เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์คลี่ สุทัศน์)
มหาอำมาตย์เอก เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (นามเดิม: หม่อมราชวงศ์คลี่ สุทัศน์; 20 สิงหาคม พ.ศ. 2386 - 19 เมษายน พ.ศ. 2456) อดีตปลัดทูลฉลอง และเสนาบดีกระทรวงธรรมการ
เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์คลี่ สุทัศน์) | |
---|---|
เสนาบดีกระทรวงธรรมการ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2445 – พ.ศ. 2454 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) |
ถัดไป | เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2386 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 19 เมษายน พ.ศ. 2456 (69 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | หม่อมราชวงศ์ลออ สุทัศน์ ท่านผู้หญิงวิชิตวงศ์วุฒิไกร (เผื่อน สุทัศน์ ณ อยุธยา) |
ประวัติ
แก้เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร เดิมชื่อ หม่อมราชวงศ์พรรณราย ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น หม่อมราชวงศ์คลี่ เกิดเมื่อวันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 9 ปีเถาะเบญจศก จุลศักราช 1205 ตรงกับวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2386 เป็นโอรสในหม่อมเจ้าจินดา สุทัศน์กับหม่อมอ่วม สุทัศน์ ณ อยุธยา หม่อมเจ้าจินดา สุทัศน์เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไกรสรวิชิต กับหม่อมน้อย สุทัศน์ ณ อยุธยา ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2407 ช่วยราชการในกรมสังฆการีธรรมการ ที่บิดารับราชการอยู่ ปี พ.ศ. 2416 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระวุฒิการบดี และเลื่อนเป็นพระยาวุฒิการบดี ศรีวิสุทธิสาสนวโรประการ เมื่อปี พ.ศ. 2431
ในปี พ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้รวมกรมธรรมการสังฆการี กรมศึกษาธิการและกรมพยาบาลเข้าเป็นกระทรวงธรรมการ มีเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) เป็นเสนาบดีคนแรก และพระยาวุฒิการบดีเป็นปลัดทูลฉลองคนแรก
พระยาวุฒิการบดี ได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เมื่อ พ.ศ. 2445 ได้เป็นองคมนตรี รัฐมนตรี เป็นกรรมการศาลฎีกา และเมื่อ พ.ศ. 2447 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาท่านขึ้นเป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในสุพรรณบัฏว่า เจ้าพระยาวิชิตวงษ์วุฒิไกร ศุภไนยนิติธารี ศรีวิสุทธิสาสนวโรประการ บรมนฤบาลสวามิภักดิ์ สุขุมศักดิสมบุรณ์ สุนทรพจนวิจิตร์ ราชกิจจานุกิจโกศล พหลกัลยาณวัตร์ ศรีรัตนสรณาภรณ์ สถาวรเมตตาทยาไศรย อภัยพิริยปรากรมพาหุ[1] และกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2454
ชีวิตส่วนตัว ท่านมีภรรยาหลายคน จะกล่าวแต่ ๒ คนคือ
- หม่อมราชวงศ์ลออ สุทัศน์ ราชตระกูลสายกรมหมื่นไกรสรวิชิตร่วมกัน มีธิดา 1 คนคือ หม่อมหลวงโต สุทัศน์
- ท่านผู้หญิงเผื่อน สุทัศน์ ณ อยุธยา มีธิดา 3 คนคือ
- หม่อมหลวงพร้อม สุทัศน์
- หม่อมหลวงเลื่อน สุทัศน์ (หม่อมหลวงเลื่อน จักรพันธุ์) หม่อมในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทศศิริวงศ์
- หม่อมหลวงวาด สุทัศน์ [2]
เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร ป่วยเป็นโรคชรามานานและมีโรคไตพิการแทรกซ้อน ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2456 เวลาเช้า 5 โมง 10 นาที สิริอายุได้ 69 ปี 242 วัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาพระราชทานน้ำอาบศพ เจ้าพนักงานยกลองในตั้งบนแว่นฟ้า 2 ชั้น ประกอบโกศมณฑป แวดล้อมด้วยฉัตรเครื่อง 9 คัน มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมทั้งกลางวันกลางคืนตลอด 1 เดือน[3]
ยศและบรรดาศักดิ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2447 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2442 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
- พ.ศ. 2440 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[9]
- พ.ศ. 2444 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 4 (ม.ป.ร.4)[11]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[12]
- พ.ศ. 2453 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)[13]
ลำดับสาแหรก
แก้พงศาวลีของเจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์คลี่ สุทัศน์) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งกรม และตั้งเจ้าพระยา, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๔, ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๖๐๙
- ↑ ราชินิกูลรัชกาลที่3,ในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวอสัญญกรรม, เล่ม ๓๐, ตอน ๐ ง, ๒๗ เมษายน ๒๔๕๖, หน้า ๑๙๗-๘
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตร์
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๖๑๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๕๔, ๒๗ ตุลาคม ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๖ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๓๖๒, ๒๔ กันยายน ๑๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๔๒ หน้า ๗๓๑, ๑๖ มกราคม ๑๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๔๓๗, ๒๙ กันยายน ๑๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๖, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๒, ๑๑ มกราคม ๑๒๙