พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี)

พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี) (29 พฤษภาคม พ.ศ. 2465-29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551) เป็นอดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร,อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. 2529-2540,เป็นมีผู้ส่วนสำคัญต่อการสนับสนุนให้เกิดการได้มาซึ่ง การตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540 [1] เคยต้องคดีข้อห้าอันเป็นคอมมิวนิสต์ ในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) นายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 11 และต้องถูกจองจำถูกคุมขังในสันติปาลาราม เป็นเวลากว่า 4 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2503-2507 และถูกปล่อยตัวโดยไม่มีการส่งฟ้องศาลแต่อย่างใด[2]

พระราชรัตนโมลี

(นคร เขมปาลี)
ชื่ออื่นท่านเจ้าคุณนคร ป.ธ.6
ส่วนบุคคล
เกิด29 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 (86 ปี ปี)
มรณภาพ29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
นิกายมหานิกาย
การศึกษาป.ธ.6
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
พรรษา58 พรรษา
ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
เจ้าคณะ 3
อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ในระหว่างถูกจองจำได้แปลหนังสือเรื่อง “Glimpses of World History”[3] ในชื่อภาษาไทยว่า โฉมหน้าประวัติศาสตร์สากล [4]และ “Letters from a Father to His Daughter”[5] ในชื่อภาษาไทยว่า จดหมายจากพ่อถึงลูกสาว[6] ของ “ยวาหรลาล เนห์รู” อดีตนายกรัฐมนตรีอินเดีย ภายใต้การแนะนำจาก “อาจารย์กรุณา กุศลาสัย” (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2463 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552) อดีตสามเณรใจสิงห์ ในโครงการ "พระภิกษุสามเณรใจสิงห์–Lion-hearted Bhikkhus and Samaneras" [7] ของ พระโลกนาถ (ซัลวาโตเล ซิโอฟฟี) พระภิกษุชาวอิตาลี ที่นำพระภิกษุจากไทย พม่า ทีเดินธุดงค์ด้วยเท้าจากประเทศไทยไปศึกษาอบรมที่ประเทศอินเดีย เป็นนักเขียนบทความและสารคดี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต และภารตวิทยา กรุณาได้รับรางวัลศรีบูรพาปี พ.ศ. 2538, ที่ถูกคุมขังอยู่ด้วยกันในขณะนั้น พร้อมทั้งได้เขียนบันทึกชีวิตไว้ในหนังสือ ชีวิตลิขิตของกรรม [8] ที่มีความตอนหนึ่งที่เกี่ยวกับพระสงฆ์กับการเมืองที่ว่า “…นี่คือระบอบประชาธิปไตยแบบไทยที่มีอุณหภูมิไม่แน่นอน ครึ่งใบบ้าง ค่อนใบบ้าง เต็มใบบ้าง ตามวุฒิภาวะของผู้นำรัฐบาล แม้รัฐธรรมนูญก็สามารถเปลี่ยนใหม่ได้ตามพลังและอำนาจนิยม…”[9]

การศึกษา แก้

Doctor of Philosophy (Ph.D.) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาปรัชญา นวนาลันทามหาวิหาร มหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอินเดีย

สอบไสได้นักธรรมชั้นเอก สำนักศาสนศึกษา วัดนางในฮัมมิการาม อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง สำนักเรียนคณะจังหวัดอ่างทอง

สอนได้เปรียญธรรม 6 ประโยค สำนักเรียนวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ตำแหน่ง แก้

งานปกครองคณะสงฆ์ แก้

  • ผู้อำนวยการมหาธาตุวิทยาลัย

งานด้านการศึกษา แก้

  • พ.ศ. 2521 เลขาธิการ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

สมณศักดิ์ แก้

5 ธันวาคม พ.ศ. 2531 เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระอมรเมธาจารย์ (สป.)[10]

10 มิถุนายน พ.ศ. 2539 เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชรัตนโมลี ศรีสิกขกิจวโรปการ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [11]

ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์และถูกจองจำจำคุกในสันติปาลาราม แก้

ข้อมูลจากในหนังสือที่บันทึกด้วยตัวท่านเอง ชีวิตลิขิตของกรรม [12] คืนวันหนึ่งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2503 เวลาประมาณ 17.00 น. ก็พบ พ.ต.อ.ชลอ ขุทภาสน์ พร้อมด้วยตำรวจสันติบาลจำนวนหนึ่งมานั่งรอข้าพเจ้าอยู่แล้ว แสดงตัวเข้าจับกุมข้าพเจ้าในข้อกล่าวหาว่า มีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ พร้อมกับพระมหามนัส จิตฺตทโม (พวงลำเจียก) และได้ทำการค้นห้องพักยึดเอาหนังสือที่ได้รับมอบถวายมาจากประเทศจีนเป็นแดงจำนวนหนึ่งและพาไปควบคุมไว้ที่สโมสรกรมตำรวจปทุมวัน เวลา 3 วัน ก็พาเราทั้งสองไป บังคับเอาผ้าเหลืองผ้าจีวรออก และใช้ผ้าแต่งกายคฤหัสถ์แทนต่อหน้าพระเทพเวที (ฟื้น ชุตินฺธโร) เจ้าอาวาสวัดสามพระยา และเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร แล้วนำไปควบคุมไว้ที่ห้องขังที่อาคารหลังหนึ่ง ใกล้กับสโมสรกรมตำรวจนั้น[13]

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2540. เล่มที่ 114, ตอนที่ 51 ก, วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2540, หน้า 24
  2. พระไทย 4 รูป คือ พระมหามนัส พวงลำเจียก, พระมหานคร พยุงญาติ, พระมหาโอภาส เวียงเหล็ก และพระมหาสังเวียร มีเผ่าพงษ์ ี้ร่วมงาน International Buddhist Monks Delegation to China. ที่มา กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม. (2566). สังเวียร มีเผ่าพงษ์ สงฆ์ไทยไปจีนแดงสมัยสฤษดิ์ กลับมาเจอข้อหาภัยความมั่นคง. วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2566 https://www.silpa-mag.com/history/article_22045
  3. Jawaharlal Nehru. (1934). Glimpses of World History. Penguin Books https://en.wikipedia.org/wiki/Glimpses_of_World_History
  4. พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี) แปล. (2541). โฉมหน้าประวัติศาสตร์สากล = Glimpses of world history / ยวาหรลาล เนห์รู, เขียน ; พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี), กรุงเทพฯ: สภาเพื่อความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมแห่งประเทศอินเดีย และมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
  5. Jawaharlal Nehru. (1929). Letters from a Father to His Daughter. Allahabad Law Journal Press. https://en.wikipedia.org/wiki/Letters_from_a_Father_to_His_Daugh)ter
  6. พระราชรัตนโมลี (ดร.นคร เขมปาลี). (2013). จดหมายจากพ่อถึงลูกสาว. ผู้เขียน ยวาหระลาล เนห์รู. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.
  7. "ประวัติสามเณรกรุณาเมื่อครั้งติดตามพระโลกนาถไปศึกษาที่สาธารณรัฐอินเดีย" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2014-07-26.
  8. พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี),(2551), ชีวิตลิขิตของกรรมกับจดหมายจากพ่อถึงลูกสาว, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
  9. พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี),(2551), ชีวิตลิขิตของกรรมกับจดหมายจากพ่อถึงลูกสาว, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 105, ตอนที่ 207 ง, 9 ธันวาคม พ.ศ. 2531, หน้า 6
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 113, ตอนที่ 10 ข, 7 มิถุนายน พ.ศ. 2539, หน้า 11
  12. พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี),(2551), ชีวิตลิขิตของกรรมกับจดหมายจากพ่อถึงลูกสาว, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, -
  13. พระปลัดระพิน พุทธิสาโร,(2566), เขมปาลีศึกษา ว่าด้วยพระสงฆ์กับการเมืองและถูกคุมขัง : บันทึกไว้ในโอกาส 100 ปีชาตกาล พระราชรัตนโมลี (นคร เขมปาลี) https://online.anyflip.com/mgfva/bvta/mobile/index.html