พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)

ขุนนางไทย

พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2422 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นนักเขียน ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาไทย ท่านใช้นามปากกาหลายนาม ที่รู้จักกันแพร่หลาย คือ "ในอีกชื่อคือ “นิม", "อนึก คำชูชีพ" และเป็นผู้ริเริ่มคำทักทายคำว่า "สวัสดี" และยังเป็นผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษาทางการแพทย์หรือที่เรียกว่าอาจารย์ใหญ่ เป็นท่านแรกของประเทศไทย โดยกล่าวว่า "ฉันเป็นครู ตายแล้วขอเป็นครูต่อไป"[1]

พระยาอุปกิตศิลปสาร
(นิ่ม กาญจนาชีวะ)
เกิด10 พฤษภาคม พ.ศ. 2422
เสียชีวิต19 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 (62 ปี)
สัญชาติไทย
ชื่ออื่นอ.น.ก., อุนิกา, อนึก คำชูชีพ
อาชีพนักเขียน, ผู้เชี่ยวชาญทางภาษา
มีชื่อเสียงจากผู้ริเริ่มการใช้คำว่า “สวัสดี” สำหรับทักทาย, อาจารย์ใหญ่คนแรกของประเทศไทย, เป็นคนแต่งตำราเรียนภาษาไทยหลายเล่ม, เป็นคนแปลบทกลอนของกวีอังกฤษ โทมัส เกรย์ เป็นกลอนดอกสร้อย รำพึงในป่าช้า

ประวัติ

แก้

พระยาอุปกิตศิลปสารมีนามเดิมว่า นิ่ม กาญจนาชีวะ เป็นบุตรของ นายหว่าง และ นางปลั่ง เกิดวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2422 ศึกษาหาความรู้ภาษาไทยเบื้องต้นที่วัดบางประทุนนอก อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันคือเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร) และที่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ต่อมาได้บวชเป็นสามเณรและเป็นพระภิกษุที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร สมเด็จพระวันรัต (แดง สีลวฑฺฒโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ ระหว่างที่บวชได้ศึกษาพระธรรมวินัย จนสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค และศึกษาวิชาครู

พระยาอุปกิตศิลปสารได้เริ่มเข้ารับราชการเป็นครูฝึกสอน ที่โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์สายสวลี ต่อมาได้ย้ายไปสอนที่โรงเรียนสวนกุหลาบ วัดมหาธาตุ และ โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยา นอกจากเป็นครูแล้ว พระยาอุปกิตศิลปสารยังเคยดำรงตำแหน่งข้าหลวงตรวจการ พนักงานกรมราชบัณฑิต หัวหน้าการพิมพ์แบบเรียน หัวหน้าแผนกอภิธานสยาม ปลัดกรมตำราและอาจารย์ประจำกรมศึกษาธิการ และได้เลื่อนยศบรรดาศักดิ์มาตามลำดับ จนวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2467 จึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาอุปกิตศิลปสาร มีตำแหน่งในกระทรวงศึกษาธิการ ถือศักดินา 1,000[2] และมียศเป็นอำมาตย์เอก

พระยาอุปกิตศิลปสารเป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญทางภาษาไทย ภาษาบาลี และวรรณคดีไทย อีกทั้งท่านยังเป็น อาจารย์พิเศษแผนกภาษาไทยและภาษาโบราณตะวันออกในคณะอักษรศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์พิเศษสอนภาษาไทยในชุดครูมัธยม และเป็นกรรมการชำระปทานุกรม ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2484

ผลงาน

แก้
  • ตำราไวยากรณ์ไทย 4 เล่ม ได้แก่ อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ และ ฉันทลักษณ์
  • สงครามภารตะคำกลอน
  • คำประพันธ์บางเรื่อง
  • ผู้ที่ริเริ่มใช้คำว่า "สวัสดี"
  • กลอนสุภาพ พ่อแม่รังแกฉัน
  • กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า (ปรับจาก Elegy Written in a Country Churchyard)
    • ได้รับการบรรจุเป็นแบบเรียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษามานานนับ 10 ปี [3]

สยามไวยากรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "อาจารย์ใหญ่คนแรกของเมืองไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-24.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานบรรดาศักดิ์, เล่ม 41, ตอน ง, 1 มกราคม 2467, หน้า 3447
  3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว, 2550, หน้า 127
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๖๖, ๒๐ มกราคม ๒๔๖๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๓๗๘, ๑๐ มกราคม ๒๔๕๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2022-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๔ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๐๘๗, ๑๘ มีนาคม ๒๔๗๐
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญจักรพรรดิมาลาไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๑๗, ๒ ธันวาคม ๒๔๗๗