พระยาอมาตยพงศ์ธรรมพิศาล (ประสงค์ อมาตยกุล)

พระยาอมาตยพงศ์ธรรมพิศาล เกิดที่บ้านหน้าวัดราชบูรณะหรือวัดเลียบ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ. 2426 เป็นบุตรนายหนู และนางหนู อมาตยกุล นายหนูผู้บิดานั้นเป็นบุตรของพระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) ส่วนนางหนูผู้มารดานั้น เป็นบุตรีของพระยาธรรมสารนิติพิพิธภักดี (ตาด อมาตยกุล) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญซอสามสาย นายหนูและนางหนู มีวงเครื่องสายประจำบ้าน นางหนูนั้น นอกจากจะสีซอด้วงและสีไวโอลินแล้ว ยังเป็นนักร้องอีกด้วย

พระยาอมาตยพงศ์ธรรมพิศาล เรียนซอด้วง ซออู้ และไวโอลินกับบิดามารดาและได้ร่วมวงเล่นเครื่องสายมากับญาติผู้ใหญ่ของท่าน และเรียนสีซอสามสายจากเจ้าจอมประคอง ในรัชกาลที่ 5 ต่อมาสอบชิงทุนรัฐบาลได้ ไปเรียนวิชากฎหมายกลับมารับราชการที่กระทรวงยุติธรรมในปลายรัชกาลที่ 5 ต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 7 เมื่อรับราชการแล้ว ท่านได้เรียนวิชาดนตรีไทยเพิ่มเติม อีกจนเชี่ยวชาญ และได้สอนดนตรีไทยให้ผู้สนใจหลายคนเช่น พระยาภูมีเสวิน นายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล เป็นต้น

พระยาอมาตยพงศ์ธรรมพิศาล สมรสกับกับถนอม สวัสดิ-ชูโต บุตรเกิดด้วยคุณหญิงถนอม ๔ คน แต่ไม่มีบุตรคนใดเป็นนักดนตรี ท่านป่วยด้วยโรคปวดกระดูกเรื้อรังจนถึงแก่กรรมเมื่อ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2495 รวมอายุได้ 69 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๘๕, ๖ ธันวาคม ๒๔๗๔
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน เก็บถาวร 2022-06-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๒๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๔๗๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน[ลิงก์เสีย], เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๕๐๗, ๕ มกราคม ๒๔๗๒

http://sirindhornmusiclibrary.mahidol.ac.th/musiclibrary/index.php?ac=hall_of_fame/hall_of_fame_dataperson&id=76&languages=th#001[ลิงก์เสีย]