พระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร)
พระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร) (22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2488) ผู้สร้างโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญและโรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ผู้สร้างโรงแรมปาร์คนายเลิศ และเป็นผู้ริเริ่มรถโดยสารประจำทางในประเทศไทย โดยเปิดบริการรถเมล์นายเลิศ หรือรถเมล์ขาว เมื่อ พ.ศ. 2428 ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาภักดีนรเศรษฐ ถือศักดินา ๑๐๐๐ เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2468[1]
พระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร) | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 บ้านปลายสะพานวัดบพิตรพิมุข ปากคลองโอ่งอ่าง จังหวัดพระนคร |
อสัญกรรม | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2488 (73 ปี) |
บิดา | นายชื่น เศรษฐบุตร |
มารดา | นางทิพย์ เศรษฐบุตร |
คู่สมรส | คุณหญิงสิน ภักดีนรเศรษฐ |
บุตร-ธิดา | ท่านผู้หญิง เลอศักดิ์ สมบัติศิริ |
ประวัติ
แก้นายเลิศ เศรษฐบุตร เกิดที่บ้านปลายสะพานวัดบพิตรพิมุข ปากคลองโอ่งอ่าง จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายชื่น และนางทิพย์ เศรษฐบุตร มีพี่ชาย 1 คน คือ มหาอำมาตย์โท พระยานรเนติบัญชากิจ (ลัด เศรษฐบุตร) และน้องสาว 1 คน ชื่อ ละม่อม [2] และเป็นญาติผู้พี่ของพระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร) และนายสวัสดิ์ เศรษฐบุตร (บิดาของสอ เสถบุตร)[3]
นายเลิศ เป็นที่มาของคำสแลงในสมัยก่อนที่ว่า เลิศสมันเตา ที่แปลว่า วิเศษสุด นายเลิศเคยติดบุหรี่อย่างหนักแต่ต่อมาเลิกได้และเอาเงินที่ประหยัดไปช่วยเหลือนักเขียน [4]
- สร้างโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ , โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ และโรงเรียนวัดหนองจอก (ภักดีนรเศรษฐ)
- เปิดบริการรถเมล์นายเลิศ หรือรถเมล์ขาว
ยศและบรรดาศักดิ์
แก้- 3 ธันวาคม พ.ศ. 2455 นายภักดีนารถ หุ้มแพรผู้ช่วยในกรมมหาดเล็ก ถือศักดินา 300[5]
- 8 ธันวาคม 2460 – พระภักดีนรเศรษฐ ถือศักดินา 600[6]
- 12 ธันวาคม พ.ศ. 2460 หุ้มแพร[7]
- 24 ธันวาคม 2460 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์[8]
- จ่าโท
- 28 กันยายน พ.ศ. 2461 พันจ่า[9]
- 23 ธันวาคม พ.ศ. 2462 เรือตรี[10]
- 27 กุมภาพันธ์ 2467 – เรือโทเสือป่า[11]
- 19 กันยายน พ.ศ. 2468 จ่าพิเศษ[12]
- 24 กันยายน พ.ศ. 2468 พระยาภักดีนรเศรษฐ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2465 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[13]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)[14]
- พ.ศ. 2467 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 4 (ว.ป.ร.4)[15]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์
- ↑ ประวัตินายเลิศ เศรษฐบุตร เก็บถาวร 2008-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
- ↑ พิมพวัลคุ์ เสถบุตร, ชีวิตและการต่อสู้ สอ เสถบุตร บุรุษผู้ไม่ยอมก้มหัวให้กับโชคชะตา, สำนักพิมพ์วิชั่น , ISBN 974-88357-6-6
- ↑ เอนก นาวิกมูล, นึกแล้วว่าต้องอ่าน, นิตยสารสารคดี ฉบับ มกราคม 2548 หน้า 80
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานตั้งบรรดาศักดิ์
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ "พระราชทานยศนายเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 11 มกราคม 1919.
- ↑ พระราชทานยศนายเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 3404. 25 กุมภาพันธ์ 1922.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๑๐, ๒ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๑ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๙๘, ๑ มกราคม ๒๔๖๗