. สืบค้นเมื่อ June 1, 2018.
  4.   "Rupert (king)" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 23 (11 ed.). 1911.
  5. 5.0 5.1 5.2 Huitfeldt, Arild. Danmarks Riges Krønike
  6. Erik Opsahl (2018-03-20). "Erik Av Pommern". Store norske leksikon. สืบค้นเมื่อ June 1, 2018.
  7. "Henrik Tagesen Reventlow". Den Store Danske. สืบค้นเมื่อ June 1, 2018.
  8. Jon Gunnar Arntzen. "Gyldenstierne". Store norske leksikon. สืบค้นเมื่อ June 1, 2018.
  9. "Eske Brock, d. 1441". Den Store Danske. สืบค้นเมื่อ June 1, 2018.
  10. "Brock, Eske Jensen". Den Store Danske. สืบค้นเมื่อ June 1, 2018.
  11. "Husby Hole". Den Store Danske. สืบค้นเมื่อ June 1, 2018.
  12. "Urnehoved". Den Store Danske. สืบค้นเมื่อ June 1, 2018.

แหล่งข้อมูล แก้

  • Dansk Biografisk Leksikon, vol. 7, Copenhagen 1980.
  • Politikens Danmarkshistorie, vol. 4 by Erik Kjersgaard, Copenhagen 1962.
  • Politikens bog om Danske Monarker by Benito Scocozza, Copenhagen 1998.


ก่อนหน้า พระเจ้าคริสตอฟเฟอร์ที่ 3 แห่งเดนมาร์ก ถัดไป
ว่าง
ลำดับก่อนหน้า
อีริคที่ 7
   
พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์ก
(ค.ศ. 1440 - ค.ศ. 1448)
  ว่าง
ลำดับถัดไป
คริสเตียนที่ 1
ว่าง
ลำดับก่อนหน้า
อีริคที่ 7
   
พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์
(ค.ศ. 1441 - ค.ศ. 1448)
  ว่าง
ลำดับถัดไป
คาร์ลที่ 8 และที่ 1
ว่าง
ลำดับก่อนหน้า
อีริคที่ 7
   
พระมหากษัตริย์แห่งสวีเดน
(ค.ศ. 1441 - ค.ศ. 1448)
  ว่าง
ลำดับถัดไป
คาร์ลที่ 8 และที่ 1
โยฮัน   เคานท์พาลาทีนแห่งน็อยมาคท์
(ค.ศ. 1443 - ค.ศ. 1448)
  อ็อทโทที่ 1