พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ

(เปลี่ยนทางจาก พระองค์เจ้าโสมาวดี)

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ (19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2395 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2474) พระนามเดิม พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 7 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเที่ยง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
อธิบดีกรมโขลน[1]
ประสูติ19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2395
สิ้นพระชนม์5 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 (78 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4

พระประวัติ

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเที่ยง (สกุลเดิม โรจนดิศ) เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น 8 ค่ำ ปีชวด จัตวาศก จุลศักราช 1214 ตรงกับวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2395 เป็นพระราชธิดารุ่นแรกหนึ่งในสามพระองค์ที่ได้รับพระราชทานสร้อยพระนาม โดยอีกสองพระองค์ ได้แก่ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา และ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าทักษิณชา นราธิราชบุตรี[2] นอกจากนี้ พระนามของทั้งสามพระองค์ยังสอดคล้องกันโดยเรียงตามพระชันษา ได้แก่ พระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ พระองค์เจ้าทักษิณชา พระองค์เจ้าโสมาวดี[3] ทั้งนี้พระองค์มีศักดิ์เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี โดยพระองค์สืบเชื้อสายมาจากนายจำปา ณ เวียงจันทน์ ซึ่งเป็นญาติของเจ้าจอมมารดาทองสุก ในรัชกาลที่ 1 พระธิดาของพระเจ้าอินทวงศ์แห่งเวียงจันทน์[4]

ในพระราชพิธีฉัตรมงคล ปี พ.ศ. 2446 ซึ่งเป็นวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบสองเท่าของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถ พระองค์มีพระราชดำริที่จะยกย่องพระราชธิดาพระองค์ใดพระองค์หนึ่งในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นเจ้าต่างกรมเพื่อเป็นการระลึกถึงพระเดชพระคุณ จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า พระเจ้าพี่นางเธอ กรมหลวงสมรรัตน์ศิริเชฐ เมื่อปี พ.ศ. 2446[5]

พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีบังคับบัญชาการรักษาพระราชวังฝ่ายในและทรงดูแลกรมโขลน[6] อีกทั้งยังทรงรับอภิบาลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์ทรงดูแลรักษากุญแจพระบรมมหาราชวังชั้นใน มาตลอดรัชกาล

ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ ได้กราบบังคมทูลลาออกไปประทับ ณ วังวรดิศ ซึ่งเป็นวังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งเป็นพระอนุชาต่างพระมารดา และเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน เนื่องจากเจ้าจอมมารดาเที่ยง เป็นพี่สาวของเจ้าจอมมารดาชุ่ม พระมารดาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ ทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์กุลเชษฐ์แห่งพระบรมวงศานุวงศ์ กระทั่งสิ้นพระชนม์ ณ วังวรดิศ เมื่อวันอังคาร เดือน 6 แรม 4 ค่ำ ปีมะแม ตรีศก จุลศักราช 1293 ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 สิริพระชันษา 78 ปี 167 วัน[7] มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2476 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[8]

พระเกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท[9]
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า[9]
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

แก้
  • 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2395 — 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 — 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 : พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา
  • 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 — 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าพี่นางเธอ กรมหลวงสมรรัตน์ศิริเชฐ
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 — 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2474 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของตระกูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้[7]

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. https://archive.lib.kmutt.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=223&catid=37&Itemid=65&limitstart=5
  2. จิรวัฒน์ อุตตมะกุล, สมเด็จพระภรรยาเจ้าและสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ ๕, สำนักพิมพ์มติชน, 2546, หน้า 31 (ISBN 974-322-964-7)
  3. จุลลดา ภักดีภูมินทร์,พระราชพิธีถวายโถข้าวยาคู[ลิงก์เสีย], สกุลไทย, ฉบับที่ 2652, ปีที่ 51, 16 สิงหาคม 2548
  4. 4.0 4.1 "ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - สายสกุลของท้าวมังสี (ขำ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-03. สืบค้นเมื่อ 2013-05-19.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งกรมพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี, เล่ม 20, ตอน 34, 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446, หน้า 590
  6. "ประเพณีวัง 1". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-05-28. สืบค้นเมื่อ 2004-05-28.
  7. 7.0 7.1 ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม 48, ตอน ง, 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2474, หน้า 429
  8. ราชกิจจานุเบกษา,หมายกำหนดการ พระราชทานเพลิงพระศพและศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาสเล่ม 49, ตอน 0 ง, 12 มีนาคม พ.ศ. 2475, หน้า 4254
  9. 9.0 9.1 คุณหญิงกุลทรัพย์ เกษแม่นกิจ และสายไหม จบกลศึก (บรรณาธิการ) (2555). ราชาศัพท์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. p. 22-23.[ลิงก์เสีย]
  10. "พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงษานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 15 (27): 1. 30 ตุลาคม ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นพรัตนราชวราภรณ์ฝ่ายใน เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 43, ตอน 0 ง, 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2469, หน้า 430
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 10, ตอน 35, 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436, หน้า 374
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 21, ตอน 32, 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447, หน้า 570
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 25, ตอน 39, 27 ธันวาคม พ.ศ. 2451, หน้า 1153
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายใน เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 30, ตอน 0 ง, 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2456, หน้า 2551
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 43, ตอน 0 ง, 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469, หน้า 3114
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 20, ตอน 0 ง, 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446, หน้า 617
  18. ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - ราชสกุลสายพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)
  19. ประวัติพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ) บิดาของเจ้าจอมมารดาถึง 2 รัชกาล. จากเว็บไซต์เรือนไทย. สืบค้นเมื่อ 15-03-57.
  20. ธงทอง จันทรางศุ. ในกำแพงแก้ว. กรุงเทพฯ : เอส.ซี.พริ้นท์แอนด์แพค, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2550, หน้า 113
ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสมรรัตนศิริเชฐ ถัดไป
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน   กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี
(28 กันยายน พ.ศ. 2456 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2474)
  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร