พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ (17 ธันวาคม พ.ศ. 2414 — 9 เมษายน พ.ศ. 2471) เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 11 ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติแต่จอมมารดาปุ้ย

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ
พระราชวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นโท
พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ (ด้านหลัง)
กับพระองค์เจ้าเทวีวิไลยวรรณ (ด้านหน้า)
ประสูติ17 ธันวาคม พ.ศ. 2414
สิ้นพระชนม์9 เมษายน พ.ศ. 2471 (56 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
พระมารดาจอมมารดาปุ้ย

พระประวัติ แก้

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ เป็นพระราชธิดาพระองค์ที่ 11 ในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติแต่จอมมารดาปุ้ย (ธิดาพระยาพระราม (แสง) กับท่านปุก) เมื่อวันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2414[1]

ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2435 พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ ทรงเข้าเป็นสามัญสมาชิกของหอพระสมุดวชิรญาณในพระบรมมหาราชวัง และประทานเงินบำรุงปีละ 20 บาทเป็นประจำทุกปี ปรากฏความใน วชิรญาณวิเศษ ว่า[2]

"...คราวประชุมครั้งที่ ๓ พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าอรุณวดี อุปนายก ทรงนำ พระเจ้าบวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าดวงประภา ภาคินีสมาชิก ทรงรับรอง ๑๔ พระบวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญญพรรณ์ เปนภาคินีสมาชิก ๑๕ พระบวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าอับศรศรีราชกานดา เปนภาคินีสมาชิก ได้ลงชื่อส่งเงินแล้ว วันที่ ๒ พฤศจิกายน ร,ศก ๑๑๑ ท่านสมาชิกทั้งปวงจงทราบว่า บรรดาท่านที่ได้กล่าวนามแลพระนามมาแล้วนี้ นับว่าเปนสมาชิกของหอพระสมุดวชิรญาณ ตั้งแต่วันที่ได้มาลงนามแลพระนาม ซึ่งได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น เปนต้นไป..."

และ[3]

"...ตั้งแต่วันที่ ๕ จนถึงวันที่ ๑๑ มกราคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒ ในระหว่าง ๗ วันนี้ ท่านสมาชิกได้มายังหอพระสมุดวชิรญาณ ๒๒ ท่าน ได้ลงชื่อ ๓๙ ครั้ง แลหนังสือที่ได้ให้ยืม ๔๕ ครั้ง แลสมาชิกได้นำเงินค่าเกมบิลเลียดมาส่ง ๕ ท่าน รวมเปนเงิน ๙๕ บาท ๑๖ อัฐ สมาชิกได้นำเงินบำรุงหอพระสมุดวชิรญาณจำนวนปีที่ ๑๓ มาส่งยังหอพระสมุดวชิรญาณ เปนเงินรายละ ๒๐ บาท ดังจะมีรายพระนามแลนามแจ้งต่อไปนี้ คือ... พระบวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญญพรรณ์ ๑..."

พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ ประชวรพระโรคอัมพาตมาช้านาน สิ้นพระชนม์ที่พระตำหนักในพระบรมมหาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อวันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2471 พระชนมายุนับปีได้ 57 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ เสด็จเป็นประธานในการพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ กับทั้งรับพระศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์มีกำหนดเวลา 15 วัน[4] พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2473[1]

พระเกียรติยศ แก้

พระอิสริยยศ แก้

  • พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ (17 ธันวาคม พ.ศ. 2414 — 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454)[5]
  • พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าฉายรัศมีหิรัญพรรณ (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 — 9 เมษายน พ.ศ. 2471)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 140. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-06-26.
  2. วชิรญาณวิเศษ เล่ม ๘ แผ่นที่ ๕ วันพฤหัศบดีที่ ๑๐ เดือน พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๑ ราคาแผ่นละ ๓๒ อัฐ[ลิงก์เสีย]
  3. วชิรญาณวิเศษ เล่ม ๙ แผ่นที่ ๑๒ วันพฤหัศบดี ที่ ๑๘ เดือน มกราคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒ ราคาแผ่นละ ๓๒ อัฐ[ลิงก์เสีย]
  4. ข่าวสิ้นพระชนม์
  5. ราชบัณฑิตยสถาน. พระเจ้าวรวงศ์เธอ (ตอนที่ ๑) (๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒). เรียกดูเมื่อ 13 เมษายน 2556
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายใน, เล่ม 24 หน้า 1011, วันที่ 29 พฤศจิกายน 2451.