พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมพิสมัย

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมพิสมัย (เดิม หม่อมเจ้าปฐมพิสมัย; 7 สิงหาคม พ.ศ. 2405 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2422) เป็นพระราชธิดาในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติแต่จอมมารดา กรุด

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมพิสมัย
พระราชวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ7 สิงหาคม พ.ศ. 2405
สิ้นพระชนม์9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2422 (16 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
พระมารดาจอมมารดากรุด

พระประวัติ แก้

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมพิสมัย ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2405[1] เป็นพระราชธิดาในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญประสูติแต่จอมมารดากรุด ทรงเป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวที่ประสูติก่อนที่พระบิดาจะได้อุปราชาภิเษก เมื่อแรกประสูติจึงมีพระยศเป็น หม่อมเจ้าปฐมพิสมัย ต่อมาเมื่อพระราชบิดาได้รับพระราชทานอุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแล้วจึงเลื่อนเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมพิสมัย

พระองค์เจ้าปฐมพิสมัย ทรงได้รับพระราชทานโสกันต์ในพระบรมมหาราชวังร่วมกับพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งมีพระชันษาไล่เลี่ยกันหลายพระองค์

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฐมพิสมัย สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2421 สิริพระชันษา 16 ปี[1]

พ.ศ. 2425 ในงานสมโภชพระนครครบรอบร้อยปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้บำเพ็ญพระราชกุศลในพระราชวังบวรสถานมงคลเพื่ออุทิศถวายกรมพระราชวังบวรสถานมงคลทั้ง 3 พระองค์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้านายวังหน้าอีกหลายพระองค์ ในครั้งนั้นได้เชิญพระอัฐพระองค์เจ้าปฐมพิสมัยด้วย ปรากฏความใน ตำนานวังหน้า ว่า[2]

"...ในการพระราชกุศลครั้งนี้ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ทรงพระปรารภพระบรมญาติราชสัมพันธวงษ์เธอ แลพระเจ้าบวรวงษ์เธอ แลพระเจ้าวรวงษ์เธอ อันมีพระอัษฐิประดิษฐานอยู่ในพระราชวัง บวรฯ แลในวังต่าง ๆ ซึ่งได้ดำรงพระยศเปนพระองค์เจ้าต่างกรม ฤๅ ที่ได้ทรงรู้จักคุ้นเคย โปรดให้เชิญพระอัษฐิมาประดิษฐาน ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลด้วยณบัดนี้... พระวรวงษ์ เธอชั้น ๕ พระองค์เจ้าปฐมพิศมัย อันเปนพระธิดาใหญ่ในกรม พระราชวังบวรฯ ๑ รวม ๒๕ พระองค์ มาตั้งในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ แล้วทรงบำเพ็ญพระราชกุศล โปรดให้นิมนต์พระสงฆ์มีพระราชาคณะ เปนประธาน ๔๕ รูป มารับพระราชทานฉัน แล้วพระราชทานไตรจีวร ๒๔ รูป ทรงพระราชอุทิศเปนส่วน ๆ..."

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 138. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-07-16.
  2. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. ตำนานวังหน้า. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว, พ.ศ. 2553. 216 หน้า. หน้า 178. ISBN 978-616-508-213-6