พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา

พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา (28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2389 – 15 ตุลาคม พ.ศ. 2444) พระนามเดิม หม่อมเจ้าบัว เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจีน และเป็นพระอรรคชายาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระอรรคชายาเธอ
พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค
กรมขุนอรรควรราชกัลยา
พระอรรคชายาเธอ
ดำรงตำแหน่งพ.ศ. 2416 – 15 ตุลาคม พ.ศ. 2444
ประสูติ28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2389
สิ้นพระชนม์15 ตุลาคม พ.ศ. 2444 (54 ปี)
พระสวามีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบุตรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี
พระมารดาเจ้าจอมมารดาจีน
ศาสนาพุทธ

พระประวัติ

แก้

พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยาเป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจีน เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2389[1][2] เมื่อทรงพระเยาว์ประทับอยู่ที่วังของพระบิดา โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร พระปิตุจฉา (เป็นพระเชษฐภคินีต่างมารดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี) ทรงเป็นผู้อภิบาล หม่อมเจ้าบัวมีเจ้าน้องร่วมพระมารดาเดียวกันอีก 2 องค์ คือ หม่อมเจ้าปิ๋ว และหม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์

ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระนามใหม่ให้หม่อมเจ้าบัว ว่า "หม่อมเจ้าอุบลรัตนนารีนาค" พร้อมกับพระราชทานพระนามใหม่ให้หม่อมเจ้าปิ๋วว่า "หม่อมเจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์"[2] ชาววังออกพระนามว่า ท่านองค์ใหญ่

หม่อมเจ้าอุบลรัตนนารีนาคและขนิษฐาทั้งสองได้เข้ารับราชการฝ่ายในเป็นพระภรรยาเจ้าชั้น "หลานหลวง" ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย

ภายหลังการประสูติพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเยาวมาลย์นฤมล พระองค์ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องยศตั้งอยู่ในตำแหน่งพระอรรคชายาเธอ ต่อมา ในปี พ.ศ. 2431 พระองค์จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้า พร้อมกันนี้โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา[3]

พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา ทรงเป็นองค์อุปนายิกาสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทย) สมัยหนึ่ง[4] พระองค์ประชวรด้วยพระโรคจุกแน่นและกระตุกลง สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2444 สิริพระชันษา 55 ปี[5]

สถานที่ในพระนาม

แก้
  • สะพานอุบลรัตน์ เป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม เพื่อเชื่อมถนนอัษฎางค์และถนนราชินี สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่ออุทิศพระราชกุศล[6]

พระอิสริยยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
กรมขุนอรรควรราชกัลยา
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ
  • หม่อมเจ้าบัว ( 28 พฤศจิกายน 2390 – พ.ศ. 2416)
  • พระอรรคชายาเธอ หม่อมเจ้าอุบลรัตนนารีนาค (พ.ศ. 2416 – 25 มิถุนายน พ.ศ. 2431)
  • พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา (25 มิถุนายน พ.ศ. 2431 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2468)[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://theyoung.net/tamneap_vip/49_queen/49_37.htm
  2. 2.0 2.1 จิรวัฒน์ อุตตมะกุล. พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้า ในรัชกาลที่ ๕. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มติชน, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2548. 398 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-322-964-7
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนพระนามพระอัครชายาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า มีพระบรมราชโองการสั่งให้สถาปนา พระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าอุบลรัตนนารีมาศ และพระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าสาย ขึ้นเป็น พระองค์เจ้า และสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ และเจ้าฟ้า, เล่ม ๕, ตอน ๘, ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๑๘๘๘, หน้า ๖๑
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-28. สืบค้นเมื่อ 2006-08-20.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์ พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค, เล่ม ๑๘, ตอน ๒๙, ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๔, หน้า ๕๒๑
  6. จิรวัฒน์ อุตตมะกุล, นายแพทย์. พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 5. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ลายคำ, 2552, หน้า 470
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศเลื่อนพระนามพระอัครชายาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้า มีพระบรมราชโองการสั่งให้สถาปนา พระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าอุบลรัตนนารีมาศ และพระอัครชายาเธอ หม่อมเจ้าสาย ขึ้นเป็น พระองค์เจ้า และสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลูกเธอ และเจ้าฟ้า, เล่ม ๕, ตอน ๘, ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๑๘๘๘, หน้า ๖๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐, ตอน ๓๕, ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖, หน้า ๓๗๔