พระยาอมรฤทธิธำรงค์ (บุญชู บุนนาค)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
มหาอำมาตย์ตรี จางวางตรี พระยาอมรฤทธิธำรง (บุญชู บุนนาค) (12 ธันวาคม 2426–30 มีนาคม 2470) อดีตองคมนตรี อดีตปลัดมณฑลกรุงเก่า และอดีตผู้ว่าราชการ จังหวัดตะกั่วป่า
จางวางตรี พระยาอมรฤทธิธำรง (บุญชู บุนนาค) | |
---|---|
เกิด | 12 ธันวาคม พ.ศ. 2426 |
ถึงแก่กรรม | 30 มีนาคม พ.ศ. 2470 (43 ปี) |
สาเหตุเสียชีวิต | โรคบิด |
ภรรยาเอก | คุณหญิงชุมนุม อมรฤทธิธำรง |
บิดามารดา |
|
ตระกูล | บุนนาค |
ประวัติ
แก้พระยาอมรฤทธิธำรง มีชื่อเดิมว่า บุญชู บุนนาค เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2426 เป็นบุตรชายของ พระศรีธรรมสาสน (เชย บุนนาค) กับ ท้าวราชกิจวรภัตร ศรีสวัสดิ์รสาหาร (ปุย บุนนาค)[1]
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงชุมนุม บุนนาค ธิดาของ มหาอำมาตย์โท พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค)
พระยาอมรฤทธิธำรงถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2470 ด้วยโรคบิด สิริอายุเพียง 43 ปี[2]
รับราชการ
แก้พระยาอมรฤทธิธำรงเริ่มต้นรับราชการเป็นเสมียนในกรมปลัดบัญชี กระทรวงมหาดไทย เมื่อ พ.ศ. 2444 ขณะอายุเพียง 18 ปีจากนั้นในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2451 จึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น นายจำนงราชกิจ หุ้มแพรวิเศษ กรมพระอาลักษณ์ ถือศักดินา ๕๐๐ ขณะอายุได้ 25 ปีต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2453 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น หลวงมหาสิทธิโวหาร และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเครื่องแต่งตัวอย่าง มหาดเล็กชั้นที่ 2 ตรีเทียบเท่าชั้นจ่า เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2454 ต่อมาได้รับพระราชทานตราวชิรมาลาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 และโปรดเกล้าฯ ให้แต่งเครื่องแต่งตัวอย่างมหาดเล็กชั้นที่ 2 เอกเทียบเท่าชั้น หัวหมื่นมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2454 รวมถึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ตริตาภรณ์มงกุฎไทย ในงานสวดมนต์พระราชพิธีฉัตรมงคลเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454
ถึงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2455 หลวงมหาสิทธิโวหารจึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระยาราชสาสนโสภณ มีตำแหน่งราชการใน กรมราชเลขานุการ พร้อมกับเลื่อนยศเป็น จางวางตรี ในวันเดียวกันและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 โดยดำรงตำแหน่ง ราชเลขานุการในพระองค์
แต่ในเวลาต่อมา พระยาราชสาสนโสภณ พ้นจากตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2456 เนื่องจากปฏิบัติราชการเป็นที่เสื่อมเสียมัวหมองโดยมี พระยาบุรีนวราษฐ์ (ชวน สิงหเสนี) ซึ่งดำรงตำแหน่งราชเลขานุการฝ่ายต่างประเทศมาดำรงตำแหน่งแทนอีกตำแหน่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เรียกคืนพานทองเครื่องยศและเครื่องราชอิสริยาภรณ์จากพระยาราชสาสนโสภณเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2456 นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้เรียกคืนยศทั้งหมดของพระยาราชสาสนโสภณอาทิ
- จางวางตรี
- มหาเสวกตรี
- นายกองตรี
- นายร้อยเอกในกรมทหารรักษาวัง
เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2457 ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะได้รับโปรดเกล้าฯ ให้กลับเข้ารับราชการและได้คืนบรรดาศักดิ์และได้โอนกลับไปรับราชการที่กระทรวงมหาดไทย โดยในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2459 ท่านได้รับพระราชทานยศ อำมาตย์เอก จากนั้นในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2461 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น ปลัดมณฑลกรุงเก่า
ยศและบรรดาศักดิ์
แก้- 7 กันยายน พ.ศ. 2451 นายจำนงราชกิจ หุ้มแพรวิเศษ กรมพระอาลักษณ์ ถือศักดินา ๕๐๐[3]
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2453 หลวงมหาสิทธิโวหาร ถือศักดินา ๑๐๐๐[4]
- 16 เมษายน พ.ศ. 2454 แต่งเครื่องแต่งตัวอย่าง มหาดเล็กชั้นที่ 2 ตรี (เทียบเท่าชั้น จ่ามหาดเล็ก)[5]
- 4 สิงหาคม พ.ศ. 2454 นายหมู่ตรี[6]
- 30 สิงหาคม พ.ศ. 2454 แต่งเครื่องแต่งตัวอย่างมหาดเล็กชั้นที่ 2 เอก (เทียบเท่าชั้น หัวหมื่นมหาดเล็ก)[7]
- 30 กันยายน พ.ศ. 2454 นายหมู่โท[8]
- 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 นายหมู่เอก[9]
- 8 กันยายน พ.ศ. 2455 พระยาราชสาสนโสภณ ถือศักดินา ๓๐๐๐[10]
- 8 กันยายน พ.ศ. 2455 จางวางตรี[11]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2455 นายหมู่ใหญ่[12]
- 28 ตุลาคม พ.ศ. 2455 มหาเสวกตรี[13]
- 2 มกราคม พ.ศ. 2455 ร้อยเอกพิเศษ ในกรมทหารรักษาวัง[14]
- 8 มิถุนายน พ.ศ. 2456 นายกองตรี[15]
- 21 ธันวาคม พ.ศ. 2459 อำมาตย์เอก[16]
- 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 พระยาอมรฤทธิธำรง คงถือศักดินา ๓๐๐๐[17]
- 18 มีนาคม 2461 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์[18]
- 13 มกราคม 2462 – นายกองตรี[19]
- 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 จางวางตรีพิเศษ[20]
- 11 ธันวาคม 2463 – มหาอำมาตย์ตรี[21]
ตำแหน่ง
แก้- ราชเลขานุการในพระองค์
- 10 มีนาคม พ.ศ. 2456 พ้นจากตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์[22]
- 29 มีนาคม พ.ศ. 2456 เรียกคืนพานทองเครื่องยศและเครื่องราชอิสริยาภรณ์[23]
- 2 กันยายน พ.ศ. 2457 เรียกคืนยศทั้งหมด[24]
- 4 ตุลาคม พ.ศ. 2461 ปลัดมณฑลกรุงเก่า[25]
- 21 มิถุนายน พ.ศ. 2462 ผู้รักษาพระนครศรีอยุธยา[26]
- 4 เมษายน พ.ศ. 2464 องคมนตรี[27]
- 7 มิถุนายน พ.ศ. 2465 ผู้ตรวจการในกระทรวงมหาดไทย[28]
- เจ้ากรมการภายใน
- 25 มีนาคม พ.ศ. 2468 รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการ จังหวัดตะกั่วป่า[29]
- 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469 ผู้ว่าราชการจังหวัดตะกั่วป่า[30]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[31]
เครื่องยศ
แก้- 20 พฤศจิกายน 2454 – โต๊ะทอง กาทอง[32]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรฝ่ายใน
- ↑ ข่าวตาย
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
- ↑ แจ้งความกรมมหาดเล็ก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า
- ↑ แจ้งความกรมมหาดเล็ก
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรกองเสือป่า (หน้า ๑๕๐๔)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า (หน้า ๒๕๙๔)
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ แจ้งความกรมมหาดเล็ก เรื่อง เลื่อนยศหัวหมื่นขึ้นเป็นชั้นจางวางตรี
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ แจ้งความกรมทหารรักษาวัง เรื่อง ตั้งนายร้อยเอกพิเศษกรมทหารรักษาวัง
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า (หน้า ๔๗๙)
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ ประกาศกรมบัญชาการกลางมหาดเล็ก
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ แจ้งความกรมราชเลขานุการ
- ↑ ประกาศกระทรวงวัง
- ↑ แจ้งความกระทรวงวัง เรื่อง คืนยศพระยาราชสาสนโสภณ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ รายพระนามและนามผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย (หน้า ๓๙๕๓)
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๘๐๔, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๖๓
- ↑ พระราชทานเครื่องยศ