พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจงกล
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจงกล (พ.ศ. 2328 — พ.ศ. 2385) พระนามเดิม หม่อมเจ้าจงกล เป็นพระธิดาพระองค์เล็กในสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ กับพระชายาทองอยู่
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจงกล | |
---|---|
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชั้นโท | |
ประสูติ | พ.ศ. 2328 |
สิ้นพระชนม์ | พ.ศ. 2385 |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ |
พระมารดา | พระชายาทองอยู่ |
พระประวัติ
แก้พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจงกล ประสูติเมื่อปี พ.ศ. 2328[1] เป็นพระธิดาพระองค์เล็กในสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ กับพระชายาทองอยู่ เดิมมีพระนามว่า หม่อมเจ้าจงกล ต่อมาในปี พ.ศ. 2329 ทรงได้รับโปรดเกล้าฯ เลื่อนเป็น พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าจงกล
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจงกล มีพระโสทรภราดา และพระโสทรภคินี 5 พระองค์ คือ
- พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนราเทเวศร์ (พระนามเดิม ปาน) ต้นราชสกุลปาลกะวงศ์
- พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากระจับ
- พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหมื่นนเรศร์โยธี (พระนามเดิม บัว)
- พระสัมพันธวงศ์เธอ กรมหลวงเสนีบริรักษ์ (พระนามเดิม แตง) ต้นราชสกุลเสนีวงศ์
- พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมวงศ์
เมื่อแรกประสูติพระองค์เจ้าจงกล ได้แม่ช้อย มารดาของสุนทรภู่ เป็นพระนม จึงทรงสนิทสนมกับสุนทรภู่มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ สุนทรภู่มีบุตรกับนางจันหนึ่งคน ชื่อหนูพัด แต่ชีวิตครอบครัวก็ยังไม่ราบรื่นนัก ในที่สุดนางจันก็ร้างลาไป พระองค์เจ้าจงกลได้รับอุปการะหนูพัดไว้[2]
ภายหลังจากสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ทิวงคต พระองค์เจ้าจงกล ทรงสร้างมณฑปพระพุทธบาทจำลองขึ้นในวัดอมรินทรารามวรวิหาร ประดับด้วยกระเบื้องและถ้วยชามเขียนสีของจีน[3] เพื่อเป็นพระราชกุศลอุทิศถวายพระบิดา
พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจงกล สิ้นพระชนม์ในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2385 สิริพระชันษา 57 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดอมรินทราราม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2385[1]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจงกล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 146. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-06-09.
- ↑ ประวัติสุนทรภู่
- ↑ "วัดอมรินทรารามวรวิหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-19. สืบค้นเมื่อ 2017-06-09.