พระราชสุตาลังการ (ฉัตต์ สจฺจวโร)
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พระราชสุตาลังการ (ฉัตต์ สจฺจวโร) ป.ธ.4 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11[1] (นครราชสีมา, บุรีรัมย์, ชัยภูมิ, สุรินทร์) ฝ่ายมหานิกาย และเจ้าอาวาสวัดพรหมสุรินทร์
พระราชสุตาลังการ (ฉัตต์ สจฺจวโร) | |
---|---|
ชื่ออื่น | เจ้าคุณพระมหาฉัตต์ ป.ธ.4 |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 มีนาคม พ.ศ. 2479 (88 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | น.ธ.เอก ป.ธ.4 พธ.ม.กิตติมศักดิ์ (พุทธบริหารการศึกษา) รป.ด.กิตติมศักดิ์ (รัฐประศาสนศาสตร์) |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดพรหมสุรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ |
อุปสมบท | 24 เมษายน พ.ศ. 2499 |
พรรษา | 68 |
ตำแหน่ง | ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11(ม) และเจ้าอาวาสวัดพรหมสุรินทร์ |
ชาติภูมิ
แก้พระราชสุตาลังการ นามเดิมว่า ฉัตต์ นามสกุลเอ็นดู เกิดวันศุกร์ที่ 6 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2479 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 4 ปีชวด เป็นบุตรของนายทิพย์-นางอิด นามสกุลเอ็นดู ภูมิลำเนาเดิมอยู่ บ้านเลขที่ 58 บ้านปราสาท ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ 32120
บรรพชาและอุปสมบท
แก้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันจันทร์ที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2497ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเมีย ณ วัดปทุมศิลาวารี ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดยมีพระครูธรรมคุณาจารย์ วัดพรมเทพ เป็นพระอุปัชฌาย์
อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันอังคารที่ 24 เดือนเมษายน พ.ศ. 2499ตรงกับวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปีชวด ณ พัทธสีมาอุโบสถวัดปทุมศิลาวารี ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ โดยมี พระครูธรรมคุณาจารย์ วัดพรมเทพ เป็นพระอุปัชฌาย์,พระครูวรธรรมาจารย์ วัดพรมเทพ เป็นพระกรรมวาจาจารย์,พระอธิการผาย จิรธมฺโม วัดปทุมศิลวารี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานามจากพระอุปัชฌาย์ว่า “สจฺจวโร”
วุฒิการศึกษา
แก้- พ.ศ. 2488 จบการศึกษาภาคบังคับจากโรงเรียนวัดปทุมศิลาวารี บ้านปราสาท ตำบลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2500 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก สำนักศาสนศึกษาวัดพิมพ์นันทประชาบำรุง สำนักเรียนคณะจังหวัดขอนแก่น
- พ.ศ. 2515 สำเร็จการศึกษา ม.ศ.3 จากโรงเรียนขุขันธ์ราษฎร์บำรุง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
- พ.ศ. 2516 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 4 ประโยค สำนักเรียนวัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร
งานปกครองบริหารกิจการคณะสงฆ์
แก้- พ.ศ. 2522 ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ให้ดำรงตำแหน่ง เป็นรองเจ้าอาวาสวัดพรหมสุรินทร์
- พ.ศ. 2525 ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ ให้ดำรงตำแหน่ง เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพรหมสุรินทร์
- พ.ศ. 2527 ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ให้ดำรงตำแหน่ง เป็นเจ้าอาวาสวัดพรหมสุรินทร์
- พ.ศ. 2529 ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะภาค 11 ให้ดำรงตำแหน่ง เป็นรองเจ้าคณะอำเภออำเภอปราสาท รูปที่ 2
- พ.ศ. 2533 ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะภาค 11 ให้ดำรงตำแหน่ง เป็นเจ้าคณะอำเภออำเภอปราสาท
- พ.ศ. 2535 ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก ให้ดำรงตำแหน่ง เป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2553 ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เป็น รองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2557 ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะภาค 11 ให้ดำรงตำแหน่ง เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ [2] (24 มกราคม พ.ศ. 2557)
- พ.ศ. 2557 ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่ง เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ [3] (10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557)
- พ.ศ. 2559 ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์[4] ตามมติการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 9/2559 วันพุธ ที่20 เมษายน พ.ศ. 2559
- พ.ศ. 2567 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 (นครราชสีมา, บุรีรัมย์, ชัยภูมิ, สุรินทร์) ฝ่ายมหานิกาย[5]ตามมติการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 1/2567 วันพฤหัสบดี ที่11 มกราคม พ.ศ. 2567
เหตุการณ์สำคัญในชีวิต
แก้- 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2539 เวลา 16.15 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ในขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ตัดหวายลูกนิมิต ณ อุโบสถวัดพรหมสุรินทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ในโอกาสนี้ พระครูปริยัติธรรมประยุต (ฉัตต์ สจฺจวโร) เจ้าอาวาสวัดพรหมสุรินทร์ เข้าเฝ้ารับเสด็จ และถวายของที่ระลึก
งานด้านการศึกษา
แก้งานด้านการเผยแผ่
แก้- พ.ศ. 2508 เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ ๖ ของคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2535 เป็นคณะกรรมการอบรมพระสังฆาธิการ ของคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์
- พ.ศ. 2536 เป็นพระวิทยากรอบรมพระสังฆาธิการเพื่อสอบเป็นพระอุปัชฌาย์ ของคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์
รางวัลเกียรติคุณที่ได้รับ
แก้- พ.ศ. 2527 ได้รับรางวัลสำนักเรียนตัวอย่างแผนกธรรม-บาลี ระดับภาค ๑๑ จากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
- พ.ศ. 2538 ได้รับรางวัลเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
- พ.ศ. 2542 ได้รับรางวัลเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
- พ.ศ. 2544 ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร สาขาส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-บาลี จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- พ.ศ. 2556 ได้รับการถวายปริญญาโทกิตติมศักดิ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พธ.ม.กิตติมศักดิ์) สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา โดยได้รับการอนุมัติสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ได้รับการถวายปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (รป.ด.กิตติมศักดิ์) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ โดยได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
สมณศักดิ์,พัดยศ
แก้- พ.ศ. 2516 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 4 ประโยค มหาเถรสมาคมได้กำหนดลำดับชั้นสมณศักดิ์พัดยศของคณะสงฆ์ไทย ที่ พระมหาฉัตต์ สจฺจวโร ป.ธ.4
- พ.ศ. 2531 มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสมณศักดิ์ตั้งพระครูสัญญาบัตร มีพัดยศสมณศักดิ์ประจำตำแหน่ง พระครูสัญญาบัตรรองเจ้าคณะอำเภอชั้นโท ในราชทินนามที่ พระครูปริยัติธรรมประยุต
- พ.ศ. 2533 ปรับชั้นพัดยศสมณศักดิ์ให้ตรงตามตำแหน่งทางคณะสงฆ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะอำเภอชั้นโท ในราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2538 ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช โปรดให้เลื่อนชั้นสมณศักดิ์พัดยศ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2544 ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช โปรดให้เลื่อนชั้นสมณศักดิ์พัดยศ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2553 ปรับชั้นพัดยศสมณศักดิ์ให้ตรงตามตำแหน่งทางคณะสงฆ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะจังหวัด ในราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2554 มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พัดยศขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ในราชทินนามที่ พระโสภณปริยัตยาภรณ์,(สป.)
- พ.ศ. 2559 มีพระราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์พัดยศขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชสุตาลังการ[6]
- ลำดับที่๕๒. พระโสภณปริยัตยาภรณ์ เป็น พระราชสุตาลังการ บริหารศาสนกิจจานุกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี พระราชาคณะชั้นราช สถิต ณ วัดพรหมสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มีฐานานุศักดิ์ตั้งฐานานุกรมได้ ๔ รูป คือ พระครูปลัด ๑ พระครูสังฆรักษ์ ๑ พระครูสมุห์ ๑ พระครูใบฎีกา ๑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์,เล่ม ๑๓๓,ตอนที่ ๔๓ ข,๙ ธันวาคม ๒๕๕๙,หน้า ๗
อ้างอิง
แก้- ↑ chanhena, Bandit. "มส.เห็นชอบต่ออายุ "เจ้าคณะภาค 9" พร้อมยก 2 เจ้าคณะจังหวัดขึ้นที่ปรึกษา". เดลินิวส์.
- ↑ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=296348023845644&set=a.108339605979821.19133.100004113464053&type=1&theater
- ↑ http://www.mahathera.org/detail.php?module=mati&id=255702041201&title=10[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://www.mahathera.org/detail.php?module=news&id=224&title=02[ลิงก์เสีย]
- ↑ https://www.dailynews.co.th/news/3075128/
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-04-17. สืบค้นเมื่อ 2022-01-17.
ก่อนหน้า | พระราชสุตาลังการ (ฉัตต์ สจฺจวโร) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระธรรมโมลี (ทองอยู่ ญาณวิสุทฺโธ) | เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2559) |
พระศรีวิสุทธิคุณ (มานพ ปิยสีโล) | ||
พระสิทธิการโกศล (เมธ ปญฺญาวโร) | ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2567) |
พระครูสิริพรหมสร (สมพงษ์ พรฺหมฺสโร) | ||
เริ่มตำแหน่ง | ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 (พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน) |
ยังอยู่ในตำแหน่ง |