พระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์)
พันโท พระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ในรัฐบาลพลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
พันโท พระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์) ม.ว.ม., ต.จ.ว., ต.ช. | |
---|---|
![]() | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 มีนาคม พ.ศ. 2477 – 22 กันยายน พ.ศ. 2477 | |
ก่อนหน้า | พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) |
ถัดไป | พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 มิถุนายน พ.ศ. 2434 |
เสียชีวิต | 24 มีนาคม พ.ศ. 2524 (89 ปี) |
คู่สมรส | สวัสดิ์ สารสาสน์พลขันธ์ |
บุตร | 5 คน |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติแก้ไข
พันโท พระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์) เป็นบุตรของนายใหญ่ และนางจำรัส สุนทานนท์ มีน้องสาว 1 คน คือท่านผู้หญิงเลื่อม ศัลยาวิธานนิเทศ ภรรยาของพลโทพระยาศัลวิธานนิเทศ (แอบ รักตประจิต) อดีตสมุหพระราชมณเฑียรและนายกราชบัณฑิตยสถาน[1]
เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2456 พระสารสาสน์พลขันธ์ ขณะที่เป็น พันตรี หลวงศัลวิธานนิเทศ ได้รับพระราชทานสกุล "สุนทานนท์"
ในปี พ.ศ. 2461 ได้รับพระราชทานตราตั้งและเลื่อนบรรดาศักดิ์ จากพันโทหลวงศัลวิธานนิเทศ เป็น นายพันโทพระสารสาสน์พลขันธ์ มีตำแหน่งราชการในกระทรวงกลาโหม ถือศักดินา 1,000[2]
ประมาณ พ.ศ. 2458 สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ องค์เสนาธิการทหารบกในขณะนั้น ได้ทรงมอบหมายให้พระสารสาสน์พลขันธ์ เป็นผู้สอนหนังสือในฐานะเป็นครูคนแรกแก่พระโอรสวัย 7 ขวบ ที่วังปารุสกวัน[3]
งานการเมืองแก้ไข
29 มีนาคม พ.ศ. 2477 พระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์) ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ ในรัฐบาลพลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาแทนพระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) และพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2477 เนื่องจากลาออกพร้อมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทั้งคณะ[4]
ครอบครัวแก้ไข
พันโท พระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์) สมรสกับนางสวัสดิ์ สารสาสน์พลขันธ์ ธิดาพระยาราชายสาธก (ง่วนสุน อัศวนนท์) กับคุณหญิงฟอง มีบุตรธิดา 5 คน คือ[5]
- ร้อยเอก สมหวัง สารสาส
- หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา
- นางจริตราบ สารสาส
- นางโศภิณ อัศวเกียรติ์
- นางเสลา สก๊อต
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2512 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)
- พ.ศ. 2487 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ พ.ท.พระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์)... - Chanakan ...
- ↑ "พระราชทานตั้งแลเลื่อนบรรดาศักดิ์ เล่ม 35 หน้า 210" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-03. สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
- ↑ 100 ปี จุลจักรพงษ์ 1908-2008, หน้า 42
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-01.
- ↑ สดุดี หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร ณ อยุธยา วันที่ 11 ต.ค. 2555 )[ลิงก์เสีย]
ก่อนหน้า | พระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ คนที่ 5 (29 มีนาคม 2476 – 22 กันยายน 2477) |
พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน) |