พระยาพายัพพิริยกิจ (เป้า จารุเสถียร)

อำมาตย์เอก พระยาพายัพพิริยกิจ (8 พฤษภาคม 2424–10 กุมภาพันธ์ 2470) ขุนนางชาวไทย ต้นตระกูลจารุเสถียรโดย ได้ขอพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะมียศและบรรดาศักดิ์เป็น อำมาตย์โท พระบุรีสราธิการ ผู้ว่าราชการเมืองสระบุรี และได้รับพระราชทานมาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2456 เป็นลำดับที่ 889 [1] อดีตผู้ตรวจการ มณฑลนครราชสีมา อดีตผู้ว่าราชการ เมืองสระบุรี ,จังหวัดพระประแดง อดีตปลัด มณฑลกรุงเก่า ,มณฑลภูเก็ต ,มณฑลพายัพ และเป็นบิดาของ พล.อ. จำเป็น จารุเสถียร อดีตนายก สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ จอมพล ประภาส จารุเสถียร อดีตรองนายกรัฐมนตรี

อำมาตย์เอก

พระยาพายัพพิริยกิจ

เกิด8 พฤษภาคม พ.ศ. 2424
เสียชีวิต10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 (45 ปี)
สาเหตุเสียชีวิตถูกลอบยิง
ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองสระบุรี
บุตรพลเอก จำเป็น จารุเสถียร
จอมพล ประภาส จารุเสถียร

ประวัติ แก้

อำมาตย์เอก พระยาพายัพพิริยกิจ มีนามเดิมว่า เป้า จารุเสถียร เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2424 เป็นบุตรชายของ ขุนศรีพลภักดิ์ จบการศึกษาจาก โรงเรียนมหาดเล็กหลวง และได้เดินทางไปฝึกราชการที่ มณฑลกรุงเก่า ก่อนจะเดินทางกลับมายังกรุงเทพมหานครและได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2445 [2]

ด้านชีวิตครอบครัวมีภรรยาทั้งสิ้น 2 ท่านคือ คุณหญิงแช่ม จารุเสถียร และ เจ้าบัวตอง โดยมีบุตรธิดาที่เกิดจาก คุณหญิงแช่ม 4 คนและที่เกิดจาก เจ้าบัวตอง 6 คน

พระยาพายัพพิริยกิจถึงแก่กรรมเนื่องจากถูกคนร้ายลอบยิงเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 [3] และได้จัดพิธีพระราชทานเพลิงศพที่ วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 9 กันยายน ปี พ.ศ. 2473 โดยได้พระราชทานเงิน 1000 สตางค์ ผ้าขาว 4 พับ[4]

รับราชการ แก้

บรรดาศักดิ์ แก้

  • 7 มกราคม พ.ศ. 2447 - ขุนวรภักดิ์พิบูลย์ [15]
  • 22 เมษายน พ.ศ. 2451 - หลวงอนุรักษ์ภักดี[16]
  • 21 สิงหาคม พ.ศ. 2456 - พระบุรีสราธิการ[17]
  • 29 สิงหาคม 2457 – ส่งสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ไปพระราชทาน[18]
  • 24 ธันวาคม พ.ศ. 2463 - พระยาพายัพพิริยกิจ[19]

ยศ แก้

  • 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454 - อำมาตย์ตรี[20]
  • 16 มิถุนายน พ.ศ. 2455 นายหมู่ตรี[21]
  • 21 สิงหาคม พ.ศ. 2456 - อำมาตย์โท[22]
  • 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2458 - นายหมวดโท[23]
  • 20 ธันวาคม พ.ศ. 2461 - อำมาตย์เอก[24]
  • 23 ธันวาคม พ.ศ. 2461 นายหมวดเอก[25]
  • 20 มกราคม 2462 – นายกองตรีเสือป่า[26]
  • 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 นายกองโทเสือป่า[27]
  • 19 พฤศจิกายน 2468 – นายกองเอก[28]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่ 10
  2. นักเรียนหลวงเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
  3. ข่าวตาย (หน้า 3801)
  4. พระราชทานเพลิงศพ
  5. พระราชทานสัญญาบัตรตำแหน่งหน้าที่ราชการ
  6. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  7. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  8. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  9. ตั้งและเลื่อนบรรดาศักดิ์
  10. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายผู้ว่าราชการเมืองนครราชสีมา
  11. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายข้าราชการ
  12. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  13. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย (หน้า 3954)
  14. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย (หน้า 3197)
  15. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  16. ส่งสัญญาบัตรขุนนางไปพระราชทาน
  17. ตั้งและเลื่อนบรรดาศักดิ์
  18. รายวันส่งสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ไปพระราชทาน (หน้า 1245)
  19. พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า 3267)
  20. พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย (หน้า 978)
  21. สั่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
  22. พระราชทานยศ
  23. พระราชทานเลื่อนยศนายเสือป่า (หน้า ๘๘๒)
  24. พระราชทานยศ (หน้า 2473)
  25. พระราชทานยศเสือป่า
  26. พระราชทานยศเสือป่า
  27. พระราชทานยศเสือป่า
  28. พระราชทานยศนายเสือป่า
  29. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๗๒๔, ๑๘ มิถุนายน ๒๔๖๕
  30. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๑๗, ๒๗ มิถุนายน ๒๔๖๓
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๖๘, ๒๖ ธันวาคม ๒๔๖๙
  32. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๑๙, ๑ สิงหาคม ๒๔๕๘