พระอรุณ
อรุณ (สันสกฤต: अरुण) หรือ อรุณเทพบุตร เป็นคนบังคับม้าของพระอาทิตย์ (หรือสุริยะ) เทพเจ้าในศาสนาฮินดู[1] โดยเป็นแสงสีแดงของอาทิตย์ที่กำลังขึ้น[2] เขาเป็นบุตรชายของกัศยปะ นักปราชญ์พระเวท เกิดกับวินตา[1] และเป็นพี่ชายของครุฑ พระอรุณมีบุตรสองคนคือสัมปาติและชฏายุ
พระอรุณ | |
---|---|
สารถีของพระอาทิตย์ | |
อรุณบังคับราชรถให้กับพระอาทิตย์ | |
ดาวพระเคราะห์ | มฤตยู |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | ศเยนี[1] |
บุตร - ธิดา | สัมปาติและชฏายุ |
บิดา-มารดา | กัศยปะกับวินตา |
พี่น้อง | ครุฑ |
พระอรุณยังปรากฏอยู่ในวรรณคดีและงานศิลป์ของศาสนาพุทธและเชน[3][4] ชื่อวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารของประเทศไทยก็ตั้งตามนามของเทพองค์นี้[5][6] และในประเทศไทย เคยมีการสร้างลวดลาย อรุณเทพบุตร โดยคณะราษฎร สำหรับประดับหน้าบันของพุทธสถานแทนลวดลายพระนารายณ์ทรงสุบรรณ หรือพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึ่งเป็นศิลปะที่ยึดโยงกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย โดยลายอรุณเทพบุตรจะปรากฏเพียงครึ่งตัว มือทั้งสองถือแพนหางนกยูงสื่อถึงความเป็นสารถี คาดว่าลวดลายนี้น่าจะมีความหมายว่า รุ่งอรุณของชาติในระบอบประชาธิปไตย[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Roshen Dalal (2010). Hinduism: An Alphabetical Guide. Penguin Books. pp. 39–40. ISBN 978-0-14-341421-6.
- ↑ अरुण aruṇa: reddish-brown, tawny, red, ruddy (the colour of the morning as opposed to the darkness of night). Sanskrit-English Dictionary by Monier-Williams, Monier Williams (1899)
- ↑ Helmuth von Glasenapp (1999). Jainism: An Indian Religion of Salvation. Motilal Banarsidass. p. 267. ISBN 978-81-208-1376-2.
- ↑ John C. Huntington; Dina Bangdel (2003). The Circle of Bliss: Buddhist Meditational Art. Serindia. p. 76. ISBN 978-1-932476-01-9.
- ↑ Norbert C. Brockman (2011). Encyclopedia of Sacred Places, 2nd Edition. ABC-CLIO. pp. 601–602. ISBN 978-1-59884-655-3.
- ↑ Nasing, Phra Somphop; Rodhetbhai, Chamnan; Keeratiburana, Ying (2014). "A Model for the Management of Cultural Tourism at Temples in Bangkok, Thailand". Asian Culture and History. Canadian Center of Science and Education. 6 (2). doi:10.5539/ach.v6n2p242.
- ↑ ""เทวรูปพระยาพหลพลพยุหเสนา" "อรุณเทพบุตร" และ "เทพีรัฐธรรมนูญ" เทพองค์ใหม่ใน "ศิลปะคณะราษฎร"". สยามานุสสติ. 7 มกราคม 2563. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)