พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ)

มหาเสวกตรี พระยาศรีสุนทรโวหาร (24 มิถุนายน พ.ศ. 2424 — 6 สิงหาคม พ.ศ. 2466) นามเดิม ผัน สาลักษณ เป็นเจ้ากรมพระอาลักษณ์ องคมนตรี[1]

ปฐมวัย แก้

มหาเสวกตรี พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ) เป็นบุตรของมหาเสวกโท พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ) สมุหพระอาลักษณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับคุณหญิง (พึ่ง) ศรีภูริปรีชา และยังเป็นหลานของพระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ) เจ้ากรมพระอาลักษณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับคุณหญิงอิ่ม เกิดเมื่อวันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2424 ปีมะเส็ง ที่เคหาสน์ของพระคชภักดี (ท้วม คชนันท์) ผู้เป็นตา ตำบลถนนเฟื่องนคร จังหวัดพระนคร

การศึกษา แก้

พระยาศรีสุนทรโวหารได้เข้ารับการศึกษาตามลำดับ ดังนี้

ชีวิตราชการ แก้

  • พ.ศ. 2443 รับราชการเป็นเสมียนเอกในกรมราชเลขานุการ
  • พ.ศ. 2445 ย้ายไปรับราชการในกระทรวงนครบาล ในตำแหน่งสารวัตรตรวจหัวเมือง
  • พ.ศ. 2447 ย้ายไปดำรงตำแหน่งนายอำเภอดุสิต[2]
  • 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 ย้ายไปดำรงตำแหน่งนายอำเภอพระนคร[3]
  • 5 สิงหาคม พ.ศ. 2452 รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงพิทักษ์เทพนคร ถือศักดินา ๖๐๐[4][5]
  • พ.ศ. 2454 เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นเสมียนตรา
  • 27 สิงหาคม พ.ศ. 2454 รับพระราชทานยศเป็นรองอำมาตย์เอก[6]
  • พ.ศ. 2455 ย้ายไปดำรงตำแหน่งเลขานุการของกระทรวงนครบาล
  • พ.ศ. 2456 เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นข้าหลวงตรวจการศึกษาเป็นพิเศษ
  • พ.ศ. 2456 โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมารับราชการในกระทรวงมุรธาธรเพื่อเป็นทางสืบตระกูลในหน้าที่อาลักษณ์
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2456 รับพระราชทานสัญญาบัตรให้เป็นหลวงสารประเสริฐ ถือศักดินา ๑๖๐๐[7]ตำแหน่งปลัดกรมพระอาลักษณ์
  • 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2457 โปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนยศขึ้นเป็นอำมาตย์ตรี[8]
  • 16 ธันวาคม พ.ศ. 2458 โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระสารประเสริฐ[9]
  • 20 ธันวาคม พ.ศ. 2458 เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์[10]
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศเป็นเสวกเอก[11]
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2459 โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีสุนทรโวหาร ญาณปรีชามาตย์ บรมนาถนิตยภักดี พิริยพาหะ เจ้ากรมพระอาลักษณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือศักดินา ๓๐๐๐[12]
  • 30 ธันวาคม พ.ศ. 2464 โปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนยศขึ้นเป็นมหาเสวกตรี[13]

ราชการพิเศษ แก้

  • องคมนตรี
  • เลขาธิการราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยาม

ยศ แก้

  • 11 พฤศจิกายน 2459 – เสวกเอก[14]
  • มหาเสวกตรี (ยศในพระราชสำนัก)

ยศเสือป่า แก้

  • 3 มกราคม 2456 – นายหมู่ตรี[15]
  • 27 กุมภาพันธ์ 2458 – นายหมู่โท[16]
  • 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2464 นายหมวดเอกเสือป่า[17]
  • 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 นายกองตรี ตำแหน่งสัสดี กองเสนาหลวงรักษาพระองค์ (ยศในกองเสือป่า)[18]

ผลงานทางด้านการประพันธ์ แก้

นอกจากหน้าที่ราชการในฐานะเจ้ากรมพระอาลักษณ์แล้ว พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ) ยังได้สนองพระเดชพระคุณในการประพันธ์ฉันท์ กาพย์ และกลอน กับคิดนามสกุลให้แก่ข้าราชการ นามหม่อมเจ้าและบุตรข้าราชการอีกเป็นอันมาก จนได้รับพระมหากรุณาธิคุณนับให้อยู่ในพวกเพื่อนกวีด้วยผู้หนึ่ง[ต้องการอ้างอิง] ดังจะเห็นได้จากผลงานต่างๆ อันประกอบไปด้วย

  1. อิลราชคำฉันท์ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานคำนำแห่งหนังสือ และกระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตให้หนังสือเล่มดังกล่าว เป็นแบบสอนอ่านใช้ภายในโรงเรียนอีกด้วย)
  2. ปัญจสิงขร
  3. คำกลอน ฉันท์ และกลอนเบ็ดเตล็ดต่างๆ

ชีวิตครอบครัวและชีวิตในบั้นปลาย แก้

มหาเสวกตรี พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ) ได้ตั้งเคหสถานยังที่พระราชทาน ณ ถนนเพชรบุรี จังหวัดพระนคร และสมรสกับคุณหญิงวงศ์ มีบุตรธิดาจำนวนทั้งสิ้น 4 คน แต่เหลือเพียงบุตรชายใหญ่เพียงคนเดียว คือ ขุนปฏิภาณพิจิตร (กมลวงศ์ สาลักษณ) ต.จ. รับราชการสืบตระกูลอยู่ในกระทรวงมุรธาธร

นอกจากนั้น ยังได้สมรสกับนางแย้มอนุภรรยา มีบุตรธิดารวมจำนวน 4 คน อันได้แก่

  1. นายพงศ์สุนทร สาลักษณ
  2. นายพรพัจน์ สาลักษณ
  3. นางสาวชัชศรี สาลักษณ
  4. นายมณีวรรณ สาลักษณ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ) ถึงแก่อนิจกรรมในเช้าวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2466 ณ บ้านพักถนนเพชรบุรี สิริรวมอายุได้ 43 ปี

อ้างอิง แก้

  1. เจ้ากรมพระอาลักษณ์ องคมนตรี
  2. ตำแหน่งข้าราชการ กระทรวงนครบาล
  3. แจ้งความกระทรวงนครบาล
  4. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  5. ตำแหน่งข้าราชการ กระทรวงนครบาล
  6. ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงนครบาล (หน้า ๑๑๕๗)
  7. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  8. พระราชทานยศและเลื่อนยศ
  9. ตั้งและเลื่อนบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๑๗๑)
  10. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  11. พระราชทานยศ
  12. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  13. พระราชทานยศ (หน้า ๒๙๓๐)
  14. พระราชทานยศ
  15. เลื่อนและตั้งยศนายกองนายหมู่เสือป่า
  16. พระราชทานยศเสือป่า
  17. พระราชทานยศนายเสือป่า (หน้า ๓๗๕๓)
  18. พระราชทานยศเสือป่า
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๘๖, ๒๙ มกราคม ๒๔๖๔
  20. ราชกิจจานุเบกษา, รายพระนามและนาม สมาชิกสมาชิกา เครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับตระกูลจุลจอมเกล้า พระราชทานในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พระพุทธศักราช ๒๔๖๕ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๘๕, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๔๖๕
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๒๙๗, ๒๕ มกราคม ๒๔๖๒
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๒๘, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๓
  23. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน
  24. พระราชทานเหรียญราชรุจิ