พระยาศรีเทพาหูราช

พระศรีเทพาหูราช หรือ พระศรีราชโอรส พระราชวงศ์เชื้อสายราชวงศ์สุพรรณภูมิครึ่งราชวงศ์พระร่วงที่ได้ปกครองกรุงสุโขทัยในช่วงเวลาหนึ่ง เชื่อว่าพระองค์เป็นพระราชบิดาของสมเด็จพระนครินทราธิราชหรือเจ้านครอินทร์ แต่นักประวัติศาสตร์บางท่านก็เชื่อว่าพระองค์คือสมเด็จพระนครินทราธิราช

พระยาศรีเทพาหูราช
เจ้าเมืองสุโขทัย
เจ้าเมืองกำแพงเพชร
พระมเหสีเจ้าหญิงราชวงศ์พระร่วง
พระราชบุตรสมเด็จพระนครินทราธิราช
ราชวงศ์ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
พระราชบิดาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1
พระราชมารดาพระมหาเทวีไม่ปรากฏพระนาม

พระราชประวัติ

แก้

พระศรีเทพาหูราชเป็นพระโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว)กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา กับพระมหาเทวีซึ่งเป็นพระขนิษฐาของพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) ทรงได้รับเชื้อสายราชวงศ์สุพรรณภูมิจากพระราชบิดาและเชื้อสายราชวงศ์พระร่วงจากพระมารดา

ในสมัยที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชเสด็จไปตีอาณาจักรสุโขทัยแตก ทรงย้ายราชธานีของสุโขทัยไปอยู่ที่เมืองสองแควและให้พระมหาธรรมราชาที่ ๒ ทรงปกครองในฐานะเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา ให้พระมหาเทวีปกครองเมืองสุโขทัยใน พ.ศ. ๑๙๒๒

ครองเมืองสุโขทัย

แก้

พระศรีเทพาหูราชทรงปกครองเมืองสุโขทัยในพ.ศ. ๑๙๒๔ หลังจากพระมหาเทวีสิ้นพระชนม์ แต่เนื่องด้วยพระศรีเทพาหูราชทรงเป็นเชื้อสายราชวงศ์สุพรรณภูมิ ขุนางชาวสุโขทัยหลายกลุ่มจึงไม่พอใจ พระองค์จึงไปขอร้องให้แม่นมเทดซึ่งเป็นแม่นมของพระองค์ไปของร้องให้พนมไสดำสามีของนางซึ่งบวชอยู่ที่วัดช้างล้อมให้สึกมาช่วยราชการพระองค์ เพราะว่าพนมไสดำนั้นเป็นขุนนางผู้ใหญ่ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทและเป็นที่นับถือกันทั่วไป เหตุการณ์ในสุโขทัยจึงสงบลง

จากสุโขทัย

แก้

เมื่อ พ.ศ. ๑๙๓๑ สมเด็จพระราเมศวรทรงแย่งชิงบัลลังก์จากพระเจ้าทองลันทำให้ราชวงศ์อู่ทองกลับมามีอำนาจในกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง ทำให้ฐานอำนาจของราชวงศ์สุพรรณภูมิสั่นคลอน พระศรีเทพาหูราชจึงเสด็จออกจากเมืองสุโขทัย ไปปกครองเมืองสุพรรณบุรีจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ เจ้านครอินทร์ พระโอรสของพระองค์จึงได้ครองเมืองสุพรรณบุรีต่อ

พงศาวลี

แก้

ดูเพิ่ม

แก้