พระราชพิธีรัชดาภิเษก พ.ศ. 2514

พระราชพิธีรัชดาภิเษก (อังกฤษ: Ceremonial Ratchadapisek silver jubilee Ceremonial 25 years of celebrations 9th june 1971) เป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้น เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 25 ปี ในวันที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2514 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีหมายกำหนดการจัดงานพระราชพิธีรัชดาภิเษก ระหว่างวันที่ 8-10 มิถุนายน พุทธศักราช 2514 รวมทั้งสิ้น 3 วัน รัฐบาลในสมัยของจอมพล ถนอม กิตติขจร และประชาชนชาวไทยร่วมกันจัดพระราชพิธีนี้ขึ้น ดังปรากฏเป็นเหตุการณ์ดังต่อไปนี้

พระราชพิธีรัชดาภิเษก พ.ศ. 2514
ตราสัญลักษณ์
วันที่8–10 มิถุนายน พ.ศ. 2514
ประเทศประเทศไทย ไทย
เหตุการณ์ถัดไปพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พ.ศ. 2531
จัดโดยไทย รัฐบาลไทย

พระราชพิธี แก้

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พุทธศักราช 2514 แก้

เวลา 08.00 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนิน ทรงตรวจพลสวนสนาม และ ทอดพระเนตร การแสดงแสนยานุภาพของกองทัพไทย ณ ถนนราชดำเนินกลาง ช่วงบริเวณวงเวียน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พุทธศักราช 2514 แก้

เวลา 10.00 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จออกมหาสมาคม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ภายในพระบรมมหาราชวัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อกราบบังคมทูลพระกรุณา ถวายพระพรชัยมงคล แทน พระบรมวงศานุวงศ์

วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พุทธศักราช 2514 แก้

เวลา 11.30 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จออก ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้คณะทูตานุทูตต่างประเทศ และผู้แทนกงสุล เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคล

เวลา 16.00 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมายัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระสงฆ์ 80 รูป เจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพร ภายในพระอุโบสถ จากนั้น เสด็จพระราชดำเนิน ไปที่หน้าพระอุโบสถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้บรรพชิตจีนนิกาย และอนัมนิกาย ถวายพระพรชัยมงคล จากนั้น จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับ

รัฐพิธี แก้

รัฐบาลไทยได้เตรียมการจัดรัฐพิธี เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก พ.ศ. 2514 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2514 เวลา 19.00 น. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนิน ทรงร่วมงานสโมสรสันนิบาต ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

ตราสัญลักษณ์ แก้

ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีรัชดาภิเษก 9 มิถุนายน 2514 มีลักษณะเป็นรูปพระมหามงกุฎ ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า มีรัศมีแผ่โดยรอบ ตั้งอยู่บนวิมานเมฆ ระหว่างพระมหามงกุฎและพาน มีตราอุณาโลมหรือเลข 9 อันหมายถึง รัชกาลที่ 9 ข้างพานมีราชสีห์และคชสีห์ ค้ำจุนขนาบเศวตฉัตรซ้ายขวา ส่วนล่างมีอักษร "รัชดาภิเษก ๙ มิถุนายน ๒๕๑๔" และแถบข้อความ "ที่ระลึกพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี"[1]

ตราสัญลักษณ์นี้ มีปรากฏใช้เพียงสองแห่ง คือบนพัดรองจำนวน 200 เล่ม เพื่อถวายแต่พระสงฆ์ ตั้งแต่ชั้นเจ้าคณะจังหวัดขึ้นไป ตามโบราณราชประเพณี และหนังสือที่ระลึก ซึ่งจัดพิมพ์ขึ้นในโอกาสนี้ มิได้มีใช้ทั่วไป[1]

อนึ่ง ตราสัญลักษณ์ที่ปรากฏ บนพัดรองที่ระลึกทั้ง 200 เล่มนั้น ข้อความที่ว่า "ที่ระลึกพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี" กลับขึ้นไปอยู่ตอนบน โดยไม่มีแถบในตอนล่าง[2]

ของที่ระลึก แก้

 
เหรียญรัชดาภิเษก

เหรียญที่ระลึก แก้

  •   เหรียญรัชดาภิเษก

ถนนรัชดาภิเษก แก้

 
ถนนรัชดาภิเษก ช่วงทางแยกอโศกมนตรี

โรงเรียนรัชดาภิเษก แก้

รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทขอพระราชทาน จัดตั้งโรงเรียนพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสมหามงคลนี้ โดยจัดตั้งโรงเรียนระดับสามัญศึกษา ขึ้น จำนวน 9 โรง ทั่วพระราชอาณาจักร แต่ละโรงได้รับนามราชทานว่า "รัชดาภิเษก" ประกอบกับชื่ออำเภออันเป็นที่ตั้ง ดังนี้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 ศิลปากร, กรม. ตราสัญลักษณ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2542. หน้า 22.
  2. เล่าเรื่องในเมืองไทย : พัดประจำรัชกาลที่ 9 พัดที่ระลึกการครองราชย์ เก็บถาวร 2016-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก ผู้จัดการออนไลน์ อ้างเมื่อ 3 พฤษภาคม 2550