พระวัชรปาณีโพธิสัตว์

พระโพธิสัตว์วัชรปาณี หรือ พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ (สันสกฤตและบาลี: Vajirapāṇi, แปลว่า "[ผู้มี]วัชระ[ใน]มือ") เป็นหนึ่งในพระโพธิสัตว์ที่เก่าแก่ที่สุดในธรรมเนียมมหายาน เชื่อว่าเป็นผู้ปกป้องและผู้นำทางของพระโคตมพุทธเจ้า

วัชรปาณี
Tibet-5642 (2645009749).jpg
เทวรูปพระวัชรปาณีที่สังฆารามเดรปุงในทิเบต
ภาษาสันสกฤตवज्रपाणि
Vajrapāṇi
ภาษาบาลีवजिरपाणि
Vajirapāṇi
ภาษาจีน金剛手菩薩
(Pinyin: Jīngāngshǒu Púsà)
ภาษาญี่ปุ่น金剛手菩薩こんごうしゅぼさつ
(romaji: Kongōshu Bosatsu)
ภาษาเขมรវជ្របាណិ
(vach-cheak-baa)
ภาษาเกาหลี금강수보살
(RR: Geumgangsu Bosal)
ภาษาไทยพระวัชรปาณีโพธิสัตว์
ภาษาทิเบตཕྱག་ན་རྡོ་རྗེ་
Wylie: phyag na rdo rje
THL: chak na dorje
ภาษาเวียดนามKim Cương Thủ Bồ Tát
ข้อมูล
นับถือในเถรวาท, มหายาน, วัชรยาน
Dharma Wheel.svg สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

ปรากฏพระวัชรปาณีมากในประติมานวิทยาพุทธเป็นหนึ่งในสามเทวดาหรือพระโพธิสัตว์ผู้ปกป้องหรือรายล้อมพระพุทธเจ้าที่ปรากฏทั่วไปและเก่าแก่ที่สุด โดยแต่ละองค์เป็นตัวแทนของอำนาจของพระพุทธเจ้าที่ต่างกัน คือ พระมัญชุศรีแทนปัญญาของพระพุทธเจ้าทั้งปวง, พระอวโลกิเตศวรแทนเมตตาของพระพุทธเจ้าทั้งปวง และพระวัชรปาณีปกป้องและแทนพลังอำนาจของพระพุทธเจ้าทั้งปวง[1] และปัญจตถาคต[2]

พระวัชรปาณีเป็นหนึ่งในธรรมปาละ (ธรรมบาล) ตามคติมหายาน รวมถึงปรากฏเป็นเทวดาในพระไตรปิฎกภาษาบาลีตามคติเถรวาท นอกจากนี้ยังปรากฏการบูชาในสังฆารามเส้าหลิน, พุทธแบบทิเบต และนิกายสุขาวดี โดยทั่วไปมักพบพระวัชรปาณีในฐานะผู้พิทักษ์ธรรม (ธรรมบาล) ในสังฆารามของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ประดิษฐานตามประตูทางเข้าออกของวัด นอกจากนี้ยังปรากฏการเกี่ยวข้องกับพระอจละ ในฐานะผู้ถือวัชระ[3]

ศัพทมูลแก้ไข

"วัชรปาณี" เป็นคำภาษาสันสกฤต โดย 'วัชร' แปลว่าเพชร (หรือนิยมตีความในฐานะสายฟ้า) และ 'ปาณิ' แปลว่า "[ซึ่งอยู่]ในมือ"[4]

ปางต่าง ๆแก้ไข

พระวัชรปาณีในรูปมนุษย์มักแสดงในรูปถือวัชระในมือขวา บางครั้งปรากฏเรียกว่าพระฌานิโพธิสัตว์ ซึ่งเทียบเท่าพระอักโษกภัย พระฌานิพุทธะองค์ที่สอง ส่วนปางปรากฏในรูปพระอาจารย-วัชรปาณี (Acharya-Vajrapani) เป็นปางหลัก ซึ่งเป็นพระวัชรปาณีในฐานะธรรมบาล (ผู้ปกป้องธรรม) โดยทั่วไปปางนี้มักแสดงดวงตาที่สาม, ฆัณฏา (กระดิ่ง) และ ปาศ (บ่วง) บางครั้งปรากฏในรูปพระนิลัมพร-วัชรปาณี (Nilambara-Vajrapani) ในรูปยิดัม หนึ่งศีรษะและสี่มือ ถือวัชระ และย่ำบนตัวบุคคลที่นอนบนงู ส่วนพระมหาจักร-วัชรปาณี (Mahacakra-Vajrapani) มักแสดงในรูปยิดัมเช่นกัน แต่มีสามศีรษะและหกแขน ถือวัชระและงูในขณะที่ย่ำบนพระพรหม และ พระศิวะ หากปรากฏร่วมกับรูปสตรีจะปรากฏในรูปของยับ-ยุม พระอจละ-วัชรปาณี (Acala-Vajrapani) ปรากฏเป็นรูปมีสี่ศีรษะ สี่แขน และสี่ขา ถือดาบ บ่วง และวัชระ ย่ำอยู่บนปิศาจ นอกจากนี้ยังปรากฏรูปปางที่คล้ายกับครุฑ[5]

อารมณ์แสดงของพระวัชรปาณีมักออกมาในรูปของความเกรี้ยวกราด และมักถูกแทนเชิงสัญลักษณ์เป็นยักษ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง "ความกลัวในปัจเจกเพื่อสลายความหยิ่งยโสในตัว"[6] มือขวาที่ยื่นออกไปกวัดแกว่งวัชระเป็นสัญลักษณ์แทน "ความรู้ที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว (ญาณวัชระ) ซึ่งจะทำลายความโลภ"[7] นอกจากนี้ยังอาจพบปรากฏสวมมงกุฏกะโหลก แต่โดยทั่วไปแล้วมักพบสวมมงกุฏโพธิสัตว์ห้ายอด เป็นสัญลักษณ์แทนพลังอำนาจของพระฌานิพุทธะทั้งห้าองค์[8]

อ้างอิงแก้ไข

  1. Santangelo (2013), pp. 217–218 footnotes.
  2. Linrothe (1999), p. 157.
  3. Getty (1928), p. 34.
  4. Santangelo (2013), p. 217 footnotes.
  5. Getty (1988), p. 50.
  6. Kalupahana (1992), p. 220.
  7. Kalupahana (1992), p. 219.
  8. Leviton (2012), p. 232.

บรรณานุกรมแก้ไข